У нас вы можете посмотреть бесплатно ฟังแล้วดีเกิดผลชีวิตเป็นสุขทุกประการเทอญ พุทธวจน สาธยาย ปฏิจจสมุปบาท บาลี ไทย ๒ ชม или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ปฏิจจสมุปบาท (ปะติดจะสะหฺมุบบาด) เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ -เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี -เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี -เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี -เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี -เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี -เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี -เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี -เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี -เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี -เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี -เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี -ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย เช่น ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา อธิบายความหมายของบทสวด... -ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่) ดับ -ชาติ จะดับไปได้เพราะ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ) ดับ -ภพ จะดับไปได้เพราะ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ) ดับ -อุปาทาน จะดับไปได้เพราะ ตัณหา (ความอยาก) ดับ -ตัณหา จะดับไปได้เพราะ เวทนา (ความรู้สึกทุกข์หรือสุขหรือเฉยๆ) ดับ -เวทนา จะดับไปได้เพราะ ผัสสะ (การสัมผัส) ดับ -ผัสสะ จะดับไปได้เพราะ สฬายตนะ (อายตนะใน๖+นอก๖)* ดับ -สฬายตนะ จะดับไปได้เพราะ นามรูป (รูปขันธ์)** ดับ -นามรูป จะดับไปได้เพราะ วิญญาณ (วิญญาณขันธ์)** ดับ -วิญญาณ จะดับไปได้เพราะ สังขาร (อารมณ์ปรุงแต่งวิญญาณ-เจตสิก) ดับ -สังขาร จะดับไปได้เพราะ อวิชชา (ความไม่รู้อย่างแจ่มแจ้ง) ดับ *อายตนะ (อ่านว่า อายะตะนะ) แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึง สิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2 อย่างคือ 1.อายตนะภายใน หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ 6 มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกับอายตนะ ภายนอก 2.อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน บ้างเรียกว่า อารมณ์ 6 มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ[1] ธรรมารมณ์[2] ทั้งหมด นี้เป็นคู่กับอายตนภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น อายตนะภายนอกนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ เมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า สัมผัส รู้ว่ามีการเห็น เรียกว่าวิญญาณ เกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า เวทนา [1]โผฏฐัพพะ คือ สิ่งที่มาถูกต้องกาย, สิ่งที่กายสัมผัสแตะต้องได้ ได้แก่ อารมณ์หรือสัมผัสที่มีลักษณะเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียดเป็นต้น ซึ่งมากระทบหรือสัมผัสกับกาย และกายสามารถ รู้สึกได้ถึงลักษณะนั้น เช่น น้ำกระเซ็นมาถูกแขน แขนก็รู้สึกถึงสิ่ง ที่มาถูกนั้น [2]ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่ใจรู้หรืออารมณ์ที่เกิดทางใจสิ่งที่ใจคิด ความคิด จินตนาการ สิ่งที่ใจเก็บมาคิด ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต แ้ล้วหน่วงดึงมาเป็นอารมณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ สัมผัสด้วยใจ **ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึง ร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ 1.รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต 2.เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ 3.สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ 4.สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ 5.วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม -วิญญาณขันธ์ จัดเข้าในจิต -เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก -รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป -การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้าในนิพพาน