Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ตัวนี้จบ!!..แผงโซล่าเซลล์(Solar PPM) รุ่นใหม่ล่าสุด!! 610W ราคาแค่ 3,xxx.- บาท в хорошем качестве

ตัวนี้จบ!!..แผงโซล่าเซลล์(Solar PPM) รุ่นใหม่ล่าสุด!! 610W ราคาแค่ 3,xxx.- บาท 5 месяцев назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ตัวนี้จบ!!..แผงโซล่าเซลล์(Solar PPM) รุ่นใหม่ล่าสุด!! 610W ราคาแค่ 3,xxx.- บาท

📌สังซื้อแผงโซล่าเซลล์ SPPM-NM10-DG 610W Website 👉 https://solarppm.com/product/sppm-610... LAZADA 👉https://s.lazada.co.th/s.orO0D?cc SHOPEE 👉https://s.shopee.co.th/Vlufvc4DK ศูนย์กระจายแผงโซลาร์เซลล์ทั่วประเทศ: https://bit.ly/4dmZkhC สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY สำหรับวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ไปชม แผงโซล่าเซลล์ รุ่นใหม่ล่าสุด จากทางค่าย SOLAR PPM นะครับ นั้นก็คือรุ่น SPPM-NM10-DG สำหรับความพิเศษของแผงรุ่นนี้ก็คือ 1. แผงสามาถรับแสงได้ 2 ด้าน ทำให้สามารถผลิตพลังงานได้มากกว่าแผงทั่วไป โดยเฉพาะในสภาวะที่มีการสะท้อนแสงจากพื้นดินหรือพื้นผิวรอบข้าง ซึ่งจริงๆแล้ว แสงสะท้อนเหล่านี้ ไม่น่าเชื่อนะครับ ว่ามันสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตพลังงานของแผงได้ ราวๆ 10 - 30% เลยนะครับ ที่เมืองนอก เมืองหนาว เมืองหิมะ เขาฮิตมากกันในครับตัวนี้ 2. เขาใช้กระจก ในการห่อหุ่มเซลล์ ทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งข้อดีของการใช้กระจก ก็คือ 1.ทนทาน ทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ดี พวก เกลือ, แอมโมเนีย, ความชื้นและอุณหภูมิสูง และ กระจกสองชั้น ก็ยัง ช่วยในการกระจายความร้อนได้ดีกว่าแผงโซล่าเซลล์แบบทั่วไป และแผงตัวนี้ ก็มีเทคโนโลยีอีกหลายอย่าง แต่ก่อนอื่น เรามาดู คุณสมบัติเบื้องต้น กันก่อนครับ เริ่มต้นจากแผง เป็นแบบ Mono N-type ข้างในเป็น ซิลิคอนโมโนคริสตัลไลน์ ร่วมกับ ซิลิคอนไนไตรด์ โดยใช้เทคโนโลยี M10 ในการผลิต ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น เนื่องจาก แผ่นเวเฟอร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติ และเขสก็ใช้เทคโนโลยี SMBB หรือ Smart Multi Busbar ก็คือใช้ บัสบาร์ เล็กๆบางๆหลายๆตัว ช่วย ให้อิเล็กตรอน เดินทางได้สะดวกขึ้น ส่งผลทำให้ผลิตพลังงานได้มากขึ้น น้ำหนัก อยู่ที่ 35 Kg กระจก หนา 2mm มีความโปร่งแสงสูง มีความบริสุทธิสูง มีการเสริมแกร่งด้วยความร้อน เพื่อนๆไม่ต้องเป็นห่วงครับ กระจกแบบนี้ เขาบอกว่า ด้านหน้า รับแรงกดได้สูงสุดถึง 5400Pa (พาสคาล): หรือ เทียบเท่าประมาณ 550 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร ส่วนกระจกด้านหลัง รับแรงกดได้ถึง 2400 พาสคาล หรือเทียบเท่ากับ 245 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร ซึ่งมันมีความแข็งแรงมากกว่ากระจกธรรมดาทั่วไปหลายเท่าครับ ระดับการใช้งาน ระดับ A เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป คลาสการทนไฟ อยู่ในระดับ C / ประเภท 1 แค่นั้นยังไม่พอ เขายังเพิ่มคุณสมบัติ Anti-Reflective ช่วยลดการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบ บริเวณผิวกระจก และเขาก็เพิ่มคุณสมบัติพิเศษ Anti-soiling ลดการจับตัวของฝุ่น สิ่งสกปรก ทำให้แผงโซล่าเซลล์สามารถรับแสงแดดได้อย่างเต็มที่ ต้านทานการเสื่อมสภาพที่เกิดจาก PID 1แผง มีทั้งหมด 156 เซลล์ ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนละ 78 เซลล์ โดยเขานำ 2 ส่วนมาต่อขนานกัน ให้ให้กระแสเพิ่มขึ้น ถ้าเอามือปิด ส่วนใดส่วนหนึ่งแผงก็ยังคงทำงานได้ไม่มีปัญหา แต่กระแสก็อาจจะลดลงไปบ้างนะครับ สามารถต่อ อนุกรม ทนแรงดันได้สูงสุด 1500V DC ตามมาตฐาน IEC ถ้าเรามาดูค่า พารามิเตอร์ เมื่อ เข้ากระบวนการทดสอบ ฉายแสงแฟลช ด้วยความเข้มแสง 1,000 w ต่อตารางเมตร แผงตัวนี้ ก็จะได้แรงดันสูงสุดอยู่ที่ 45.59 V และกระแสสูงสุดที่ 13.38 A เมื่อเอาค่ามาคูณกัน ได้จะกำลังวัตต์ ออกมามากถึง 610W ซึ่งเป็นค่าทดสอบโดยห้องแลป ตอนนี้ เวลาก็ ประมาณ 11.00 น. เดี่ยวผมจะ ต่อทดสอบให้ดูนะครับ ว่า1 แผง สามารถผลิตไฟได้จริงๆกี่วัตต์ ได้ตามที่เนมเพจเขียนไว้หรือเปล่า ปกติขั้วที่เป็นตัวผู้จะเป็นขั้วบวกนะครับ ส่วนอีกฝั่งหนึ่ง ตัวเมีย ก็จะเป็นขั้วลบ ก็ถือเป็นมาตฐานสากล ที่เขาใช้กันแบบนี้ครับ ผมจะต่อไปใช้งานกับไมโครอินเวอร์เตอร์ 2kW 4Ch นะครับ ซึ่ง 1Ch สามารถรับแรงดันได้ถึง 65V และกระแส 16A ผมทดสอบ ต่อแผงเดียวก็พอครับ แล้วก็เสียบเข้ากับไฟบ้าน รอเครื่อง ออนไลน์แปบหนึ่งครับ แบบนี้โอเครแล้วครับเลย มาดูกันครับ แผงตัวนี้ตอนนี้ผลิตพลังงานได้ 330W ตอน 11.42 นาที ที่มันได้พลังงานน้อย เพราะว่าตอนนี้ เมฆค่อนข้างเยอะครับ ผมรอจนเมฆ เริ่มจาง แดดเริ่มจ้า ก็ประมาณบ่าย 2 โมง แผงตัวนี้ ผลิตพลังงานได้ถึง 509W แบบ สบายๆเลยครับ ที่จริงถ้าหากเพื่อนๆ ติดตั้งในตำแหน่งที่ดีกว่านี้ ทั้งมุมองศา ความสูง แสงที่ส่องกระทบ จัดกระจายบริเวณผิวดิน ก็จะสามารถสะท้อนกลับ เข้าหาแผงด้านล่างได้ เยอะกว่านี้อีกนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทดสอบ ทดลองเท่านั้น นี้ครับบางจังหวะ แอร์อินเวอร์เตอร์ 9000Btu ทำงาน ไม่จำเป็นต้องดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้เลยครับ เพราะฉะนั้นผมคอนเฟริมว่าแผง 610W แผงเดียวก็สามารถ ช่วยลดค่าไฟฟ้า ภายในบ้าน ได้อย่างแน่นอน มาดูกราฟ คร่าว ตั้งแต่ 11.45 เมฆก็ครึ้มๆ ผลิตไฟได้ 300W บ้าง 400W บ้าง จนถึงใกล้ๆ บ่าย 2 ขึ้นมาที่ 510W แล้ววัตต์ ก็ค้างอยู่บริเวณนี้ แล้ว เมฆก็ครึ้ม วัตต์ก็ตกลงไป ในส่วนนี้ น่าสนใจครับ เนื่องจากไมโครอินเวอร์ของผม Limit กำลังวัตต์ได้เต็มที่ Ch ละ 500W งั้นก็หมายความว่า ตอนแดดจัดๆ ตอนบ่าย2 แผงสามารถ ผลิตพลังงานได้เกิน 500W ถ้าผมใช้ 4แผงรวมกัน ยังๆไง ก็ได้ผลิต เกิน 2000W อย่างแน่นอนครับ ซึ่งราคาแผง 1 แผง ตอนนี้ ในเว็บไซต์ เขาขายอยู่เพียงแค่ 3,600 บาท สามารถ นำรถกระบะมารับเองที่ศุนย์ กระจายสินค้าได้เลย ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นครับ

Comments