У нас вы можете посмотреть бесплатно (ตอนสอง) ทำให้ได้-ทำให้เป็น “ ต่อวงจรไฟฟ้าคอมฯและมอเตอร์ “ ในคอยล์ร้อน или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
เมื่อเราทราบสาเหตุแล้วว่าอาการที่คอยล์ร้อนไม่ทำงานที่เกิดขึ้น มาจาก “ แมกเนติกส์-คอนแทคเตอร์ “ แน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราก็ต้องมาทำการทดสอบว่ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์และพัดลมระบายความร้อนปกติดีหรือไม่ **** (หมายเหตุ เฉพาะแอร์ติดผนังหรือตั้งแขวนที่จ่ายไฟไปคอยล์ร้อน โดยผ่านแมกเนติกส์-คอนแทคเตอร์เท่านั้นนะครับ จะแบบเงียบหรือแบบธรรมดาได้หมดครับ) **** วิธีการทดสอบแบบแรกก็คือการทดสอบแบบรวม นั่นก็หมายถึงการทดสอบโดยการจ่ายไฟเข้าคอยล์ร้อน โดยการจ่ายไฟ 220Vac จากภายนอกที่เราเตรียมไว้หรือหามา ตรงๆเข้าสู่วงจร ซึ่งวงจรเดิมๆนั้นจะต่อทั้งมอเตอร์ฯและคอมฯ ไว้อยู่แล้ว ถ้าปกติมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และมอเตอร์ระบายความร้อนก็จะทำงาน ระบบท่อหรือความเย็นก็จะเริ่มทำงานเช่นกัน แต่ให้ทดสอบไม่ควรนานมากเกินไป จะระยะเวลาเท่าใดนั้น ก็ลองดูที่หน้างานและความเหมาะสม เมื่อทดสอบแล้วเป็นปกติ ก็จะมาทำการเปลี่ยนแมกเนติกส์ฯต่อไป โดยจะเปลี่ยนแบบเดิมของยี่ห้อนั้นๆ หรือจะเปลี่ยนมาใช้แบบธรรมดาก็ว่ากันไป จะอธิบายในคลิป (ตอนสาม) ต่อไป ถ้าไม่ปกติ ...หมายถึงคอมเพรสเซอร์อาจจะไม่ทำงาน มอเตอร์ระบายความร้อนทำงานเพียงอย่างเดียว ก็ต้องมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน ...มอเตอร์ระบายความร้อนไม่ทำงาน แต่คอมฯทำงานได้ ในกรณีนี้ให้จับกระแสไว้ด้วย ค่าปกติจะถูกกำหนดไว้ที่เนมเพลทแล้ว ดูกระแสไฟว่าปกติหรือไม่ และอย่าทดสอบนานทดสอบแค่ว่าคอมฯเดินได้และทำงานได้ตามปกติ หาสาเหตุที่มอเตอร์ระบายความร้อนเสียและเปลี่ยนใหม่ หมายเหตุ ไม่ว่าคอมฯหรือมอเตอร์ระบายความร้อน ตัวหนึ่งตัวใดทำงานนั่นก็หมายความว่าแม๊กเนติกส์ฯอาจจะไม่เสียก็เป็นได้ ตรวจสอบแม๊กเนติกส์อีกครั้งเพื่อความแน่นอน ส่วนประกอบของแม๊กเนติกส์-คอนแทคเตอร์ จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนที่เป็นคอยล์หรือขดลวด ทำหน้าที่กำเนิดสนามแม่เหล็ก เพื่อดึงหรือดูดหน้าคอนแทคให้ต่อถึงกัน มีทั้งขดลวดที่ใช้ไฟ Vdc ค่าน้อยๆและขดลวดที่ใช้ไฟ 220Vac ส่วนที่เป็นหน้าสัมผัส-หรือหน้าคอนแทค จะทำหน้าที่ให้ไฟผ่านไปครบวงจร ส่วนใหญ่จะเป็นไฟ Vac ก็หวังว่าคลิปวีดีโอตัวนี้น่าจะมีประโยชน์ได้บ้างสำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มสนใจและศึกษา ในเรื่องการซ่อมแอร์บ้านในอาการนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการแนะนำการตรวจเช็คและไล่ขาการใช้งานเบื้องต้นที่เกี่ยวกับ”แมคเนติกส์-คอนแทคเตอร์” ด้วยตัวเองได้พอควร และเชื่อว่า..ถ้าเราทำได้แล้วจะเกิดความภูมิใจและอยากต่อยอด - ทำให้ได้มากกว่านี้มากขึ้นไปอีก ถ้าไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยอย่างไร ปรึกษาปัญหาได้ที่เบอร์ 084-6663328 ยินดีตอบคำถามทุกๆท่านด้วยความเต็มใจ... ขอกราบขอบพระคุณท่านสมาชิก-และช่างมือใหม่ ที่กดติดตาม หรือผู้ที่สนใจในงานทางด้านนี้ทุกท่าน จงประสบความสำเร็จในสิ่งที่ท่านชอบและในสิ่งที่ท่านทำ ขอบพระคุณอีกครั้ง “ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน” “ขอให้ความสำเร็จจงตามไปด้วยกับท่าน” กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามและรับชมด้วยดีเสมอมา สวัสดี... นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์ 1/1/2564 21.30น.