У нас вы можете посмотреть бесплатно ทำอย่างไร ปลอดภัย จากวัณโรค ปี 2560 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
"ทำอย่างไร ปลอดภัย จากวัณโรค" ผู้ผลิตวิดิโอ มูลนิธิวิจัยวัณโรคและโรคเอดส์ โดยการสนับสนุนทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.59-016) กลุ่มเป้าหมาย ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค (contact cases) วัตถุประสงค์ หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายดูวิดิโอจบ ควรจะ 1.มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการติดต่อของวัณโรค 2.สามารถระบุกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรค 3.ยอมรับการตรวจคัดกรอง วัณโรค และตรวจหาเอชไอวี ทำอย่างไร จึงจะปลอดภัย จากวัณโรค? 1.โรงพยาบาลได้ข้อมูลจากคนไข้วัณโรคว่า ท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนไข้ ท่านจึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรค 2.ท่านอาจรู้แล้วว่าคนไข้วัณโรคที่ใกล้ชิดท่านเป็นใคร แต่หากท่านยังไม่รู้ โรงพยาบาลจำเป็นต้องรักษาความลับของคนไข้ จึงไม่สามารถเปิดเผยชื่อของคนไข้แก่ท่านได้ 3.โรงพยาบาลมีหน้าที่ป้องกันวัณโรค จึงเชิญให้ท่านมารับการตรวจคัดกรองวัณโรค เพื่อสุขภาพของท่านและสุขภาพของส่วนรวม วัณโรคคืออะไร? 1. วัณโรค เป็นโรคติดต่อทางลมหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง 2.เชื้อนี้อาศัยอยู่ในปอดของผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รักษา ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อวัณโรคออกไปในอากาศ โดยการไอ, การจาม, การหัวเราะ หรือร้องเพลง 3.เมื่อคนที่อยู่ใกล้ชิดสูดเอาอากาศที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไป อาจเกิดการติดเชื้อวัณโรค และป่วยเป็นวัณโรคได้ 4.วัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ ใครเสี่ยงต่อวัณโรค? คนที่เสี่ยงต่อวัณโรค ได้แก่ 1.คนที่อยู่บ้านหรือห้องเดียวกันกับคนไข้วัณโรค 2.คนที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไข้ ในที่ต่างๆ วันละหลายชั่วโมง ติดต่อกันหลายเดือน 3.ความเสี่ยงที่จะป่วยหลังจากติดเชื้อ จะสูงมากหากคนที่อยู่ใกล้คนไข้วัณโรค 4.เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ 5.เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ 6.เป็นโรคเบาหวาน, มะเร็ง, โรคไต 7.เป็นคนที่ดื่มเหล้า, สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด จะลดความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นวัณโรค ได้อย่างไร? 1.รับการตรวจคัดกรองวัณโรค โดยการเอกซเรย์ปอด 2.เด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ หากตรวจแล้ว ไม่เป็นวัณโรค จะได้รับยากินเพื่อป้องกันวัณโรค 3.เด็กและเยาวชน อายุน้อยกว่า 18 ปี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับการตรวจการติดเชื้อวัณโรค ด้วยการฉีดน้ำยาที่ใต้ผิวหนัง หากติดเชื้อวัณโรค แต่ยังไม่ป่วย จะได้กินยาป้องกันวัณโรค 4.ผู้ใกล้ชิดคนไข้วัณโรค ควรรับการตรวจเอชไอวี เพราะหากติดเชื้อเอชไอวี จะได้กินยาป้องกันวัณโรค และได้รับยาต้านไวรัสซึ่งจะช่วยลดการป่วยด้วยโรคติดเชื้อหลายชนิด สงวนลิขสิทธิ์: การนำข้อความใด รูปภาพใด และตัดต่อบางส่วน ของวิดิโอ หรือนำไปผลิตใหม่ จะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก มูลนิธิวิจัยวัณโรคและโรคเอดส์ Email: [email protected] หรือ โทรสาร 0-5375-2448