У нас вы можете посмотреть бесплатно การปฎิบัติธรรม ขั้นที่ 8 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ศีล คือ ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต สิ่งที่ไม่ดีทุกประการ การรักษาศีล จึงเป็นบุญกิริยาวัตถุ คือวิธีการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะทุกครั้งที่เราตั้งใจงดเว้นจาก ความชั่ว ตั้งใจที่จะไม่เบียดเบียนใคร ย่อมจะเกิดกระแสแห่งความดี เกิดความเมตตาขึ้นมาในใจ ที่เราเรียกว่า กระแสบุญ อันเป็นเครื่องชำระจิตใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ การรักษาศีลจึงเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และจิตใจให้บริสุทธิ์ดีงามยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ศีลยังเป็นคุณธรรมอันงามด้วยคุณลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นคุณธรรมที่รักษา กาย วาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นคุณธรรมอันจะนำไปสู่กุศลธรรมเบื้องสูง คือ สมาธิ(Meditation) และปัญญา ต่อไป อริยกันตศีล คือ ศีลอันพระอริยะใคร่แล้ว คือ ศีลที่ประกอบด้วยอริยมรรค ดำเนินไปเพื่อสมาธิ คือ เป็นศีลกุศลย่อมสงบจากอกุศล และเกื้อกูลกุศลฌาน พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ บทว่า อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่ สีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล. ก็ศีลเหล่านั้นเป็นศีลอันน่าใคร่ของพระอริยะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงไม่ละแม้ในภพอื่น. วัตถุประสงค์ของการรักษาศีล หากเราเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการรักษาศีล ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องรักษา ก็จะทำให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างถูกต้อง รักษาแล้วเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ที่แท้จริงของศีล ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรักษาแบบทำตามกันมา หรือว่ารักษาไปอย่างนั้น ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลย การรักษาศีล มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ 1. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติปัจจุบัน ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 2. เพื่อให้เกิดความสุข ความดีงาม ในการดำเนินชีวิต 3. เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีงามแก่ครอบครัว และสังคม 4. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติต่อไป ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น 5. เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมที่สูงขึ้นไป ได้แก่ สมาธิ และปัญญา อันจะทำให้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้ วัตถุประสงค์ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 เป็นวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติสุข ไม่ต้อง ประสบพบเจอกับความทุกข์ ความเดือดร้อน หรือความเสื่อมเสีย ในภพชาติปัจจุบัน เพราะผู้ที่ไม่รักษาศีล มักเบียดเบียน หรือทำความเดือดร้อนให้กับตนเอง หรือผู้อื่น และเมื่อทำแล้ว ความเดือดร้อนที่เป็นผลจาก การกระทำนั้น ย่อมย้อนกลับมาหาตัวเอง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยสังคามวัตถุสูตร4) ว่า “ ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมได้ รับการด่าตอบ และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความขึ้งเคียดตอบ ฉะนั้น เพราะความหมุนกลับแห่งกรรม ผู้แย่งชิงนั้น ย่อมถูกเขาแย่งชิง ” หากแต่ละคนในสังคมรักษาศีล ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ครอบครัวหรือสังคมนั้นย่อมมีความ สงบสุขเรียบร้อย ไม่เกิดความวุ่นวาย การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมอย่างนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เป็นวัตถุประสงค์สำหรับป้องกันความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้น ในภพชาติเบื้องหน้า เพราะการไม่รักษาศีล ย่อมเป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ และหากเกิดมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็จะมีอายุสั้น เป็นผู้ที่ไม่สมประกอบ ร่างกายพิกลพิการ เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ล้วน นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งสิ้น การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อป้องกันความทุกข์ในภพชาติเบื้องหน้าอย่างนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 การรักษาศีล เป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรม คือสมาธิและปัญญา โดย สมาธิจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยศีลที่บริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน หากไม่มีศีล สมาธิก็เกิดไม่ได้ เพราะศีลเป็นเครื่อง ช่วยควบคุมกายกับวาจา ในขณะที่สมาธิเป็นเครื่องช่วยควบคุมใจ ดังนั้น เมื่อกายกับวาจาไม่สงบ ใจก็ยากที่จะสงบได้ เมื่อใจไม่สงบแล้ว สมาธิก็ยากที่จะเกิด และเมื่อสมาธิไม่เกิด ปัญญารู้แจ้งในเรื่องความจริงของ ชีวิตก็ย่อมไม่เกิดขึ้นไปด้วย เมื่อไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถกำจัดกิเลสอาสวะเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เมื่อไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องประสบกับความทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร อยู่ร่ำไป แต่เมื่อรักษาศีลได้เป็นอย่างดี สมาธิก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และเมื่อสมาธิเกิด ปัญญาก็เกิดตามมา เมื่อปัญญาเกิด ก็สามารถจะกำจัดกิเลสอาสวะ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ดังนั้น การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพานอย่างนี้ ศีล 5 1 เว้นจากการฆ่าสัตว์ 2 เว้นจากการลักทรัพย์ 3 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม 4 เว้นจากการพูดเท็จ 5 เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ศีล 8 มีความหมายคือสำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล 5 แต่เปลี่ยนข้อ 3 และเติมข้อ 6 - 7 - 8 คือ 6 เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป 7 เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง 8 เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย อุโบสถศีล คือ อุโบสถศีล คือ ข้อปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นเดียวกับศีล 8 อุบาสกอุบาสิกาจะ สมาทานรักษาเป็นประจำในวันพระ คือ วันขึ้น และแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ (แรม 14 ค่ำในเดือนขาด) มีองค์สิกขาบท และองค์แห่งศีลเหมือนกัน ต่างกันแต่คำอาราธนา คำสมาทาน และกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น