У нас вы можете посмотреть бесплатно คนดังกับโรค : คุณใหม่ สุคนธวา กับ เซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูก รักษาอย่างไรต่อ ?? или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
@DoctorNearU คนดังกับโรค : คุณใหม่ สุคนธวา กับ เซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูก รักษาอย่างไรต่อ ?? การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาหรือ PAPSMEAR เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก และทำการสืบค้นหาให้ได้รอยโรคที่แท้จริงบนปากมดลูกที่เป็นต้นเหตุของความผิดปกติที่ตรวจพบ หากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วพบว่าผลผิดปกติ ''อย่าเพิ่งตกใจกับผลของการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่แจ้งว่าผิดปกติ และโปรดจำไว้ว่าผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งทุกราย'' สาเหตุของความผิดปกติของปากมดลูกจากผลการตรวจคัดกรอง อาจเกิดจาก ภาวะปากมดลูกอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือเชื้อพยาธิในช่องคลอด ภาวะการติดเชื้อไวรัสก่อมะเร็งปากมดลูก - HPV พบได้บ่อย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ แต่จะตรวจพบก็ต่อเมื่อมีการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น บางรายอาจจะทำให้เกิดรอยโรคเป็นหูดหงอนไก่หรือบางรายเชื้อไวรัสนี้อาจจะกระตุ้นเซลล์เยื่อบุปากมดลูกให้มีการแบ่งตัวผิดปกติ และกลายเป็นมะเร็งได้ในอนาคต เซลล์ปากมดลูกผิดปกติ เป็นรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก เซลล์ผิดปกติเหล่านี้ (HSIL, LSIL) ยังไม่ได้เป็นเซลล์มะเร็ง แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ทำการตรวจรักษา อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ในภายหลัง ภาวะช่องคลอดแห้งการขาดฮอร์โมนเพศ พบบ่อยในวัยหมดประจำเดือน ทำให้ผนังเยื่อบุปากมดลูกบางลง แห้งและอักเสบ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่ถูกต้องและแม่นยำ แพทย์จะมีวิธีการตรวจขั้นตอนต่อไป ด้วยการใช้กล้องส่องตรวจปากมดลูกโดยเฉพาะที่เรียกว่า COLPOSCOPY การตรวจด้วย COLPOSCOPY คือ การตรวจเนื้อเยื่อบุผิวของปากมดลูก ช่องคลอด ปากช่องคลอด และทวารหนัก ด้วยกล้องขยายส่องสว่างหลังจากทาหรือชโลมด้วยน้ำยาเฉพาะ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง หรือเพื่อตรวจยืนยันความปกติของเนื้อเยื่อบุผิว หัตถการที่อาจจะทำร่วมกับการตรวจ คือ การตัดเนื้อเยื่อเป้าหมายออกตรวจ จากบริเวณที่ตรวจพบว่ามีความผิดปกติรุนแรง ข้อบ่งชี้ของการตรวจด้วย COLPOSCOPY ได้แก่ ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วย Pap smear ผิดปกติ เป็นข้อบ่งชี้ให้ทำการตรวจมากที่สุด ปากมดลูกมีลักษณะผิดปกติเช่น มีแผล หรือก้อนเนื้อ จากการตรวจด้วยตาเปล่า เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือน ที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ หรือเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และตกขาวเนิ่นนานที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ อาจตรวจด้วย COLPOSCOPY เพื่อวินิจฉัยแยกโรคมะเร็ง รอยโรคน่าสงสัยบริเวณช่องคลอด และปากช่องคลอดจากการตรวจด้วยตาเปล่า กรณีอื่นๆ ที่อาจพิจารณาตรวจด้วย COLPOSCOPY เช่น การติดเชื้อ high-risk HPV แบบเนิ่นนาน (persistent HPV infection) เช่น ผลการตรวจ HPV DNA testing ให้ผลบวก 2 ครั้ง จากการตรวจห่างกัน 12 เดือน ผลการตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (visual inspection with acetic acid, VIA) พบฝ้าขาวหรือผิดปกติ การตรวจติดตามผลหลังการรักษารอยโรค CIN ด้วยการรักษาเฉพาะที่ เช่น การจี้ด้วยความเย็น และ การตัดด้วยห่วงไฟฟ้า ฯลฯ รอยโรค CIN 1 ที่คงอยู่นานกว่า 12 เดือน คู่นอนเป็นเนื้องอกหรือหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศส่วนล่าง ผล Pap smear พบว่ามีการอักเสบหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะในสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก ภายหลังการตรวจด้วย COLPOSCOPY สามารถทำงานได้ตามปกติ หากมีการใส่ผ้าซับเลือดไว้ในช่องคลอด แนะนำให้ดึงผ้าซับเลือดออกหลังการตรวจประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตเลือดออกทางช่องคลอด ภายหลังการตัดเนื้อออกตรวจอาจจะมีเลือดออกมาเล็กน้อยได้ประมาณ 1 – 3 วัน ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้กลับมาที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำการห้ามเลือด ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อป้องกันการตกเลือด และการติดเชื้อ ไม่ควรสวนล้างหรือใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดในช่องคลอดในช่วง 7 วันแรกหลังการตรวจ และนัดมาฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป