У нас вы можете посмотреть бесплатно วิเศษดนตรีบรรเลงสดมโหรีโบราณ ณ วังปารุสกวัน ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕ (ช่วงที่ ๒ "เสนาะเพลงระบำ") или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
วง"วิเศษดนตรี" เป็นวงดนตรีไทยสมัครเล่นที่รวบรวมนักดนตรีไทยมืออาชีพและมือสมัครเล่น ต่างวัย ต่างอาชีพ บรรเลงดนตรีไทยเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์และงานทั่วไป ดำเนินการและดูแลโดยคุณณัฐพันธุ์ นุชอำพันธ์ ผู้ก่อตั้งวง มีที่ทำการที่เรือนวิเศษดนตรี อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ปี ๒๕๖๕ กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๒๔๐ ปีแห่งการสถาปนา วงวิเศษดนตรีจัดวงดนตรีไทยด้วยรูปแบบวงมโหรีโบราณประสมระนาดแก้ว ร่วมเฉลิมฉลองในการนี้ด้วย วงมโหรีโบราณ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ ขลุ่ย โทนรำมะนา ฉิ่ง กรับพวง เป็นรูปแบบการจัดวงดนตรีที่สืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในการบรรเลงครั้งนี้ เพิ่ม ระนาดแก้ว เข้ามาประสมวงด้วย ระนาดแก้วนี้ เกิดขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ตามบันทึกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่ามีผู้คิดค้นขึ้น แต่ไม่สู้ได้รับความนิยม เพราะวัสดุที่ใช้มีราคาและหายาก(ในสมัยนั้น) อีกทั้งเมื่อมีการชำรุดแตกก็หาซ่อมได้ยาก ครั้งเมื่อแผ่นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงปรากฏว่าเลิกใช้ระนาดแก้วประสมวง และนำฆ้องวงเข้ามาบรรเลงแทน ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๕) ระนาดแก้ว ก็ยังเป็นเครื่องดนตรีที่หาชมหาฟังได้ยาก เครื่องดั้งเดิม พบเพียงสองรางเท่านั้นคือ ตั้งแสดงในห้องดนตรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รางหนึ่ง และพบที่บ้านพาทยโกศล สำนักดนตรีเก่าแก่ฝั่งธนบุรีอีกรางหนึ่ง แม้ปัจจุบันจะมีผู้รื้อฟื้นประดิษฐ์ขึ้นมาบรรเลงอยู่บ้าง แต่ก็ไม่แพร่หลายนัก ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๔๐ ปี วิเศษดนตรีจึงได้นำระนาดแก้วมาร่วมบรรเลงในวงมโหรีโบราณ อันเป็นรูปแบบที่ปรากฏครั้งสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ปัจจุบันหาเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงให้ครบวงได้ยาก ให้ได้รับชมรับฟัง ณ โอกาสอันสำคัญนี้ รายชื่อนักดนตรี มีดังต่อไปนี้ ๑.นายณัฐพันธุ์ นุชอำพันธ์ บรรเลงระนาดแก้ว ๒.นายปริญญา ทัศนมาศ บรรเลงซอสามสาย ๓.นายโกญจนาท วิบูลย์เพ็ง บรรเลงกระจับปี่ ๔.นายธนภัทร เพชรสัมฤทธิ์ บรรเลงขลุ่ย,ปี่ ๕.นายสมพงษ์ สีหเนตร บรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ(ฉิ่ง,กลองตุ๊ก) ๖.นายศิวัชญ์ สลิลรัตน์ บรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ(ฉาบ,โทน-รำมะนา) ๗.นายวรทัต หงษ์โม่ ขับร้องและบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ (โทน-รำมะนา,โทนชาตรี) บรรเลง ณ ระเบียงชั้นล่าง ด้านหลังพระตำหนักจิตรลดา เริ่มเมื่อเวลา ๑๕.๓๐ น.โดยประมาณ แบ่งการบรรเลงออกเป็นสามช่วง ในคลิปนี้เป็นการแสดงช่วงที่ ๒ "เสนาะเพลงระบำ" บรรเลงผลงานครูมนตรี ตราโมท ครูดนตรีไทยคนสำคัญคนหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ -ระบำทวารวดี -ระบำสุโขทัย -ระบำลพบุรี -ระบำศรีวิชัย -ระบำไกรลาศสำเริง -ระบำมยุราภิรมย์ (ระบำนกยูง) -ระบำมฤคระเริง (ระบำกวาง) ทั้งนี้อยู่ในการควบคุมวงและอำนวยการบรรเลงของนายณัฐพันธุ์ นุชอำพันธ์