У нас вы можете посмотреть бесплатно พระนาคปรก ยุคลพบุรี ธรรมชาติเนื้อชินเงิน или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
วิธีดูพระแท้ พระนาคปรก ลพบุรี เนื้อชินเงิน #พระเครื่อง #วัตถุมงคล การดูพระเนื้อชินที่สร้างในสมัยลพบุรี อายุกว่า ๑๒๐๐ กว่าปี ที่ ๔มีนาเคยทำคลิปดูพื้นฐานไว้ เราต้องวิเคราะห์เนื้อให้ออกก่อน ว่าเป็นชินแก่เนื้ออะไร ถ้าเป็นชินแก่ตะกั่วจะต้องสึกกร่อนจนดูไม่เหลือสภาพ ดังนั้นถ้ามีคนนำพระเนื้อชินตะกั่วมาให้ ๔มีนาดู แล้วบอกว่าเป็นยุคลพบุรี สภาพยังดีอยู่ นี่ตีผิดยุคหรือไม่ก็ปลอมได้เลยครับ เพราะว่าธรรมชาติของตะกั่วไม่สามารถคงสภาพไว้ได้นานเป็นพันปี ขนาดชินตะกั่วยุคอยุธยา ยังต้องกร่อน เนื้อร่อนเป็นกลากเลย คลิปนี้เราจะมาดูพระพิมพ์นาคปรก เนื้อชินเงิน สร้างในยุคลพบุรีกันครับ สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ คลิปนี้ ๔ มีนาของอาราธนาพระพิมพ์นาคปรก เนื้อชินเงิน ที่มีอายุการสร้างมากกว่า ๑๒๐๐ ปีในยุคลพบุรีมาดูรายละเอียดกัน ลพบุรีในที่นี้หมายถึงศิลปะของยุคต่างๆ นะครับ ไล่ลงมาก็สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์ เอาแบบคร่าวๆ นะครับ ยุคในที่นี้ไม่ใช่จังหวัดนะครับพี่ๆ เพื่อนๆ ซึ่งศิลปะและพุทธศิลป์ในแต่ละยุค จะมีความแตกต่างกัน เพราะได้รับอิทธิพลมากจากแหล่งที่ต่างกัน ความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีก็ต่างกัน การดูพระเนื้อชินไม่ยากครับ ดูพุทธศิลป์เพื่อประเมินอายุ วิเคราะห์เนื้อพระว่าเป็นโลหะชนิดใดบ้าง ดูออกไซด์เพื่อประเมินอายุ ปัญหาคือถ้าเราไม่คุ้นกับเนื้อ ๑๒๐๐ ปี เวลาเห็นเนื้อ ๑๒ ปีแต่งผิวมาก็อาจจะคิดว่าเป็น ๑๒๐๐ ปีได้ ซึ่งพระพิมพ์นาคปรก หรือพิมพ์พระร่วงยืนประทานพร เป็นพุทธศิลป์ของยุคลพบุรี เวลาเราดูพระเครื่องพุทธศิลป์ของยุคลพบุรี เราก็จะต้องประเมินอายุการสร้างตามยุค คือ มากกว่า ๑๒๐๐ ปีครับ เดี๋ยวเราจะมาดูรายละเอียดและเช็คพระทีละจุดกันครับ เริ่มต้นกันที่พุทธศิลป์ พุทธศิลป์ของพระองค์นี้เป็นรูปพระพุทธ มีพญานาคอยู่รอบเศียร ลัษณะนูนใหญ่และยื่นออกมา ๗ เศียร พุทธลักษณะขององค์พระจะสวมชฎาหรือหมวกทรงแหลม บนพระพักตร์จะเห็นตา ๒ ข้างกลมใหญ่ จมูกใหญ่ ปากใหญ่ มีเส้นที่คอ ประทับอยู่ในปางสมาธิ บนฐานสูง ๓ ชั้น ด้านหลังเรียบ ไม่มีลวดลาย เป็นศิลปะลพบุรี ลักษณะการสร้างจะเป็นนำแร่ โลหะ และมวลสารต่างๆ มาหลอมละลายในเบ้าและเทลงในพิมพ์พระจนกระทั่งโลหะคลายความร้อนทั้งหมด ก็จะได้เป็นองค์พระ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าด้านหลังขององค์พระส่วนมากจะเป็นแอ่งน้อยๆ ที่เกิดจากโลหะยุบตัวลงไปแทนที่อากาศในพิมพ์ เนื้อพระ พระองค์นี้มีแร่เงินเป็นส่วนผสมหลัก มีตะกั่วผสมอยู่ไม่มากเห็นไขในบางจุด และไม่มีแร่แฝงในกลุ่มเหล็กน้อยมากๆ จึงไม่เกิดสภาวะสนิมแดงทั่วองค์เหมือนพระร่วงหลังรางปืนที่ ๔มีนา เคยทำคลิปไว้ เราจะเรียกว่าเนื้อชินเงินหรือชินแก่เงิน เนื้อพระยังค่อนข้างสมบูรณ์เพราะเงินเป็นโลหะที่มีความคงทนต่อสภาพอากาศสูง สิ่งสำคัญก็คือถึงองค์พระจะดูสมบูรณ์ เมื่อเราส่องที่รายละเอียดบนเนื้อพระ ก็มีธรรมชาติความเก่าที่เราต้องเห็น คือเนื้อพระจะต้องมีการสึกกร่อนทั่วองค์ ไม่เรียบตึง ไม่ลื่นมือ ไม่ดูเป็นเนื้อโลหะมันๆ เงาๆ หรือขอบรอบองค์พระต้องไม่ตึงคมเป็นสัน เพราะว่าเนื้อพระมีออกไซด์เกิดขึ้นมาคลุมผิว และการสึกกร่อนของโลหะที่เกิดขึ้นควบคู่กันมาเกินพันปี ธรรมชาติของเนื้อชินผ่านอายุมานานมากๆ เราจะเห็นเนื้อพระมีการปูดและดันตัวขึ้นมาตามจุดต่างๆ ลักษณะจะเป็นเม็ดผดเล็กๆ ยิบๆ ทั่วทั้งองค์ ตามจุดที่อยู่สูงอย่างดวงตา จมูก หรือมือขององค์พระ ที่เราจะเห็นว่าเป็นเหมือนเนื้อเรียบตึง แต่พอลงกล้องแล้ว เราจะเห็นความสึกกร่อน ขรุขระ และมีออกไซด์ขึ้นดูระยิบตา และสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับพระเนื้อชินเงินผ่านอายุคือ ความนวลตา ถึงจะทำให้เนื้อพระกร่อนด้วยการกัดกรดได้แต่ก็ทำให้มีออกไซด์ปูดเป็นเม็ดผด มีไขตะกั่วและมีความนวลเกิดขึ้นคู่กันไม่ได้ 8 ออกไซด์หรือสนิมโลหะ เรื่องความนวล ที่๔มีนา บอกว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการดูพระเก่า และสิ่งที่ทำให้พระเนื้อชินเงินต้องดูนวลตา เพราะว่าเกิดจากออกไซด์นี่เองครับ ออกไซด์ที่เราจะเช็คในพระองค์นี้จะมี ๒ ส่วนหลักๆ คือ ออกไซด์ของเงิน และออกไซด์ของตะกั่ว ออกไซด์ในเนื้อเงินเก่า เมื่อเราส่องใกล้ๆ จะเห็นเป็นเม็ดผดสีดำอมเทา รวมตัวกันเป็นคราบอยู่ที่ผิวองค์พระ ถ้ามองไกลจะเห็นเป็นคราบปูดขึ้นมาเป็นเม็ดๆ ละเอียดมากๆ มีสีเข้มอ่อนไล่ระดับกันปนกับไขของตะกั่วสีขาวอมเหลืองนวลๆ และไม่มีจุดไหนที่เป็นผิวเรียบตึง ลื่นมือ ออกไซด์ของเงินที่เป็นส่วนผสมหลักก็จะขึ้นควบคู่ไปกับไข หรือออกไซด์ของตะกั่วจนทับซ้อนกันจนแยกกันไม่ได้ เพราะค่อยๆ เกิดขึ้นพร้อมๆ กันในทุกจุดและต่อเนื่องผ่านเวลามาเรื่อยๆ มีเก่า ใหม่ซับซ้อนกันไปมา ออกไซด์ของเงิน คือสาเหตุที่ทำให้โลหะเงินมีความคงทน เพราะว่าธรรมชาติออกไซด์ของเงินจะต่างกับตะกั่วหรือเหล็กที่เกิดออกไซด์กร่อนตัวเอง และธรรมชาติลักษณะนี้เป็นตัวทำให้เนื้อตะกั่วหรือเนื้อเหล็กจะผุกร่อนเมื่อเกิดออกไซด์หรือสนิมขึ้น แต่เงินจะเกิดออกไซด์ขึ้นมาคลุมผิวไม่กัดกร่อนตัวเองเร็วเหมือนตะกั่วหรือเหล็ก 9 ออกไซด์ของตะกั่ว ธรรมชาติของตะกั่วจะเกิดออกไซด์เป็นไข สีขาวอมเหลือง ซึ่งเราจะเห็นได้ตามจุดต่างๆ บนเนื้อพระ ออกไซด์ของตะกั่วที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะต้องมีสีเข้มอ่อนเกิดขึ้นทับซ้อนไล่ระดับ และมีความซับซ้อนปนอยู่กับออกไซด์ของเงิน จะต้องดูเป็นไขนวลๆ ฟูๆ ลอยๆ คลุมผิวไว้ ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไร จะใช้คำตามความรู้สึก คงต้องเรียกว่า ดูฟุยๆ แล้วกันครับ ไขเก่า มองไกลก็ต้องดูแห้ง ส่องใกล้ก็ต้องเห็นความฉ่ำนะครับ สิ่งที่ต้องระวังสำหรับพระเนื้อชิน ยุคลพบุรี ถ้าเป็นชินตะกั่ว สภาพยังดูดี ไม่ดีครับ ถ้าเป็นชินเงิน แต่เนื้อดูเงาๆ เหมือนเงินใหม่ไม่มีออกไซด์คลุมผิว ไม่มีคราบปูด ไม่นวลตา ไม่ดีครับ ถ้าเห็นไขตะกั่วเป็นปื้นๆ ไม่มีรอยปริแยก ไขมีระดับเดียว ไม่นวลตา ไม่ดีครับ ถ้ามีคราบปรอทสีรุ้งๆ เงาๆ ที่เรียกกันว่าพรายเงิน ปรอทถ้าเจอความร้อนหนีหมดแล้ว ไม่ดีครับ พระเนื้อสำริดเก่ายุคทวารวดีมี แต่ถ้าเป็นเนื้อทองเหลือง ไม่ดีครับ ถ้าเห็นรอยตะไบเดิมในพระเนื้อชินเก่า ไม่ดีครับ