У нас вы можете посмотреть бесплатно นักศึกษา มทร.ธัญบุรี ส่งต่ออาชีพประดิษฐ์ดอกมะลิจากกระดาษทิชชู่ให้กับผู้ต้องขังเรือนจำธัญบุรี или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิจิตร สนหอม หัวหน้าสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯนวัตกรรมศิลปประดิษฐ์สร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เปิดเผยว่า โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมศิลปประดิษฐ์สร้างสรรค์สู่ชุมชน การประดิษฐ์ดอกมะลิจากกระดาษทิชชู่ เป็นการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่กำหนด ในรายวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง และรายวิชาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมชุมชนเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กิจกรรมในราชวิชาเป็นการบูรณาการและเผยแพร่ความรู้ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติ อีกทั้งยังเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดเพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีงานประดิษฐ์สู่ชุมชน ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะและกระบวนการในรูปแบบโครงการ (Project-Based Learning หรือ PBL) บูรณาการความรู้ด้านต่างๆ ของวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ให้เกิดประโยชน์และเกิดคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการอาชีพแก่สังคม การจัดโครงการในครั้งนี้ มีนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมศิลปประดิษฐ์สร้างสรรค์ ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 1 (หลักสูตรเทียบโอน) เป็นหลักในการดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ในศาสตร์งานศิลปประดิษฐ์ ให้กับผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุรี ด้าน นายพิทักษ์พงศ์ น้อยพิทักษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอธัญบุรี กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดียิ่งสำหรับผู้ต้องขังทุกท่านที่มีโอกาสในการเข้าอบรมในครั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวไม่เพียงแค่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับสมาชิกในเรือนจำ แต่ยังช่วยให้สมาชิกในเรือนจำสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเรียนรู้และการนำทักษะต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาตนเองให้เกิดทักษะและสร้างรายได้จากการประดิษฐ์ดอกมะลิจากกระดาษทิชชู่ ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีความงามและมีคุณค่าทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและลดการพึ่งพาอาศัยจากภายนอกซึ่งจะส่งผลให้มีความเข็มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน ผู้เข้ารับการอบรม รับความรู้และนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม