У нас вы можете посмотреть бесплатно มอญ [ตอนที่2] อพยพจากแม่น้ำสาละวิน หนีสงคราม มุ่งสู่สยาม อาชีพเครื่องปั้นดินเผาอิฐมอญขนมจีนขึ้นชื่อ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
#อาณาจักรมอญโบราณ ในประเทศพม่า อาชีพเครื่องปั้นดินเผาอิฐมอญขนมจีนขึ้นชื่อ ปัจจุบัน ประเทศพม่าให้ความสำคัญกับการขุดค้นทางโบราณคดีมากขึ้น ทำให้เกิดการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่มีนัยยะสำคัญต่อการศึกษาเกี่ยวกับอาณาจักร #มอญ โบราณในประเทศพม่ามากยิ่งขึ้น ดังปรากฏรายชื่อแหล่งโบราณคดีในพิพิธภัณฑ์มอญเมืองเมาะลำเลิง (มะละแหม่ง) #รัฐมอญ ประเทศ #พม่า หลายแห่ง เช่น แหล่งโบราณคดีในแขวงเมืองจย้าจก์แหมะโร่ะฮ์ (Kyail Mayaw) ย่านหมู่บ้านเกาะซั่วเกาะซ่าก ประกอบด้วยถ้ำธ่มแหมะสะ (Dhamathat Cave) ถ้ำเต่อคะราม (Khayone Cave) และถ้ำจะปาย (Sabae Cave) แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณเมาะตะมะ (Motama Ancient City) #พระธาตุอินทร์แขวน (Kyaik htiyoe Pagoda) เมืองโบราณเว่คะราว (Wagaru Ancient City) แหล่งโบราณคดีในแถบเมียนมาใต้ (Lower Myanmar) เมืองพะสิม หรือเมืองสิเรียม (Bassein) และแหล่งโบราณคดีสำคัญเมืองย่านเก่าสุวรรณภูมิ คือ แหล่งโบราณคดีหมู่บ้านวังกะ (Win Ka Ancient City) และเมืองโบราณสุวรรณภูมิ (Suvanabumi ancient City) แหล่งโบราณคดีกำแพงเมืองเก่าสะเทิม หรือสุธรรมวดี (Kadike Gyi Fortress Thaton) นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีในรัฐกะเหรี่ยง ประกอบด้วย ถ้ำโบราณ 2 แห่ง คือ ถ้ำเกาะกุ้น (Kaw – Goon Cave) และถ้ำยะตะบัน (Ya The Byan Cave) ซึ่งอยู่ใกล้กัน เป็นเขตอารยธรรมโบราณทวา\รวะดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 เช่นเดียวกับที่สเตทเนอร์ (Donald M.Stadtner) ยืนยันว่า หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่พบทางตอนใต้ของประเทศพม่า ได้แก่ ชิ้นส่วนอิฐสร้างวัด ซากสถูป ภาชนะดินเผา จารึกคำอุทิศถวาย เหรียญเงิน รูปสลักในทางพุทธศาสนาและฮินดู รูปสำริด และจารึกภาษามอญ ล้วนแสดงให้เห็นถึงอารยธรรมมอญที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ช่วงพันปีแรก อย่างไรก็ตาม ไมเคิล ออง ทวิน (Michael A.Aung Thwin) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่า ได้แสดงข้อโต้แย้งในงานศึกษาเรื่อง “The Mists of Ramanna : The Legend that was Lower Burma ” ที่ระบุว่า อารยธรรมทางตอนใต้ของพม่าเป็นของชาวพยู (Pyu) และเป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจากพม่าตอนบน สู่พม่าตอนล่างแบบทางเดียว (Single Dominant) ในขณะที่งานศึกษาของเอลิซาเบธ มอร์ (Elizabeth H.Moore) เลือกที่จะศึกษาเทียงเคียงรูปแบบทางศิลปะ “ มอญและพยู ” (Mon and Pyu) ที่เป็นต้นแบบของอารยธรรมพม่าแม้จะตัดมิติความเกี่ยวข้องทางภาษาและวัฒนธรรมออกไปแต่มอร์ก็เชื่อว่าการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมมีความซับซ้อนและเกิดจากหลายกลุ่มวัฒนธรรม ทว่า Stadtner จนสามารถยืนยันได้ว่าความมั่งคั่งของอารยธรรมพม่าไม่เพียงเต่เกิดจากการแผ่ขยายของอารยธรรมทางตอนใต้ของพม่าในยุคต้นเท่านั้น แต่ยังเป็นคุณลักษณะที่รับอิทธิพลมาจขากวัฒนธรรมมอญ นอกจากนี้ประวัติการก่อตั้งอาณาจักรมอญโบราณยังได้ถูกกล่าวถึงในพงศาวดารชนชาติมอญ(ฉบับอักษรมอญ) แปลโดยพระครูโชติธรรมสุนทร ที่ระบุว่า รัชสมัยของพระเจ้าติสสะได้ทรงก่อตั้งอาณาจักรมอญขึ้นที่แคว้นมณีปุระในชมพูทวีป มีเมืองหลวงชื่อ “ทูปินะต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันขึ้น พระราชโอกาสของพระเจ้าติสสะทั้ง 2 พระองค์ จึงได้รวบรวมไพร่พลลงเรือสำเภามายังสุวรรณภูมิ) พบทำเลบริเวณอ่าวเมาะตะมะเป็นที่ราบ ล้อมรอบด้วยภูเขาเกลาสะ ชัยภูมิเหมาะสมแก่การสร้างเมืองและเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องกันข้าศึกได้ดีพระเจ้าสีหะราชา บุตรบุญธรรมของพระราชโอรสในพระเจ้าติสสะ จึงได้ก่อตั้งกรุงสุธรรม&l บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายมอญในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อพยพมาจากเขตลุ่มแม่น้ำอิระวดีตอนล่างของประเทศพม่าเข้ามาในประเทศไทย เนื่องด้วยสาเหตุจากการหนีภัยสงคราม จึงได้มีการอพยพมาจากหลายหมู่บ้าน ทยอยเข้ามาหลายยุคสมัย และใช้เส้นทางข้ามพรมแดนที่แตกต่างกันตามที่ปรากฏให้เห็นถึงความแตกต่างหลากหลายของคนมอญชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทยนับตั้งแต่ที่กษัตริย์บุเรงนองของพม่ายึดครองอาณาจักรมอญในปี พ.ศ. 1600 ชาวมอญได้อพยพหนีภัยสงครามมาเป็นระลอกยุคที่ปรากฎหลักฐานชัดเจนถึงการอพยพของชาวมอญ คือ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระเจ้าประสาททอง และพระนารยณ์มหาราชโดยข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์วัดม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้แสดงให้เห็นว่า ชาวมอญในช่วงสมัยนั้น ส่วนใหญ่ใช้เส้นทางเมาะตะมะ หงสาวดี ผ่านด่านเจดีย์สามองค์ จ. กาญจนบุรี เพื่อเข้ามาอาศัยที่ชานเมืองกรุงศรีอยุธยาพลวัตการเคลื่อนย้ายของชาวมอญมายังประเทศไทยดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อสี่ร้อยกว่าปีก่อนจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ชาวมอญส่วนใหญ่ใช้เส้นทางมะละแหม่งเข้าสู่ด่านเจดีย์สามองค์ - จ.กาญจนบุรี หรือชายแดนตาก - แม่สอด และเคลื่อนย้ายต่อไปยังบริเวณพื้นที่หลักของชุมชนชาวมอญในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดราชบุรี นครปฐม อยุธยา อุทัยธานี ตาก เชียงใหม่ ลำพูนต่อมาจึงได้กระจายตัวไปตามจังหวัดต่าง ๆ ตามภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ บรรพบุรุษของชาวมอญที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อสี่ร้อยกว่าปีก่อนมักจะได้รับการโปรดเกล้า ฯ จากพระมหากษัตริย์ไทยให้ตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคกลางของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ชาวมอญจะถูกจัดให้อาศัยอยู่ตามลำน้ำหรือริมแม่น้ำทางตอนเหนือของกรุงเทพ ฯนอกจากการตั้งถิ่นฐานตามบริเวณที่ทางราชการจัดหาไว้ให้แล้วชาวมอญส่วนใหญ่ยังเลือกตั้งหลักแหล่งตามบริเวณที่มีญาติพี่น้องหรือมีผู้คนจากหมู่บ้านเดิมในรัฐมอญอาศัยอยู่โดยงานศึกษาของสุจริตลักษณ์ ดีผดุง #เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติมอญบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ