У нас вы можете посмотреть бесплатно ลาวแพน : ครูสุวิทย์ บวรวัฒนา เดี่ยวขิม или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ลาวแพน : ครูสุวิทย์ บวรวัฒนา เดี่ยวขิม ขิม : ครูสุวิทย์ บวรวัฒนา โทน - รำมะนา : ครูจำลอง อิศรางกูร ณ อยุธยา ฉิ่ง : ครูยอแสง ณุตาณัติ อำนวยการผลิต : วราห์ วรเวช (นายแพทย์วราวุธ สุมาวงศ์) ประวัติครูสุวิทย์ บวรวัฒนา - ครูสุวิทย์เป็นบุตรของ ขุนบวรนายก ผู้เป็นต้นตระกูล “วัฒนา” และนางง้อ เกิดที่จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๓ มีน้องชาย ๑ คน ชื่อ อุดม มีน้องสาว ๑ คน ชื่อ อมรา เป็นนักร้องเพลงไทย เริ่มการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดโสมนัส จบชั้นประถมแล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบและโรงเรียนอัสสัมชัญตามลำดับ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ วิทยาลัยพาณิชยการ เมืองมาเชลส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อศึกษาจบกลับมาแล้ว ได้เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ประจำกองการค้า จนได้ตำแหน่งอธิบดี กรมยุโรปและอเมริกา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสเปนและสหภาพพม่า ไนจีเรีย ไลบีเรีย และไอเวอรี่โรสต์ จนครบเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ การศึกษาและฝึกหัดในด้านดนตรีไทย เริ่มตั้งแต่อายุ ๖-๗ ปี โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก คุณปู่หล่า ซึ่งเป็นน้องชายของคุณย่า และเป็นนักดนตรีไทย สีซอด้วงและเล่นออร์แกนไพเราะจับใจมาก มักจะตั้งวงบรรเลงกันที่บ้านเสมอ ครูสุวิทย์ จึงได้ร่วมวงด้วย โดยเป็นคนตีฉิ่ง ต่อมา คุณลิ้นจี่ ชยากร ผู้เป็นป้า เห็นว่า ครูสุวิทย์ มีความสนใจในดนตรีไทยอย่างจริงจัง จึงได้เชิญครูผิว ซึ่งเป็นครูสอนดนตรีไทยอยู่ที่สามัคยาจารย์สมาคมขณะนั้นมาสอนซอด้วงให้ที่บ้าน เป็นการเริ่มเรียนดนตรีไทยอย่างจริงจังของครูสุวิทย์ เพลงแรกที่หัดคือ เพลงจระเข้หางยาว ต่อมาเป็นเพลงแป๊ะ สามชั้น นางครวญ สามชั้น โหมโรงไอยเรศ สามชั้น พม่าห้าท่อน สามชั้น และพม่าเห่ สองชั้น ตามลำดับ จนมีความสามารถร่วมวงบรรเลงกับครูผิวในงานต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ครูสุวิทย์หัดตีขิมจากครูจีนชื่อ นายเปงกี่ ซึ่งเป็นลูกจ้างของบิดา เมื่อตีเป็นเพลงได้ จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูพร้อม (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นหลานพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้มีโอกาสรู้จักกับครูพุฒ นันทพล ศิษย์รุ่นพี่ซึ่งต่อมาเป็นผู้ถ่ายทอดเพลงเดี่ยวขิมให้ นอกจากจะเรียนซอด้วง ขิม และออร์แกนแล้ว ครูสุวิทย์ ยังได้มีโอกาสฝึกหัดซออู้ จากหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) และเรียนซอสามสายจาก ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล อีกด้วย ถึงสมัยภาพยนตร์เงียบ ซึ่งโรงภาพยนตร์แต่ละโรงจะต้องมีวงดนตรีบรรเลงประกอบ ครูพร้อมเห็นว่าออร์แกนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตะวันตกสามารถนำมาบรรเลงเข้ากันได้กับเสียงเครื่องดนตรีไทย จึงได้นำเข้ามาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม รับงานบรรเลงอยู่ตามโรงภาพยนตร์ ใช้ชื่อวงว่าวงนายโนรี มีครูพร้อม ดีดออร์แกน ครูพุฒ นันทพล ตีขิม ครูเจือ เสนีย์วงศ์ สีซออู้ ครูบุญส่ง สีซอไวโอลิน ครูย้อย เกิดมงคล เป่าขลุ่ย เป็นต้น เป็นวงที่ได้รับความนิยมมาก ขณะนั้นครูสุวิทย์ยังเด็กจนต่อมาเมื่อจบการศึกษาจากประเทศฝรั่งเศษแล้วจึงได้ฝึกหัดดีดออร์แกนจากครูเจือ เสนีย์วงศ์ หัวหน้าวงดนตรีคณะเตชนะเสนีย์ จนมีความชำนาญยิ่ง เมื่อครูเจือ ถึงแก่กรรมลง ครูสุวิทย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมวงเตชนะเสนีย์สืบต่อมา วงดนตรีวงนี้เป็นวงดนตรีไทยวงแรกที่ได้บรรเลงในรายการวิทยุของบริษัทไทยโทรทัศน์ ช่อง ๔ ตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการและสถานีวิทยุ อ.ส. ในระยะแรก ๆ จนถึงช่วงเวลาที่ครูสุวิทย์ต้องไปรับราชการอยู่ต่างประเทศผู้ควบคุมวงดนตรีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากคณะเตชนะเสนีย์เป็น คณะวัชรบรรเลง และใช้ชื่อนี้มาจนทุกวันนี้ ผลงานทางด้านการประพันธ์เพลงไทย มีอยู่หลายเพลง คือ เพลงยโสธรเถา, องเชียงสือเถา, สาวสวยรวยเถา, พญาสี่เสาเถา, สาวสุดสวยเถา, มะลิซ้อนเถา, จินตะหราวาตีเถา, น้ำลอดใต้ทรายเถา และแขกพราหมณ์ทางเปลี่ยน ครูสุวิทย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๒ สิริรวมอายุได้ ๘๙ ปี ๒ เดือน ๒๔ วัน. (ที่มาประวัติ : นามานุกรมศิลปินเพลงไทย ในรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพูนพิศ อมาตยกุล, ที่มาประวัติเพลง : ชยานนท์ ศรีอนันต์, ที่มาภาพครูสุวิทย์ บวรวัฒนา : อ.ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล) เทปคาสเซ็ท เดี่ยวขิม ชุด ลาวแพน บริษัท โรต้าแผ่นเสียง - เทป จำกัด (จัดจำหน่าย) RT.๘๒๕๙ , LOTUS VT.๐๕ สำเนาเสียงจากเทปคาสเซ็ท : ฉัตรกร เกตุมี เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์เพลงไทยในการศึกษา มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : / @deklenkhimchannel7019