У нас вы можете посмотреть бесплатно ตาโปนจากไทรอยด์เป็นพิษรักษาหายหรือไม่? การดูแลสุขภาพและการรักษาอาการตาโปนจากไทรอยด์เป็นพิษ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
#ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เกิดได้จากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือจากโรคเกรฟส์ (Graves' disease) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (autoimmune disease) ที่ส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมามากเกินไปจนทำให้อวัยวะต่างๆ ซึ่งรวมถึงดวงตามีอาการผิดปกติ หนึ่งในอาการทางตาของผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ คือ #ตาโปน ซึ่งเป็นผลจากการที่มีฮอร์โมนส่วนเกินไปสะสมที่กล้ามเนื้อหลังลูกตาทำให้กล้ามเนื้อหลังลูกตาและไขมันในเบ้าตาบวมใหญ่ จนดันให้ลูกตาโปนยื่นออกมาด้านหน้าของเบ้าตา โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเมื่อปล่อยทิ้งไว้ก็จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน หรือบางรายอาจมีภาพซ้อน ซึ่งเกิดจากมีฮอร์โมนไปสะสมที่กล้ามเนื้อตา ซึ่งทำหน้าที่ในการกรอกตา ทำให้ความสามารถในการกรอกตาผิดปกติและเกิดอาการตาเขและภาพซ้อนตามมาได้ $อาการข้างเคียงที่มักเกิดร่วมกับตาโปน ได้แก่ ความสามารถในการมองเห็นลดลง ตามัว เห็นภาพซ้อน เคืองตา ตาแดง ตาแห้ง น้ำตาไหลมากผิดปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงแน่นเหมือนมีอะไรดันอยู่หลังลูกตา นอกจากนี้ ยังมีลักษณะภายนอกที่เกิดร่วมกับตาโปน เช่น หลับตาไม่สนิท เปลือกตารั้งขึ้นไปด้านหลัง ทำให้เปลือกตาบนสูงเกินระดับปกติ เปลือกตาล่างต่ำเกินไปจากระดับปกติ ตาเข และอาจมีต้อหินแทรกได้ . #การรักษาตาโปนจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ การรักษาอาการตาโปนนั้นจะต้องทำไปพร้อมกับการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ นั่นคือผู้ป่วยจำเป็นต้องพบอายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อเพื่อรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษให้หายขาด หรือควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์ให้อยู่ในระดับปกติ และพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาอาการตาโปนควบคู่กันไปเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในช่วงแรกของการรักษาอาการตาโปนจะเป็นการรักษาตามอาการซึ่งเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 2-3 เดือน กรณีที่อาการตาโปน ภาพซ้อน ตาเข เปลือกตาผิดปกติ อาจจำเป็นต้องพิจารณาเข้ารับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เพื่อลดความรุนแรงของโรค รักษาอาการตาแห้ง เคืองตา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ ภาวะตาโปนจะเริ่มสงบหลังจากที่เริ่มเป็นมาประมาณ 1 ปีครึ่ง-2 ปีแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจกลับมาเป็นปกติ ตาโปนน้อยลง หรืออาจยังโปนมากอยู่ ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดแก้ไขเบ้าตาโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งเกี่ยวกับตาโดยเฉพาะ . ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์