У нас вы можете посмотреть бесплатно ทำความรู้จักกับ C เซรามิก (MLCC) คืออะไร...? อ่านค่ายังไง...? или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY สำหรับวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับ C SMD แบบเซรามิคกันนะครับ C ceramic ก็ถือว่าเป็น C ยอดฮิต ที่เราพบเห็นได้บ่อยมากในวงจรปัจจุบัน โดยเฉพาะเป็นปรินท์หน้าเดียว ก็ถือว่าเป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุคงที่ ส่วนใหญ่ ที่เห็นก็จะไม่มีขั้วนะครับ เพราะฉะนั้น สามารถใส่สลับข้างยังไงก็ได้ ข้อดีก็คือ C พวกนี้ ราคาถูก ขนาดเล็กระทัดรัด ค่า *ESR ต่ำ มีความเสถียร มีความ ทนทาน เสียค่อนข้างยาก ครับ ชื่อเต็ม ชื่ออย่างเป็นทางการของเขาก็คือ Multilayer Ceramic Capacitor หรือ (MLCC) ถ้าเรามาดูโครงสร้างข้างในของมัน ก็ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเลยครับ ก็จะมีขั้วต่ออยู่2ฝั่ง บอดี้ส่วนใหญ่ ก็จะเป็น เซรามิค ทำหน้าที่เป็นฉนวน และก็มี แผ่นอิเล็คโตรด บางๆ วางซ้อนสลับกันหลายๆชั้น มีหน้าที่สำคัญในการสร้างความจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของตัวเก็บประจุ ซึ่งความจุจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ ขนาด ระยะห่าง และ ความถี่ของแผ่นอิเล็คโตรด อีกทีหนึ่งครับ ค่าความจุของมัน ก็มักอยู่ในช่วงประมาณ pF ไปจนถึง 100uF ปกติก็มีอยู่หลายขนาดมากๆครับ ถ้าพูดถึงในมาตฐานอุตสาหกรรม ขนาดเล็กสุด ก็จะเป็นรหัส 01005 ขนาดใหญ่สุดก็จะเป็นรหัส 22 20 ซึ่งเลขรหัสทั้ง4หลัก เราสามารถอ่านค่าได้ทีละ 2 ตัว ซึ่ง มันจะบ่งบอกถึงขนาดของชิพ ที่เราใช้อยู่ได้ อย่างเช่นรหัส 02 01 ก็จะเท่ากับขนาด .02 นิ้ว x .01 นิ้ว 0603 ,0805 ,1206 ,1210 ,1812 ,2220 ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึง 22 20 ก็จะเป็นขนาด .22 นิ้ว x .20 นิ้ว ครับ แต่ขนาดที่พบเห็นบ่อยสุด ก็จะเป็นรหัส 0603 , 0805 , 1206 ก็ C ตัวเล็กค่าก็จะน้อย ถ้า C ตัวใหญ่ หน่อยค่าก็จะมากตาม แล้วเราจะอ่านค่า C ยังไง C แบบนี้ เเขาจะไม่บอก ระบุค่าอะไรออกมาให้เราเลยครับ ไม่มีทั้งตัวเลข ไม่มีทั้งตัวอักษร ไม่มีอะไรบ่งบอก ถึง ข้อมูลได้เลย แล้วเราจะทราบค่าความจุได้ยังไง แนะนำให้ถอดตัวที่สงสัย ออกมาวัดครับ เครื่องมือที่ใช้ถอด ก็จะใช้เป็นเครื่อง เครื่องเป่าลมร้อน หรือ แหนบหัวแร้งคู่ก็แล้วแต่ครับ ถนัด เมื่อยกออกมาแล้ว เครื่องมือที่ใช้ วัดค่าคาวมจุ คร่าวๆ ก็จะมี 1. วัดด้วยเครื่องวัด LCR วิธีวัดก็คือ ต่อขั้วของ C เข้ากับขั้งของตัวเครื่อง ตั้งค่าโหมดเป็นการวัด เป็นการวัดค่าความจุ แล้วอ่านค่าที่แสดงออกมา กับ 2.ใช้ Digital Multimeter ที่มีโหมดวัด ค่าความจุ เช่นกัน Multimeter หลายรุ่นๆ เดี๋ยวนี้ มีฟังก์ชันวัดค่าความจุ แบบค่าน้อยๆกันเยอะแล้วครับ แต่ไม่แนะนำให้ วัด C ที่ยังต่ออยู่ในวงจร นะครับ เพราะว่า อาจจะ วัดค่าออกมาผิดเพี้ยนได้ เนื่องจากบนแผง มันมีส่วนประกอบของอุปกรณ์อื่นๆ ต่อขนานกันอยู่ เป็นจำนวนมากซึ่งมันส่งผลต่อค่าความจุของ C โดยตรงครับ แต่ยกเว้นได้ในบางกรณี เช่น C มีความเสียหาย มีรอยไหม้ รอยดำ รอยคล้ำ ออกมาชัดเจน เราก็จะวัดว่ามันช๊อตหรือเปล่าในวงจรเลย ถ้าหาก C ช๊อตแล้วเราอยากจะทราบค่าเดิม เอามาเปลี่ยน จะทำยังไง ? ปกติแล้วเราสามารถ รู้ค่าความจุ โดยการวัดจาก ขนาดตัวของมันได้ นะครับ ก็คือใช้พวกเวอร์เนีย วัดขนาด ความยาว กับ ความกว้าง เทียบกับ datasheel หรือ สเกเมติกส์ ของทางผู้ผลิตๆ วัดของขนาดความยาว ความกว้าง และ ก็ความหนาของ C หลังจากนั้นก็ เอามาเทียบกับ ดาตาชีส หรือ สเกลเมตริก ของทางผู้ผลิต ค่ายนั้นๆครับ ว่าต้อง การสั่งของเป็น Part number อะไร แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า แต่ละบริษัท ถึงแม้ C ขนาดจะเท่ากันก็จริง แต่ค่าความความจุที่จำหน่าาย อาจจะไม่เท่ากันเสมอไปนะครับ หรือ ถ้าไม่มีเครื่องมือวัด อีกวิธีหนึ่งที่จะพอ แก้ไขได้ก็คือ เทียบเคียงกับC ตัวที่อยู่ข้างๆ อาจจะทราบค่าคร่าวๆได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทริกเทคนิค สำหรับการวัด C ก็คือ ถ้าวัด C ได้ค่าน้อยๆ pF , nF ส่วนใหญ่ จะเป็น C ตัวกรองความถี่สูง , กรองสัญญาณรบกวน (Noise) ต่ออยู่ระหว่างขา สัญญาณ และ ก็ขากราวด์ ส่วนถ้าวัดค่า C ได้ค่ามาก มีความจุใน ระดับ uF ขึ้นไป ส่วนใหญ่ ก็จะใช้เป็นตัวกรองไฟ DC Filtering ทำให้แรงดันไฟเรียบขึ้น ลดการ Ripple ที่เกิดจากแหล่งจ่ายไฟ. สำหรับการการเสีย ถ้ามาในแนว แรงดันไฟในวงจรหายไปทั้งหมด ก็อาจจะเกิดจากการที่ C ช๊อต ได้ครับ C เกิดการลัดวงจร แต่ถ้าอาการ มาในแนวไฟตก ไฟในวงจรไม่คงที่ ก็อลอง เช็ค C อาจจะรั่ว ได้ครับ หรือถ้าใครมีเครื่องมือ ใช้ กล้องส่องความร้อนเข้าช่วย อุณหภูมิ C ก็จะสูงขึ้นมาชัดเจนครับ ข้อควรระวัง ในการวิเคราะห์วงจร ในบางกรณีที่บอร์ดมีปัญหา C อาจไม่ได้เสียเอง แต่ถูกหลอกให้ดูเหมือนเสีย เนื่องจาก: อุปกรณ์ตัวอื่น ที่อยู่ในเส้นทางเดียวกับ C อาจลัดวงจร ก็ได้ ซึ่งทำให้เราวัดค่า C ได้ผิดเพี้ยน ผิดปกติไปจากเดิม และเมื่อเรายกอุปกรณ์ ตัวที่ เสียจริงๆ C อาจจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ. ดังเดิมได้อีกครั้งก็มีครับ อันนี้ ฝากเพื่อนๆไว้เป็นข้อคิดไว้ ด้วย สำหรับคลิปนี้ผมขออธิบายไว้เท่านี้ก่อน ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านท่ีติดตามรับชมครับ