У нас вы можете посмотреть бесплатно AP LAW 62 "ความผิดฐานแจ้งความเท็จ คืออะไร" или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
AP LAW 62 "ความผิดฐานแจ้งความเท็จ คืออะไร" การแจ้งความเท็จ คือ การที่บุคคลใด ๆ แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โดยการแจ้งความเท็จจะมีบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 172 173 และมาตรา 174 . โดยองค์ประกอบของการแจ้งความเท็จนั้น ได้แก่ การกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่มีเป็นความจริง อาจมีการกระทำด้วยการบอกกับเจ้าพนักงาน, ตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น ให้การเท็จในฐานะเป็นพยาน, แจ้งโดยแสดงหลักฐาน มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 8611/2553 . โดยมาตรา 137 นั้น จะเป็นกรณีที่ผู้แจ้งข้อความ แจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ประชาชนเสียหาย โดยจะเป็นเรื่องทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา กรณีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา จะไม่ใช้มาตรานี้ แต่จะไปใช้มาตรา 172 ถึงมาตรา 174 แล้วแต่กรณี ตามฎีกาที่ 3014/2560 โดยกรณีตัวอย่างตามมาตรา 137 เช่น การแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 10570/2558, 9556/2558 หรือแจ้งต่อนายทะเบียนว่าไม่เคยสมรสมาก่อน ตามฎีกาที่ 2614/2518 เป็นต้น . โดยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามมาตรานี้ จะต้องแจ้งในลักษณะยืนยันข้อเท็จจริง มิใช่การคาดคะเน หรือแสดงความเห็น และต้องเป็นเรื่องราวในปัจจุบัน มิใช่เรื่องราวในอนาคต และการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาเท่านั้น หากแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ไม่มีอำนาจ ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ตามฎีกาที่ 2839/2541 และการแจ้งข้อความนั้นอาจจะทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหาย . โดยการให้การของผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนนั้น แม้ว่าการให้การของผู้ต้องหาจะเป็นเท็จ ก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เนื่องจากการให้การของผู้ต้องหาในคดีอาญานั้น เป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่ผู้ต้องหาจะให้การอย่างไรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4 โดยการให้การเท็จที่จะมีความผิดตามมาตรานี้ จะต้องให้การก่อนตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ตามฎีกาที่ 5346/2540 . โทษตามมาตรา 137 นั้น จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ . โทษตามมาตรา 172 นั้น คือการจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ . โทษตามมาตรา 173 นั้น คือการจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท . โทษตามมาตรา 174 วรรค 1 นั้น คือการจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท และโทษตามวรรค 2 นั้น คือการจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท . กล่าวโดยสรุป ความผิดฐานแจ้งความเท็จ คือ การที่บุคคลใด ๆ แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน โดยการแจ้งจะต้องรู้ถึงข้อความอันเป็นเท็จ ข้อความเท็จเป็นส่วนที่สำคัญที่จะชี้ขาดผลของคดี และแจ้งข้อความเท็จนั้นต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ เนื้อหาโดย กิตตินันท์ จารุกิจไพศาล Paralegal น.บ. (ธรรมศาสตร์)