У нас вы можете посмотреть бесплатно ความยากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทยภายใต้ความท้าทายเชิงโครงสร้าง или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ความยากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทยภายใต้ความท้าทายเชิงโครงสร้าง The Intergenerational Transmission (IGT) of Poverty in Thai Society under Structural Challenges *** ความสำคัญของการวิจัย **** “ทุกข์ยากมาแต่เกิดหรือจนมาแต่เกิด” ประโยคเหล่านี้สะท้อนความยากจนที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น ดำรงอยู่และฝังตัวมายาวนานในสังคมไทย ซึ่งมิใช่เรื่องของเวรกรรมหรือบุญทำกรรมแต่งแต่อย่างใด และที่น่าประหลาดใจคือ ทำไมการดำรงอยู่ของคนจนข้ามรุ่นนี้แทบจะมองไม่เห็น (invisibility) ถูกปล่อยปละละเลยตามยถากรรมมาเนิ่นนาน นั่นเป็นเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างและภาคปฏิบัติการของโครงสร้างหรือไม่ที่ทำให้คนจนและความยากจนข้ามรุ่นถูกแช่แข็ง กดทับเอาไว้และทำให้หล่นหายไปในห้วงเวลาต่าง ๆ ที่ผ่านมา? ทั้งที่มีนโยบายมากมายเพื่อลดปัญหาความยากจน (pro-poor policy) ในแง่หนึ่ง นโยบายเหล่านี้ทำให้จำนวนคนจนเชิงตัวเลขโดยรวมในประเทศในห้วง 30 กว่าปีที่ผ่านมาลดต่ำกว่าร้อยละ 10 แต่อีกด้านหนึ่งกลับเกิดคำถามสำคัญคือ ทำไมความยากจนข้ามรุ่นทั้งกลุ่มเก่าและใหม่จำนวนมากถึงมิได้รับความสนใจ และกลุ่มคนเหล่านี้ต้องอยู่ในสภาวะการณ์ที่เรียกว่า “กำแพงที่ปีนไม่ข้าม” หรือ “ก้าวขึ้นบันใดแต่ละขั้นด้วยความทุลักทุเล” เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งรัฐเองก็เพิ่งตื่นตัวในเรื่องนี้ ถึงกับต้องบรรจุการลดความยากจนข้ามรุ่นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) การทำความเข้าใจปรากฎการณ์ความยากจนข้ามรุ่นดังปรากฎการณ์ข้างต้นเชิงแนวคิดและภาคปฏิบัติการในพื้นที่ยังค่อนข้างมีจำกัดในสังคมไทย เพราะโดยมากเน้นการเข้าใจความยากจนจากกรอบคิดเศรษฐศาสตร์ ความเป็นวัตถุและการดำรงชีพของคนจน และการเมืองของการเข้าไม่ถึงทรัพยากร ซึ่งยังขาดมุมมองระดับภววิทยาว่าด้วยความยากจน ผ่านการสถาปนาความหมาย วาทกรรมการพัฒนา ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และการสร้างขึ้นของความหมายความยากจนจากมุมมองคนจนในฐานะผู้กระทำการที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ และกลุ่มคนที่ทำงานกับคนจนระดับต่าง ๆ มุมมองเหล่านี้มีความสำคัญมากเพราะทำให้เห็นความสลับซับซ้อนระดับปรัชญาว่าด้วยความยากจนและกระบวนการสร้างขึ้นของความยากจนของกลุ่มคนระดับต่าง ๆ ที่มักเป็นตัวแทนเสียงของคนจนที่ส่งผลต่อการจัดทำนโยบายลดความยากจน หากมักเป็นนโยบายที่ได้ละเลยนิยามความหมายของความยากจนอื่น ๆ และการดำรงอยู่ของความยากจนจากกลุ่มคนรุ่นต่าง ๆ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งแสวงหาคำตอบสองระดับเพื่อทำความเข้าใจความยากจนข้ามรุ่น (The Intergenerational Transmission (IGT) of Poverty) ระดับแรกคือระดับปรัชญาอันได้แก่ ภววิทยา (ontology) เพื่อเข้าใจสภาวะการเป็น (being) ความจนข้ามรุ่น ช่องว่างแนวคิด และญาณวิทยา (epistemology) ว่าด้วยวิธีการเข้าถึง เพื่อทำความเข้าใจความยากจนข้ามรุ่น ผ่านกรอบคิดเชิงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ระดับที่สองเพื่อมุ่งทำความเข้าใจการผลิตสร้างความจนข้ามรุ่น โดยเน้นศึกษาเงื่อนไขอันสลับซับซ้อนทั้งมิติโครงสร้าง เวลา พื้นที่ กระบวนการทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และนิเวศในสังคมไทยและสังคมโลกที่ทำให้เกิดความยากจนข้ามรุ่นระดับครัวเรือน ตลอดจนทำความเข้าใจ “ความหนักหนาสาหัส” ของความยากจน (severity) ที่ถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น การศึกษาระดับที่สองนี้ จะศึกษาผ่านประสบการณ์ในพื้นที่ทั้งระดับปัจเจก ครัวเรือนและสถาบันทางสังคมเศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐในความพยามยามในแก้ปัญหาความจนข้ามรุ่นที่ผ่านมารวมทั้งความท้าทายของครัวเรือนและสถาบันที่เกี่ยวข้องในการพยายามแก้ไขปัญหาความยากจนข้ามรุ่น ท้ายที่สุด งานวิจัยนี้ต้องการเสนอแนะเชิงนโยบายเฉพาะเพื่อตรงเป้าหมายสำหรับกลุ่มคนเพื่อลดปัญหาความยากจนข้ามรุ่นในประเทศไทยอันสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 งานวิจัยชิ้นนี้เน้นการใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิทยาแบบวงศาวิทยา (genealogy) ตามแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ของความยากจนข้ามรุ่น โดยการเผยให้เห็นการสร้างความหมายความยากจนข้ามรุ่นจากคนจนและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ทางอำนาจในความยากจนข้ามรุ่นกับปัญหาเชิงโครงสร้าง และจุดเริ่มต้นหรือทุกจุดของการเชื่อมต่อที่หลากหลายตามห้วงเวลาต่าง ๆ ที่ทำให้คนจนหล่นหายไปจากนโยบาย งานวิจัยชิ้นนี้ เน้นประเด็นการศึกษาในมิติชาติพันธุ์วรรณาว่าด้วยเวลาแห่งการรอคอยนโยบายการศึกษา “เกษตรกร” ในฐานะเทคนิควาทกรรมความจนในนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐ ผู้หญิงกับความยากจนข้ามรุ่นในพื้นที่ภัยพิบัติภาคใต้ การต่อสู้ข้ามรุ่นในฐานะเงื่อนไขของความยากจนข้ามรุ่นในพื้นที่เหมืองแร่อีสาน และการไร้ที่ดินสู่ความยากจนข้ามรุ่นจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรม *** วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย *** 1. เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความจนข้ามรุ่นในสังคมไทยระดับปรัชญาและภาคปฏิบัติการแก้ไขความยากจนในสังคมไทยตลอด 60 ปีที่ผ่านมาในมิติ (1) ชาติพันธุ์วรรณาว่าด้วยเวลาแห่งการรอคอยนโยบายการศึกษา (2) “เกษตรกร” ในฐานะเทคนิควาทกรรมความจนในนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐ (3) ผู้หญิงกับความยากจนข้ามรุ่นในพื้นที่ภัยพิบัติภาคใต้ (4) การต่อสู้ข้ามรุ่นในฐานะเงื่อนไขของความยากจนข้ามรุ่นในพื้นที่เหมืองแร่อีสาน และ (5) การไร้ที่ดินจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรม 2. เพื่อพัฒนานักวิชาการรุ่นใหม่ให้มีความรู้ ทักษะและความสามารถในการพัฒนาโครงการวิจัยและทำงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงในการอธิบาย วิเคราะห์และสังเคราะห์ปรากฎการณ์และโจทย์สำคัญในสังคมไทยเกี่ยวกับความยากจนข้ามรุ่นในปัจจุบันและอนาคต 3. เพื่อพัฒนาชุดข้อเสนอระดับนโยบายสาธารณะที่เป็นรูปธรรมต่อหน่วยงานรัฐที่ปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงและลดความยากจนข้ามรุ่น 4. เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและเผยแพร่ผ่านการตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบบทความจากงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติและระดับชาติและชุดหนังสือ อีกทั้งในรูปบทความสั้นและสื่ออินโฟกราฟฟิกเพื่อสื่อสารสาธารณะต่อสังคมในวงกว้าง