У нас вы можете посмотреть бесплатно รอบรู้เรื่องแมลงศัตรูพืช или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
website 🌎 http://www.arda.or.th Facebook 🔵 / ardathai Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r ARDA 🅱 / kasetkaoklaiarda2017 แมลงหล่า Scotinophara Coarctata (Fabricious) เป็นแมลงปากแบบเจาะดูด จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าว บริเวณโคนต้นข้าว สร้างความเสียหายให้แก่ต้นข้าว แมลงหล่า สามารถเข้าทำลายข้าวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต กรณีที่มีการระบาดอย่างรุนแรง ต้นข้าวจะเหี่ยวแห้งตาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวอย่างมาก การป้องกันกำจัดชนิดนี้ทำได้ยาก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลสำคัญทางชีววิทยา โดยจำแนกระยะต่างๆตั้งแต่ ระยะไข่จนกระทั่งพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย เพื่อใช้ศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการระบาดของแมลงหล่า --------------------------------------------------------- ด้วงแรด เป็นแมลงที่พบได้ทั่วไปในแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน โดยด้วงแรดที่โตเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช ทำลายและเจาะกินยอดอ่อนของปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ของปาล์มน้ำมันไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วคล้ายหางปลาหรือรูปพัด การกำจัดด้วงแรกคือการใช้ราเขียวซึ่งก็คือเชื้อ เมธาไรเซียม แอนนิโซพลายเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง การนำราเขียวไปใช้ในสวนปาล์มน้ำมันสามารถทำได้ตามขั้นตอน ดังนี้ 1. เตรียมกองล่อขนาดกว้าง 2 เมตรxยาว 2 เมตรx ลึก 0.5 เมตร วัสดุที่ใช้ คือ ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ขี้วัว แกลบและเศษหญ้า ในอัตราส่วนเท่าๆกัน ผสมคลุกรวมกัน เพื่อรอให้ตัวเต็มวัยมาผสมพันธุ์และวางไข่ การทำกองล่อควรมี 4 กองล่อต่อพื้นที่ปลูก 10 ไร่ 2. รดน้ำต้องกองล่อรอให้ชุ่มแต่ไม่แฉะเกินไป ทิ้งไว้จนวัสดุในกองสลายตัวและอุณหภูมิภายในกองเย็นลง จึงนำราเขียวไปโรยในกองล่ออัตรา 200 ถึง 400 กรัมต่อกอง 3. เมื่อด้วงแรดมาวางขายในกองล่อ ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะติดราเขียว ในระยะนี้จะต้องควบคุมกองล่อให้มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ราเขียวสามารถงอกและเจริญเติบโตได้ --------------------------------------------------------- หนอนหน้าแมว หนอนหน้าแมวที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรสวนปาล์มเป็นอย่างมาก ระยะของหนอนหน้าแมว เริ่มแรกจะมีขนาดลำตัวกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม-ดำ มีขนข้างลำตัว จุดที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุด คือ สามเหลี่ยมสีเขียวตองอ่อนตรงกึ่งกลางลำตัว หนอนหน้าแมวจะเข้ากัดทำลายใบย่อยของปาล์มน้ำมัน จนกระทั่งขั้นรุนแรงจะกัดกินเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นไม่เจริญเติบโต เรามักพบหนอนหน้าแมวในช่วงอากาศเย็นและฝนแล้ง โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม สำหรับการป้องกันกำจัดหนอนหน้าแมวที่ได้ผลดีและปลอดภัยต่อเกษตรกร คือ การใช้ยาเชื้อหรือเชื้อบีที เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงจิเอนซิส โดยขั้นตอนการฉีดพ่นเชื้อบีที ขั้นแรกเกษตรกรหมั่นเดินสำรวจพื้นที่ ถ้าพบหนอนหน้าแมวให้เริ่มฉีดพ่นเชื้อบีทีได้เลย ผสมเชื้อบีทีในปริมาณ 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรและนำไปฉีดพ่นบริเวณใบหรือส่วนต่างๆของต้นปาล์มน้ำมันที่พบหนอนหน้าแมว เชื้อที่ผสมน้ำในปริมาณที่ 10 ลิตรสามารถใช้กับพื้นที่ 1 ไร่หรือประมาณ 22 ต้น ควรปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสารให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยให้ละอองยาเกาะผิวใบและช่วยควบคุมหนอนได้ดียิ่งขึ้น หลังจากฉีดพ่นเชื้อบีทีไปแล้วหนอนหน้าแมวจะยังไม่ตาย แต่เชื้อบีทีจะเคลือบอยู่บนผิวหนังของตัวหนอนจะทำให้หน่อยค่อยๆ เป็นอัมพาตหรือเคลื่อนไหวช้าลงและจะตายภายใน 3 วัน วิธีนี้ใช้กำจัดหนอนหน้าแมวได้ผลดี 97.5 ถึง 100%