У нас вы можете посмотреть бесплатно ชัวร์ก่อนแชร์ วัคซีนไซเบอร์ : 7 วิธีเช็ก Line ปลอม ของคนร้าย ป้องกันภัยถูกหลอกลวงเงิน или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
9 ก.ค. 65 - ข่าวมิจฉาชีพหลอกลวงเงินมีให้ได้ยินอยู่เสมอ หนึ่งในกลอุบายที่พบบ่อย คือ การสร้างบัญชี LINE ปลอม เพื่อแอบอ้างสวมรอยเป็นคนรู้จัก หรือหน่วยงานต่าง ๆ "ชัวร์ก่อนแชร์ วัคซีนไซเบอร์" ขอนำเสนอ 7 วิธีเช็ก Line ปลอม ของคนร้าย ป้องกันภัยถูกหลอกลวงเงิน ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ เดชาพล วงศ์กลม ในยุคดิจิทัลแบบนี้ มิจฉาชีพมีกลอุบาย และวิธีการใหม่ ๆ มาหลอกลวงเรา โดยพุ่งเป้าไปที่ทรัพย์สินเงินทอง และข้อมูลส่วนตัว หนึ่งในไม้ตายที่หลอกลวงได้บ่อย คือ การปลอมตัวและสวมรอย ไม่ว่าจะเป็นการทำเว็บไซต์ปลอม SMS ปลอม อีเมลปลอม, เฟซบุ๊กปลอม ไม่เว้นแม้แต่ การสร้างบัญชี LINE ปลอม ขึ้นมาลวงหลอก โดยอาศัยจังหวะที่เราคุ้นเคย เลยไม่ทันระวังความผิดปกติ ทั้งสวมรอยหรือปลอมตัวเป็นคนรู้จัก เพื่อขอยืมเงินด่วน ไปจนถึงการปลอมเป็นคนดัง หรือหน่วยงานทางการต่าง ๆ ที่อ้างอุบาย ทั้งขู่ ทั้งกระตุ้นเร้า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า อันไหน LINE จริง อันไหน LINE ปลอมกันแน่ วันนี้ วัคซีนไซเบอร์ ขอนำเสนอ 7 วิธีเช็ก Line ปลอมของคนร้าย ป้องกันภัยถูกหลอกลวงเงิน จะมีวิธีการเช็กได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน 👉 ร่วมกิจกรรมตอบคำถามไปกับเราได้ที่ : https://i.sure.guru/vc017 ต่อไปนี้คือ 7 วิธีเช็ก Line ปลอมของคนร้าย 1. LINE ของตัวปลอม มักจะถือวิสาสะทักหาลูกค้าก่อน ส่วน LINE จริง ผู้ใช้จะต้องเป็นคนเพิ่มเพื่อนเอง ซึ่ง LINE ของหน่วยงานจริง ๆ จะไม่ทักเข้าไปหาลูกค้าก่อน โดยผู้ใช้จะเห็นคำว่า เพิ่มเพื่อน อยู่ด้านบน ซึ่งก็หมายความว่า ผู้ใช้กับ Account นี้ยังไม่ได้เป็นเพื่อนกัน ซึ่งหากเป็นกรณีของธนาคาร ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีการให้เจ้าหน้าที่ติดต่อ เข้ามาพูดคุยกับลูกค้าโดยตรง แบบนั้นนะครับ นอกจากนี้ภาษาที่ใช้ก็อาจจะสังเกตได้ ถ้าเกิดมีการสะกดคำแบบผิด ๆ ใช้คำห้วน ๆ ไม่เหมือนกับภาษาที่เจ้าหน้าที่ธนาคาร ใช้กับลูกค้าจริง ๆ 2. ชื่อ LINE ที่ไม่มีโล่ LINE ที่ไม่ใช่บัญชีทางการ จะไม่มีเครื่องหมาย โล่สีเขียวหรือน้ำเงิน หน้าชื่อ Account อย่างโดดเด่นชัดเจน โล่นี้มีไว้เพื่อแสดงว่าเป็นบัญชีทางการ หรือบัญชีที่ได้รับการรับรอง ที่ลงทะเบียนไว้กับ LINE ประเทศไทย แต่วิธีการนี้เป็นเพียงการตรวจสอบว่า เป็นบัญชีทางการหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้า Line ไหน ไม่มีโล่ จะเป็นของปลอมเสมอไป ให้สังเกตที่องค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วยครับ และรวมถึงการสังเกตจากพื้นหลัง หน้าโปรไฟล์ LINE Official Account ก็ได้ ถ้าเป็นของจริง จะต้องแสดงบนพื้นหลังสีขาวเท่านั้น 3. ดูเลขจำนวนสมาชิก โดยอย่าไว้ใจแค่เลขสมาชิกที่ปรากฏให้เห็น หรือแค่เป็นรายละเอียดของอิโมจิ ในรูป Profile เท่านั้น เพราะสามารถปลอมแปลงได้เช่นกันครับ 4. LINE ปลอม มักจะมีการสอบถาม ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า รวมถึงข้อมูลของธนาคาร ที่ลูกค้าใช้บริการอยู่ เช่น มีบัญชีของธนาคารอะไรบ้าง มีเงินในแต่ละบัญชีจำนวนเท่าไหร่ เป็นต้น เพื่อคนร้ายจะได้หาทางล่อหลอกให้ลูกค้า โอนเงินทั้งหมดไปรวมกัน ก่อนที่จะหลอกให้โอนเข้าบัญชีของมิจฉาชีพ ทั้งหมดในครั้งเดียวนั่นเองครับ โดยใน 4 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น สามารถดูได้ทั้ง LINE Official Account ของธนาคาร ของแบรนด์สินค้า ร้านค้า เว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึง LINE Official ของดารา คนดังต่าง ๆ ด้วยนะครับ ซึ่งนอกจากนั้นเรายังมี วิธีการเช็ก LINE ปลอมส่วนบุคคลกันบ้าง ในกรณีการสวมรอยทักมาในคราบคนรู้จัก มีเทคนิคแบบนี้นะครับ เทคนิคที่ 5 ดูว่ามีประวัติการแชทมาก่อนหรือไม่ ถ้าเราคุยกับเพื่อนบ่อย ๆ อยู่ ๆ เพื่อนคนเดิมทักมา แต่ไม่เคยมีประวัติการสนทนาใด ๆ ค้างไว้เลย ก็ให้ลองเข้าไปดูใน Profile หรือ Timeline ว่ามีประวัติของเพื่อนเราหรือเปล่า รวมทั้งลองค้นชื่อเพื่อนในระบบ ดูว่ามีชื่อ Account ซ้ำกันหรือไม่ เพราะว่ากรณีนี้ คนร้ายอาจจะเพิ่งขโมยรูป สร้างไลน์ปลอมมาสวมรอยหลอกเรา 6. ไม่ควรโอนเงินให้ใคร จนกว่าจะยืนยันตัวตนได้ ก่อนจะโอนเงินให้เพื่อนเรายืม หรือใคร อย่าลืมยืนยันตัวตนของเขาก่อน ว่าเป็นเพื่อนเรา หรือบุคคลที่ท่านต้องการ จะโอนเงินไปให้นั้นจริง ๆ เช่น การโทรศัพท์พูดคุย ผ่านเบอร์โทรศัพท์โดยตรง การวิดีโอคอล เปิดกล้องผ่าน LINE หากเพื่อนเราเดือดร้อนจริง เขาจะทำทุกวิถีทาง เพื่อยืนยันตัวตนของเขานะครับ แต่ถ้าเป็นมิจฉาชีพแล้ว ก็มักจะหลบเลี่ยง ไม่ให้เราได้ยืนยันตัวตน อ้างว่า ไม่สะดวกรับสายบ้าง ไม่ยอมเปิดกล้องบ้าง และ 7. ตรวจสอบบัญชีที่รับโอนให้แน่ใจ หากเรารู้ชื่อนามสกุลจริงของเพื่อน ของเราอยู่แล้ว และถ้าเลขบัญชีที่ได้มา มันไม่ตรงก็ให้สงสัยไว้ก่อน ว่าอาจจะถูกหลอกอยู่นะครับ ซึ่งแน่นอนว่า เขาอาจจะอ้างว่า ให้โอนให้บุคคลที่ 3 แทนก็ได้ แต่เราไม่ควรตัดสินใจโอนไปทันที ควรปฏิเสธการโอนเงิน ให้กับบุคคลที่เราไม่รู้จักโดยเด็ดขาดนะครับ โดยอาจจะลองนำชื่อบัญชี หรือหมายเลขบัญชี ไปค้นหาใน Google ว่ามีประวัติการโกงหรือไม่ก็ได้ ทั้งหมดนี้คือ 7 วิธีเช็ก Line ปลอมคนร้าย หลอกเงิน หากมั่นใจว่า LINE ที่ทักเข้ามานั้น เป็น LINE ปลอมของพวกมิจฉาชีพ ก็แนะนำให้กดปุ่มรายงานปัญหาในทันที และทำการบล็อก Account นั้น เพื่อไม่ให้มายุ่งกับเราได้อีก และที่สำคัญเราควรระมัดระวัง ตั้งสติ และสังเกตอย่างถ้วนถี่ ไม่ใจร้อนรีบโอน เพราะอาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อ สูญเสียเงินก้อนใหญ่ได้ครับ #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare ----------------------------------------------------- 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯 LINE | @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare FB | / sureandshare Twitter | / sureandshare IG | / sureandshare Website | http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com TikTok | / sureandshare