У нас вы можете посмотреть бесплатно กรณียเมตตสูตร 9 จบ - คาถาเทวดาคุ้มครอง สวดมนต์เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
กรณียเมตตสูตร คาถาเทวดาคุ้มครอง สวดมนต์เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร ประวัติของบทสวดกรณียเมตตสูตร กรณียเมตตสูตร บางครั้งจะเรียกว่า "เมตตสูตร" เดิมทีเป็นบทสวดให้พระภิกษุทั้งหลายร่วมกันเจริญเมตตา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และเป็นมิตรต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระสูตรกรณียเมตตสูตรมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้สอนพระกรรมฐานแก่พระภิกษุราว 500 รูปในป่า หลังจากได้เรียนรู้พระภิกษุก็แยกย้ายกันไปเจริญกรรมฐานตามใต้ต้นไม้ภายในป่าหิมวันต์ รุกขเทวดาที่สถิตอยู่ตามต้นไม้ ก็ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เนื่องจากภิกษุจำนวนมากมานั่งบำเพ็ญเพียร โดยทางฝ่ายรุกขเทวดาคิดว่าภิกษุเหล่านี้ต้องนั่งสมาธิเป็นเวลานาน ทำให้พวกตนลำบาก จึงรวมตัวกันหลอกหลอนพระภิกษุ ด้วยการจำแลงกายให้น่ากลัวเพื่อขับไล่พระภิกษุ มาทั้งรูปและกลิ่นที่ไม่เจริญใจ เหล่าภิกษุถูกรบกวนอย่างหนักจนหาความสงบไม่ได้ จึงพากันเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสพระคาถากรณียเมตตสูตร ให้พระภิกษุกลับไปเจริญพระกรรมฐานตามเดิม พร้อมกับสวดพระคาถาบทนี้เพื่อเจริญเมตตาให้แก่รุกขเทวดา รวมถึงมารผจญทั้งหลาย เมื่อรุกขเทวดาได้รับฟังกรณียเมตตสูตร ก็มีจิตใจที่อ่อนโยน ร่วมอนุโมทนา และคุ้มครองภัยให้เหล่าภิกษุทั้งหลายสามารถบรรลุพระกรรมฐานได้ คำแปล กรณียเมตตสูตร กุลบุตรผู้ฉลาด พึงกระทำกิจที่พระอริยเจ้าผู้บรรลุแล้วซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่สงบระงับได้กระทำแล้ว กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้องอาจ ซื่อตรงและประพฤติตนดี เป็นผู้ที่ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนโยน ไม่มีมานะอันยิ่ง เป็นผู้สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย เป็นผูประพฤติทำให้กายและจิตเบา มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันสงบนิ่ง มีปัญญาฆ่ากิเลส เป็นผู้ไม่คะนองกาย วาจา ใจ และไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงกระทำกรรมที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายติเตียนผู้อื่นว่าทำแล้วไมีดี พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ท้ังหลายทั้งปวง จงเผ็นผู้มีสุข มีจิตเกาะพระนิพพานแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย และจงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขทุกเมื่อเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ทั้งที่มีตัณหาเครื่องทำให้ใจสะดุ้งอยู่ และผู้มั่นคงคือไม่มีตัณหาแล้ว ทั้งที่มีกายยาว ใหญ่ ปานกลาง หรือกายสั้น หรือผอม อ้วน เป็นผู้ที่เราเห็นแล้วก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกลก็ดี ทั้งที่เกิดมาในโลกนี้แล้ว และที่ยีงกำลังแสวงหาภพเป็นที่เกิดอยู่ก็ดี จงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นอย่าเพิ่งรังแกข่มเหงสัตว์อื่น อย่าเพิ่งดูหมิ่นใครในที่ใดๆ เลย ไม่ควรปรารถนาให้กันและกันมีความทุกข์ เพราะความกริ้วโกรธ และเพระาความเครียดแค้นกันเลย มารดาย่อมตามรักษาบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด กุลบุตรพึงเจริญเมตตาจิตในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง แม้ฉันนั้น บุคคลพึงเจริญเมตตาให้มีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง การเจริญเมตตาจิตนี้เป็นธรรมอันไม่แคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงเพียงใด ก็สามารถตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายเกล่าถึงกิริยาอย่างนี้ว่า เป็นการเจริญพรหมวิหารในศาสนานี้ บุคคลผู้ที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงความเห็นผิด เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยความเห็นคือปัญญา นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความเข้าไปนอนในครรภ์เพื่อเกิดอีกโดยแท้แล ฯ