У нас вы можете посмотреть бесплатно แหนแดง ปุ๋ยพืชสด ทดแทนอาหารสัตว์ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตการเกษตร Ep 1 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
@krusawat แหนแดง พืชมหัศจรรย์ขนาดเล็ก แต่คุณสมบัติที่ทุกคนคาดไม่ถึง แหนแดงคืออะไร แหนแดงเป็นเฟิร์นน้ำชนิดหนึ่ง เติบโตได้ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไป ในน้ำนิ่ง นิยมเพาะเลี้ยงในนาข้าวเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดตามธรรมชาติ และนำแหนแดงสดไปใส่พืชผัก เป็นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี มีธาตุอาหาร (หลัก/รอง/เสริม)ที่พืชต้องการเกือบครบ อีกทั้งยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น อาหารไก่ เป็ด ปลา หอยเชอรี่ แม้แต่วัว หมู และ สัตว์กินพืชทุกชนิด แหนแดงรอยอยู่บนผิวน้ำ ใบไม่อมน้ำใบ ใบของแหนแดงแตกออกตามกิ่งเรียงซ้อนกัน ใบบนและใบล่าง ใบบนมีคลอโรฟิลล์ เป็นองค์ประกอบหลัก ใต้ใบมีโพรง เป็นที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซึ่งอยู่แบบพึ่งพากัน (symbiosis) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดึงไนโตรเจนในอากาศ และเปลี่ยนเป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียม 3-5% ได้ในปริมาณ 200 - 600 กรัม/ไร่/วัน แหนแดงจึงเปรียบเสมือนโรงผลิตปุ๋ยไนโตรเจนชีวภาพขนาดใหญ่ จัดเป็นปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่งสามารถให้ธาตุอาหารแก่พืชได้ แหนแดงสายพันธุ์ท้องถิ่นของไทย คือสายพันธุ์ azolla Pinnata และสายพันธ์ที่กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาสายพันธุ์ และส่งเสริมให้นำมาเพาะเลี้ยง คือ สายพันธุ์ azolla microphylla ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของอเมริกา จากการนำแหนแดงมาวิเคราะห์หาธาตุต่างๆ จากข้อมูลด้านงานวิจัยของ ดร.ศิริรัตน์ แก้วสุรลิขิต และ อ.ประไพ พบว่า แหนแดงสายพันธุ์ azalla microphylla มีไนโตรเจนอยู่ 4.62% ฟอสฟอรัส 0.65 % และโพแทสเซียม 5.27 % ซึ่งมีสูงกว่าในพืชตระกูลถั่ว ลักษณะเด่นคือ มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าสายพันธุ์ ในท้องถิ่นถึง 10 เท่า อีกทั้งใบมีขนาดใหญ่สามารถสร้างไนโตรเจนได้มากกว่าสายพันธุ์ท้องถิ่น ในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้แหนแดงสดประมาณ 30 กิโลกรัมเทียบได้กับปุ๋ยยูเรีย 6-7.5 กิโลกรัม การขยายพันธุ์ของแหนแดงมีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ แบบอาศัยเพศ มีการผลิตสปอร์เพศผู้และเพศเมียได้ภายใน 1 สัปดาห์ แบบไม่อาศัยเพศ แหนแดงจะสร้างกิ่งแตกแขนงออกจากต้นแม่เป็นต้นใหม่ และจะหลุดออกมาเมื่อต้นแม่แก่ โดย 1 ต้น จะสามารถแยกได้ถึง 30 ต้นในเวลา 14 วัน จึงควรมีการกระตุ้นการแยกตัวของแหนแดงด้วยการใช้มือตีเบาๆ การเพาะเลี้ยงแหนแดงควรมีบ่อแม่พันธุ์ไว้ต่างหาก เพราะเนื้อเยื่อของแหนแดงบอบบาง สัตว์แมลงเข้าทำลายได้ง่าย จึงต้องเพาะเลี้ยงในบ่อแม่พันธุ์ก่อน แล้วจึงแยกไปลงบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ต่อไป ประโยชน์ 1 ใช้เป็นอาหารสัตว์เป็นแหล่งโปรตีน เช่น ปลา เป็ด ไก่ หมู วัว และสัตว์กินพืชทุกชนิด ให้โปรตีน 25-30%โปรตีน 2 ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ผลิตง่ายให้ค่าปุ๋ยสูง 3 เป็นอินทรีย์วัตถุในดินปรับโครงสร้างดินให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน 4 ใช้แทนปุ๋ยยูเรียได้อย่างดีเร่งการปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดินให้พืชใช้ได้เร็วขึ้น 5 ลดต้นทุนการทำการเกษตร 6 ควบคุมวัชพืชในนาข้าวคลุมพื้นที่ในแปลงนา ลดการใช้สารกำจัดวัชพืชเมื่อหมดฤดูกาลยังเป็นปุ๋ยในนาข้าวได้ทันที ข้อดีของแหนแดงก็คือใช้แทนปุ๋ยได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการหมักให้เกิดการย่อยสลายสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว วิธีการทำบ่อแม่พันธุ์ 1 เตรียมภาชนะ เช่น กะละมังหรือ บ่อซีเมนต์ เจาะรูให้มีทางระบายน้ำออก 2 ใส่ดินเข้าไป หนาประมาณ 5-10 cm 3 เติมปุ๋ยคอกประมาณ 1 กิโลกรัม (แล้วแต่ขนาดของภาชนะ) 4 เติมน้ำสูงจากหน้าดิน 10-15 เซนติเมตรแช่ไว้ 1 ถึง 3 วัน ในกรณีที่เป็นน้ำประปา ควรจะพักน้ำไว้ก่อนที่จะนำน้ำลงบ่อ 5 ใส่เนื้อแดง 100 กรัมต่อ ตารางเมตร เกลี่ยให้กระจายเต็มบ่อ 6 เมื่อแหนแดงโตเต็มที่แล้วจึงนำแหนแดงออกไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงต่อไป 7 ควรมีมุ้งเพื่อป้องกันการบุกทำลายของแมลงด้วย ข้อควรคำนึงในการเลี้ยงแหนแดง ประการแรกคือ ระดับน้ำควรจะอยู่ที่ประมาณ 5 ถึง 15 cm ถ้าลึกมากไปธาตุอาหารก็จะเจือจางได้ยังต้องการธาตุอาหาร เช่นเดียวกับพืชทุกชนิด หรือถ้าน้ำน้อยเกินไปอาจจะทำให้น้ำอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง 2 อุณหภูมิน้ำควรอยู่ที่ประมาณ 20 ถึง 30 องศาเซลเซียส 3 แสงแดดควรจะมีแสงแดดอยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 60 % ดังนั้นจึงควรทำสแลนพรางแสง หรือจัดวางในพื้นที่ที่มีแสงรำไร 4 ความชื้นสัมพัทธ์ควรอยู่ที่ประมาณ 85 ถึง 90 % 5 ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำควรจะอยู่ที่ประมาณ 5-6.5 6 กระแสลมลมแรง มีผลต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง กระแสลมจะพัดแหนแดงไปรวมอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของแหนแดง เป็นไปอย่างช้าๆ 7 ธาตุอาหาร ต้องการธาตุหลัก-ธาตุรอง เช่นเดียวกับพืชทั่วๆไป โดยเฉพาะแหนแดงต้องการฟอสฟอรัสในดินที่ช่วยในการตรึงไนโตรเจนและรักษาระดับปริมาณของคลอโรฟิลล์ 8 ศัตรูของแหนแดง ควรมีการควบคุมและป้องกันเป็นระยะๆ เช่น หนอนด้วง หนอนผีเสื้อกลางคืน หนอนไร้น้ำ เป็นต้น 📢 ช่องทางติดต่อ ID Line ➡️ @563ojmai TIKTOK ➡️ https://www.tiktok.com/@krusawat2023?... TIKTOK ➡️ https://www.tiktok.com/@krusawatpatum... Facebook ➡️ https://www.facebook.com/profile.php?... Facebook Fanpage ➡️ https://www.facebook.com/profile.php?... Facebook Groups ➡️ https://web.facebook.com/groups/14850... สมัครสมาชิก Youtube ➡️ / @krusawat