У нас вы можете посмотреть бесплатно เทคนิค วัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา ให้อ่านคำอธิบายใต้คลิบประกอบ วิธีจำวงจรข้างใน ไดโอดบริด или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ไดโอดบริด 4 ขาใช้มิเตอร์เข็มวัด และ ตัวถัง 6 แบบของ โอดบริดจ์ ที่นิยมใช้อ่านด้านล่าง การใช้มัลติมิเตอร์ วัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา ใช้ย่านวัด R x 1 1) เอาสายสีแดงของมิเตอร์แบบเข็มยึดไว้ที่ขา + ของไดโอดบริดจ์ แล้วเอาสายวัดสีดำไปวัดที่ขา AC ที่ 1 และ ขา AC ที่ 2 เข็มจะขึ้นเหมือนวัดไดโอด ถ้าวัดไม่ขึ้นคือไดโอดเสียขาด ถ้าเข็มขึ้นสุดสเกลคือเสียช๊อต 2) เอาสายสีดำของมิเตอร์แบบเข็มยึดไว้ที่ขา - ของไดโอดบริดจ์ แล้วเอาสายวัดสีแดงไปวัดที่ขา AC ที่ 1 และ ขา AC ที่ 2 เข็มจะขึ้นเหมือนวัดไดโอด ถ้าวัดไม่ขึ้นคือไดโอดเสียขาด ถ้าเข็มขึ้นสุดสเกลคือเสียช๊อต หลักการวัดของทั้ง 2 ข้อนี้ก็คือเป็นการวัดไดโอดธรรมดานั้นเองแต่เป็นการวัด 4 ครั้ง วัดไดโอด 4 ตัว ให้ดูวงจรข้างในของไดโอดบริดจ์ประกอบ ตามวงจรในคลิบ และให้สังเกตดังนี้ ขา + ของไดโอดบริดจ์ คือตรงที่หัวลูกศรบรรจบกัน ขา - ของไดโอดบริดจ์ คือตรงที่หางลูกศรบรรจบกัน ส่วนขา AC จะอยู่ด้านบนและด้านล่าง ให้จำวงจรรูปนี้ไว้รูปเดียวก็พอ มันจำง่าย ลองใช้มือเขียนวงจรนี้สัก 1 ครั้งก็จะจำให้ได้ตลอดไปและเป็นประโยชน์งานต่อไป เพราะไดโอดบริดนี้จะต้องพบมันบ่อยมากในวงจรของภาคจ่ายไฟ ข้างหน้าขา + ข้างหลังขา - ส่วนบนและล่างเป็นขา AC ตัวถัง 6 แบบของ โอดบริดจ์ ที่นิยมใช้ 1) ตัวถัง แบบ KBPC เคสเป็นโลหะสี่เหลี่ยม ขาเสียบต้องใช้หางปลาเสียบต่อสายไฟ แบบนี้ทนแอมป์สูง เช่น 10A 25A มีรูปในคลิบ เช่น รุ่น KBPC2510 25A 1000V KBPC5010 50A 1000V ( เรียกสั้น ๆ ว่าแบบขาเสียบหางปลา ) 2) ตัวถังแบบ 4-SIP เคสเป็นพลาสติกสีดำ มี 4 ขายาวใช้บัดกรีและขาเรียงเป็นแถวช่วยประหยัดพื้นที่ของ PCB เช่น รุ่น KBU610 6A 1000V GBJ5010 50A 1000V ( เรียกสั้น ๆ ว่าแบบขา SIP ) 3) ตัวถังแบบเคสกลม 4-Circular หรือ WOM มีเคสกลม และ เป็นพลาสติกสีดำ มีขนาดเล็กเพื่อประหยัดพื้นที่ PCB และเล็กกว่าตัวถัง 4-SIP ตัวถังแบบเคสกลม เช่น รุ่น W01M 1.5A 100V W02M 1.5A 200V W04M 1.5A 400V W08M 1.5A 800V W10M 1.5A 1000V 4) ตัวถังแบบ 4-DIP หรือ DFM เคสเหมือน IC สีดำ มี 4 ขายาวใช้บัดกรีลงปริ้น มีขนาดเล็กใช้กับวงจรที่เน้นขนาดมินิ เช่น รุ่น DB104 1A 400V DB207 2A 1000V ( เรียกสั้น ๆ ว่าแบบขา DIP มีตัวถังเหมือน IC ) 5) ตัวถังแบบ 4-SMD เคสเหมือน IC สีดำ มี 4 ขาแบบ SMD ใช้บัดกรี มีขนาดเล็กใช้กับวงจรที่เน้นขนาดมินิ เช่น รุ่น DB207S DB207 2A 1000V แบบ SMD DB107S 1A 400V แบบ SMD 6) ตัวถังแบบ Module เคสเป็นสี่เหลี่ยมและมีขนาดใหญ่ มีสีดำ สีขาว สีครีม เป็นอุปกรณ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้น๊อตในการต่อสาย ทนแอมป์ได้สูงมาก เช่น 100A 200A 250A 300A เป็นต้น เช่น รุ่น MDQ100A 100A 1600V MQC250-16 250A 1600V เรียกสั้น ๆ ว่าไดโอดมอดูล โดยแต่ละรุ่นอาจมีไดโอดข้างใน 2 ตัวบ้าง 4 ตัวบ้าง ขึ้นอยู่กับรุ่นให้เช็คตามรุ่นเพราะแต่ละรุ่นอาจมีวงจรข้างในการต่อต่างกัน #ไดโอดบริดจ์ #ไดโอด #ไดโอดบริด