У нас вы можете посмотреть бесплатно Doctor talk - วัณโรคปอด โรคติดต่ออันตราย แต่รักษาได้ l โรงพยาบาลนครธน или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
🔸 วัณโรคปอด กับการระบาดในประเทศไทย 🔸 วัณโรคปอด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อในกลุ่มไมโครแบคทีเรียม ซึ่งจะเป็นกลุ่มไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส คอมเพล็กซ์สามารถเกิดขึ้นได้หลายอวัยวะในร่างกาย แต่มักเกิดที่ปอดมากที่สุดถึง 80% จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าประเทศไทยติด 1 ใน 30 ประเทศ ที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคมาก จึงไม่แปลกใจว่าประเทศไทยพบผู้ป่วยวัณโรคมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นความเสี่ยงของคนไทยทั่วไป ที่เรามีโอกาสที่จะรับเชื้อวัณโรคเข้าไป ----------------------------------------------------------- 🔸 การแพร่เชื้อ ของวัณโรคปอด 🔸 ก็ติดต่อทางละอองฝอย ทางอากาศ ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคมีการไอ จาม หรือการตะโกน ร้องเพลง ก็จะสามารถทำให้เกิดละอองฝอยในอากาศ ซึ่งละอองฝอยในอากาศสามารถกระจายลอยอยู่ได้นานถึง 30 นาที ถ้ามีคนอื่นมาสูดอากาศนั้น ก็สามารถที่จะรับเชื้อเข้าไปได้ ----------------------------------------------------------- 🔸 อาการสำคัญของผู้ป่วยวัณโรคปอด 🔸 อาการหลักๆ จะเป็นอาการไอ ไอนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือบางท่านก็ไอมีเสมหะปนเลือด อาจจะมีภาวะน้ำหนักลด เบื่ออาหาร กินได้น้อย บางคนอาจจะมีไข้ ไข้ต่ำๆ ช่วงบ่ายๆ หรือช่วงกลางคืน หรือมีเหงื่อออกตอนกลางคืน หลายคนก็ไม่ได้มีอาการ แต่ผลการ X-ray ทรวงอก พบวัณโรคปอดก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ----------------------------------------------------------- 🔸 หลักการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอด 🔸 รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด เพราะถ้าหากมีปัญหาผลข้างเคียงของยา ควรรีบกลับมาปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะปรับสูตรยา ถ้าหากหยุดยาไปเอง อาจเกิดปัญหาเรื่องการดื้อยา แล้วทำให้การรักษายากมากขึ้น ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะเพิ่มโอกาสการเกิดตับอักเสบได้ รวมถึงงดการสูบบุหรี่ ----------------------------------------------------------- 🔸 การดูแลคนในครอบครัวของผู้ป่วยวัณโรคปอด 🔸 ควรพาคนในครอบครัวที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค มาตรวจคัดกรอง X-ray ทรวงอก เพื่อตรวจหาร่องรอยที่สงสัยของวัณโรค หากเป็นเด็ก ยิ่งควรต้องพามาตรวจ เพราะต้องประเมินว่า เด็กเหล่านั้นมีการรับเชื้อวัณโรคเข้าไปหรือไม่ เพราะเด็กบางส่วนอาจจะต้องได้รับยาป้องกัน 🔸 ส่วนในเรื่องการป้องกันการแพร่เชื้อให้กับบุคคลในบ้าน ช่วง 2 สัปดาห์แรกของการรับประทานยา มีโอกาสแพร่เชื้อทางอากาศให้คนในครอบครัวสูง ควรแยกตัวออกจากกัน เช่น การแยกห้องนอน และในห้องก็ควรจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี หรือมีแสงแดดส่องถึง เพราะแสงแดดที่ส่องมา สามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ รวมไปถึงการแยกการรับประทานอาหาร เพราะการรับประทานอาหาร ที่มีการพูดคุยกัน ก็มีโอกาสการแพร่กระจายของละอองฝอยได้ 🔸 ถ้าหากมีอาการไอ หรือจาม แนะนำให้กระดาษทิชชู่ปิดปาก ปิดจมูก แล้วนำไปทิ้งในถังขยะที่ปิดมิดชิด รวมไปถึงการล้างมือบ่อยๆ ----------------------------------------------------------- 🔸 คำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทาง 🔸 วัณโรค เป็นโรคที่รักษาหายได้ ถ้ามีอาการสงสัย เช่น ไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือไอมีเสมหะปนเลือด มีไข้ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ควรพิจารณาเข้ามาตรวจ X-ray ทรวงอก เพื่อคัดกรองวัณโรค สามารถวินิจฉัยได้เร็ว และรักษาได้เร็ว เพื่อผลลัพธ์ที่ดี รวมถึงจะไม่เกิดแผลที่ปอด และที่สำคัญ คือการลดการแพร่เชื้อให้กับบุคคลใกล้ชิด ----------------------------------------------------------- 👨⚕ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลนครธน พญ.สุธาสินี กลั่นแก้ว (https://bit.ly/3V8hnOF) ----------------------------------------------------------- 📞 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 1 โทร. 0-2450-9999 ต่อ 1088-1089 (https://bit.ly/3BOh0lA) 📢 หากไม่อยากพลาดข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อย่าลืมกด ติดตาม' และ 'กดกระดิ่ง' 🔔 ด้วยนะคะ ^^ 📢 หรือติดตามสาระความรู้เรื่องสุขภาพจากโรงพยาบาลนครธน ในช่องทางอื่น ๆ ได้ที่ 👉 Facebook : / nakornthon 👉 Line@ : https://goo.gl/rbuBMq 👉 Website : https://nakornthon.com/ 👉 IG : / nakornthon #NakornthonHospita #ไอเรื้อรัง #วัณโรคปอด