У нас вы можете посмотреть бесплатно วางจิตให้เป็นกุศลง่ายๆ สำรวมอินทรีย์ สำรวมใจอยู่กับกาย กายคตาสติ | กุศลกรรมบถ10 | การให้ทาน или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
#กายคตาสติ #กุศลกรรมบถ10 #โสดาบัน #การให้ทาน 00:05 การทำงาน ถ้าจิตมีสมาธิก็จะทำงานได้ดี | ฝึกจิตให้บ่อย จิตตั้งมั่นด้วยดี ละนิวรณ์ 5 03:21 นำนั่งสมาธิ 5 นาที 10:03 ความเป็นเรา ไม่ใช่มีแต่ร่างกายอย่างเดียว 12:13 ถ้าต้องการเดินทางในสังสารวัฏด้วยภพที่ดี ตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปเนี่ย ให้ทำ กุศลกรรมบถ 10 เมื่อเราไม่รู้จักอริยสัจ 4 จตุตฌาน ฌาน 4 พระศาสดาบอกเป็นจิตที่ควรแก่การงาน สามารถแท่งตลอดด้วยธาตุเป็นเอนกได้ รู้อริยสัจ 4 คือปาฏิหาริย์ สามารถทำให้หลุดพ้นจากความตายได้อย่างถาวร 21:35 ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปเท่านั้น ถึงจะไม่ต้องไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก อีกต่อไป 27:07 เทวดาใกล้ตาย จะมีอาการ 5 อย่าง | สุคติของเทวดา | ทิฏฐิ 4 แบบ ที่โสดาบันจะต้องละให้ได้ 34:36 การจัดทำหนังสือ พุทธวจน เหตุผลว่า ทำไมจะต้องฟังเฉพาะคำของตถาคต พระพุทธเจ้า ค้นพบอะไร ใครมีญาติที่เจ็บป่วย กำลังจะเสียชีวิต เอาพุทธวจนเปิดให้เขาฟัง 42:52 วิธีทำให้ปัญญาเกิดง่ายๆ | การได้มาซึ่งกุศล ไม่ใช่เรื่องยาก 44:34 การให้ทาน ควรวางจิตอย่างไร ให้ได้ผลใหญ่ อานิสงส์ใหญ่ | ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ทำอย่างไร -------------------------- ... #อานาปานสติบริบูรณ์ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ? ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว การทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ. ... (อ่านเพิ่มเติม ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร) -- 📙พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๔ พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย หน้าที่ ๓๖-๔๑ -- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thaipb/4/36/ -------------------------- หนังสือพุทธวจน ดาวน์โหลดไฟล์ .pdf http://watnapp.com/book อ่านออนไลน์ https://etipitaka.com/read/thaipb/1/0/ สั่งซื้อสมทบทุน https://www.buddhakosvolunteer.org/ ร่วมบุญสนับสนุนกับทางวัดนาป่าพงโดยตรง (เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ชม) บัญชี วัดนาป่าพง ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-246-1756 มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-247-4610 ติดตามข่าวสาร กิจวัตรพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และคณะ พุทธวจนเรียล Buddhawajana Real / @buddhawajanareal / buddhawajanareal2020 -------------------------- ร่วมบุญสนับสนุนช่อง #ทางนิพพาน #พุทธวจน (เพื่อสนับสนุนช่องนี้) ช่วยแชร์วิดีโอ หรือ "ไม่กดข้ามโฆษณา"(บ้าง) ^^🙏🏻😊 หรือจาคะผ่านระบบสมาชิก ช่องยูทูบ / tangnibbana เพจเฟซบุ๊ก / tangnibbana -------------------------- คลิปเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2556 (บางส่วน)