У нас вы можете посмотреть бесплатно สาธุการ ทางหลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตนวิลัย) или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
หากคุณมีความตั้งใจจะศึกษาดนตรีไทยโดยเฉพาะสาขาปี่พาทย์ คุณจะต้องเรียนเพลงสาธุการให้สำเร็จเป็นใบเบิกทางด่านแรก ซึ่งก่อนที่คุณจะเรียนเพลงนี้ได้จะมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องตามความเชื่อของนักดนตรีไทยคือ"พิธีครอบ" ซึ่งมักจะทำกันในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยต่อหน้าสาธารณชน เป็นการประกาศโดยนัยว่าคุณกำลังจะเข้าสู่ความเป็นนักดนตรีไทยอย่างเต็มตัว ซึ่งพิธีครอบนี้มีหลายขั้นแต่สำหรับขั้นแรกนี้คือพิธีครอบเพื่อเรียนเพลงสาธุการ ความสำคัญของเพลงสาธุการจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรได้เล่าถึงประวัติของเพลงสาธุการไว้ว่า "ครั้งพุทธกาล เมื่อพระโพธิสัตว์ได้สำเร็จอรหันตนิพพาน ยังผลให้โลกทั้งสามเกิดสันติสุข มาวันหนึ่งองค์อินทร์ มีความประสงค์จะประชุมเทวสภาแต่หามีบรรดาเทพทั้งหลายมาประชุมไม่ เมื่อสอบถามเทพที่มาประชุมดูก็ได้ความว่าทวยเทพทั้งหลายไปฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุให้พระอินทร์มีความโกรธ พร้อมทั้งมีความริษยาอยู่ในใจใคร่จะลองดีกับพระพุทธเจ้าว่ามีดีเพียงใด จึงได้เกิดการประลองอิทธิฤทธิ์กันขึ้น โดยใช้วิธีลี้กาย ไปซ่อนในที่เร้นลับต่างๆ ฝ่ายหนึ่งหาฝ่ายหนึ่งไม่พบถือเป็นแพ้ ผลสุดท้ายพระอินทร์ก็แพ้ และในการประลองครั้งนี้ทางพุทธศาสน์ได้เกิดประปฏิมากรขึ้นปางหนึ่งเรียกว่า ปางซ่อนหา เมื่อพระพุทธเจ้าได้ชัยชนะแล้วพระอินทร์ก็ได้อาราธนาอัญเชิญพระพุทธเจ้าให้ปรากฏพระวรกาย แต่พระพุทธเจ้าเห็นว่าพระอินทร์นี้ยังมีมิจฉาทิฏฐิอยู่จึงวางเฉยเสีย พระอินทร์จึงต้อง รับสั่งให้ปวงดุริยะเทพ ประโคมแซ่ซร้องสาธุการ เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศพระพุทธเจ้าจึงปรากฏพระวรกายให้เห็น ณ กาลครั้งนี้จึงเป็นที่ยอมรับนับถือว่า พระองค์ทรงเป็นบรมศาสดาเป็นพระบรมครูของหมู่เทพยดานางฟ้าชาวสวรรค์ และมนุษยชาติทั้งปวง" สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติบทร้องและเพลงตับ ประวัติเพลงหน้าพาทย์และเพลงโหมโรง ได้กล่าวถึงเพลงสาธุการไว้ว่า "เพลงหน้าพาทย์สำคัญอยู่ในชุดโหมโรงเย็น ถือกันว่าเป็นเพลงครู ใช้ในการจับมือสำหรับผู้เริ่มเรียนปี่พาทย์เป็นเพลงแรก ใช้บรรเลงในความหมายที่เป็นมงคลตอนจุดเทียน เพื่อเริ่มพิธีการและพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นพิธีไหว้ครู พิธีสงฆ์ ในการแสดงโขนละคร ใช้บรรเลงตอนที่มีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ตอนไหว้พระ บวงสรวงเทพเจ้า ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์ทศพร" โครงสร้างของเพลงสาธุการนี้สามารถแบ่งออกได้ในหลายมิติ ทั้งการแบ่งตามวรรคของเพลง หรือแบ่งตามท่าหรือหน้าทับของตะโพน ซึ่งล้วนแต่แฝงสัญญะทางตัวเลขต่าง ๆ ที่น่าสนใจหลายประการ ในคลิปนี้ผู้บรรเลงได้บรรเลงเพลงสาธุการทางครูหลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตนวิลัย) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากครูลำยอง โสวัตร เมื่อครั้งเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป ราวพ.ศ.2541 ซึ่งเพลงสาธุการทางดังกล่าวถือว่าเป็นทางกลางที่สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการรวมถึงสำนักดนตรีต่าง ๆ บรรเลงกันแพร่หลายในปัจจุบัน ** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ ** ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ ฉิ่งและตะโพน : โน้ตจากหนังสือ "แม่ไม้เพลงกลอง" เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20 Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S.