У нас вы можете посмотреть бесплатно บทสวดพระอภิธรรม 7 คำภีร์ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ทำไมจึงใช้สวดศพคนตาย ประการแรก พระอภิธรรมนั้น เป็นธรรมล้วนๆ ไม่กล่าวถึงบุคคล มีเนื้อหาสาระที่ลึกซึ้ง แม้จะฟังคำแปลแล้วก็ยังเข้าใจได้ยาก การที่นำเอาพระอภิธรรมมาสวดในงานศพ ก็เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจความจริงของสังขารที่เกิดมาแล้วก็จะต้องพบกับความแก่ ความเจ็บ และความตาย โดยมีศพเป็นตัวอย่างมองเห็นเฉพาะหน้า แต่ถ้าผู้ฟังพอจะรู้คำแปลอยู่บ้าง ก็จะเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งดีขึ้น ประการที่สอง มีคตินิยมว่า การสวดพระอภิธรรมเป็นการสนองพระคุณของมารดาบิดา ตามแบบอย่างที่พระจริยาวัตรขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงโปรดพุทธมารดา ที่ได้สิ้นพระชนม์แล้ว ต่อมา แม้ผู้วายชนม์นั้นๆ จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่ก็ถือเป็นประเพณีที่ผู้บำเพ็ญกุศลจะได้อุทิศไปให้ผู้วายชนม์นั้น ประการที่สาม การที่นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับกุศลพิธีเนื่องในงานศพดังกล่าว จะเป็นวิธีหนึ่งของการป้องกันมิให้พระสัทธรรม คือพระอภิธรรมอันตรธานหายไป ประเพณีการสวดพระอภิธรรมหน้าศพ นั้นเกิดขึ้นมายาวนาน นับแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มเมื่อใด รู้เพียงว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับแต่ประเทศไทยรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ ประจำจิตใจชาวไทยมาแต่โบราณกาลตั้งแต่ยุคล้านนา ยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และมาถึงยุครัตนโกสินทร์ จวบจนปัจจุบัน http://www.dhammajak.net/forums/viewt... http://oknation.nationtv.tv/blog/pati... พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ ๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3...