У нас вы можете посмотреть бесплатно แท้ที่ธรรมชาติ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
จะเก็บพระเครื่องเป็นมรดก ต้องเก็บแบบไหน #พระเครื่อง แท้ที่ธรรมชาติ พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ เมื่อการตลาดพระเครื่องไม่เหมือนเดิม เดี๋ยวนี้เราเห็นตัวเลขก่อนเห็นหน้าพระ เชื่อราคารับซื้อโดยไม่ดูธรรมชาติความแท้ แท้ที่ธรรมชาติ #วัตถุมงคล มีหลายๆ คนที่ได้คุยกันกับ ๔มีนาว่าอยากลงทุนเก็บสะสมพระเครื่องไว้เป็นทรัพย์สินและมรดกให้คนรุ่นต่อไป ตัดสินใจดีๆ นะครับว่าจะเลือกสะสมพระหน้าไหน พุทธพาณิชย์เปลี่ยนมาเยอะและจะเปลี่ยนไปอีกเยอะมากๆ คนรุ่นใหม่ที่สนใจศึกษาพระเครื่อง ที่ ๔มีนาพบมา เค้ามองการตลาดพระเครื่องออกทั้งหมด เล่นตามความรู้ ดูพระเป็นจริงๆ ไม่ได้เชื่อราคาแต่หน้าพระผิดยุค ไม่สนใจใบเซอร์ ใบรับรองอะไรพวกนี้แล้ว ตลาดซื้อขายก็เปิดกว้างขึ้นไม่ต้องผ่านตัวกลางเหมือนเดิม อย่าลืมนะครับ ในอนาคตคนที่เค้าจะรับซื้อ รับเช่าพระมรดกที่คุณกำลังเก็บไว้ ก็คือคนคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ที่กำลังเติบโตขึ้นบนพื้นฐานความรู้และความเข้าใจ เค้าไม่เสียเงินให้พระเก๊ผิดธรรมชาติที่มีใบเสร็จ ใบเซอร์นะครับ มองไกลๆ หน่อยก็มองออก สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ขอบคุณ คลิปนี้ ๔ มีนาจะพาพี่ๆ เพื่อนๆ มาเช็คหนึ่งในพระปิดตาที่มีผู้คนพูดถึงและตามหากันมากที่สุด ๔ มีนาคิดเล่นๆ นะครับ ว่าอีกไม่นานอาจจะมีดราม่าพระเครื่องสายนี้บ้าง เพราะเงียบมานาน ไม่ได้ปั่นราคามาหลายปี ศึกษาดูธรรมชาติดีๆ นะครับ เก๊ที่เรียกว่ามาตรฐานนิยม บางกลุ่มเค้าปั่นกันเป็นสิบล้าน ด้วยเรื่องราวที่เล่าขานเกี่ยวกับความเมตตา มหาเสน่ห์ พิมพ์ทรงที่เป็นเอกลักษณ์ บวกกับค่าที่นิยมและราคาที่ถูกปั่น ทำให้พระปิดตาหลังแบบ ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์พิมพ์ใหญ่หลังแบบ ของปลอมมีเต็มตลาด ฝากกดติดตามช่องเป็นกำลังใจให้กัน ฝากบอกต่อความรู้เป็นธรรมทานกันด้วยนะครับ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเคลือวัลย์ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ พุทธศิลป์จะมีเอกลักษณ์ชัดเจน พิมพ์ทรงด้านหน้ามีหลายลักษณะ ส่วนด้านหลังจะแบ่งหลักๆ ได้เป็นหลังแบบ หลังเรียบ ซึ่งหลังเรียบจะพบได้ทั้งเรียบนูน เรียบแบบ และที่มีการลงอักขระยันต์ไว้ ส่วนเนื้อที่พบจะมีเนื้อผงผสมว่านคลุกรัก และเนื้อชิน ส่วนขนาด ถือได้ว่ามีมากกว่า แบ่งเป็นพิมพ์ทรงใหญ่ กลาง เล็ก แต่เมื่อเป็นพระพิมพ์มือ และไม่ได้เป็นการสร้างในวาระเดียวขนาดจึงไม่ได้เป็นเรื่องตายตัว ด้วยเนื้อพระผงคลุกรักและพิมพ์ทรงมีความแตกต่างกันในแต่ละวาระ ไม่เหมือนเนื้อชินที่มีออกไซด์ของโลหะชัดเจน การดูธรรมชาติและการเปลี่ยนสภาพตามอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญ คลิปนี้ ๔มีนาจะพูดเฉพาะพื้นฐานและความเข้าใจ ตามประวัติที่ไม่แน่นอนนัก แต่เป็นยุคคาบเกี่ยวกับสมเด็จโต หลวงปู่จีน เราพอจะประมาณได้ว่าหลวงพ่อแก้วท่านน่าจะเกิดช่วงประมาณปีพ.ศ. ๒๓๐๐ กลางๆ และมรณภาพในช่วงประมาณปีพ.ศ.๒๔๐๐ เศษๆ อย่างที่บอกครับ ประวัติที่บันทึกไว้เกี่ยวกับหลวงพ่อแก้วค่อนข้างหลากหลายและไม่แน่นอน ขนาดรูปของท่านบางรูป ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน แต่เป็นเรื่องน่าเซอร์ไพรสที่บันทึกเรื่องการสร้างพระกลับเป็นเรื่องที่ชัดเจน รู้แม้กระทั่งส่วนผสมต่างๆ และขั้นตอนการสร้างอย่างละเอียดได้ ถ้าคนสมัยนั้นไม่แปลกที่ให้ความสำคัญกับเนื้อพระหรือมวลสารมากกว่าตัวหลวงพ่อ ก็น่าจะแปลกที่คนสมัยนี้ล่ะครับ ดังนั้นในการดูเก๊แท้ เราจะประมาณการผ่านอายุของพระเครื่องหลวงพ่อแก้ว ถ้าใกล้เคียงกับพระสมเด็จ ก็คือต้องผ่านอายุมาอย่างน้อย ๑๕๐ ปี ลึกกว่านั้นได้ยิ่งดี แต่ถ้าไม่ถึง เก๊เลย ร้อยปีนี่นานนะครับ ธรรมชาติและการเปลี่ยนสภาพไม่มีไม่ได้ ตามหลักของพระเกจิยุคเก่าที่สร้างพระเครื่องเป็นยา นอกเหนือจากจิตและวิชาที่ท่านประจุไว้ เพื่อประโยชน์ของผู้ได้รับพระเครื่องไป พระปิดตาหลวงพ่อแก้วองค์นี้จึงเป็นเนื้อผงผสมว่าน แล้วคลุกยางรักหรือรักน้ำเกลี้ยงเพื่อประสานเนื้อทำให้เนื้อพระออกเป็นสีน้ำตาลอมดำ ซึ่งเป็นลักษณะของรักยางไม้ สมัยก่อนคนไทยเราจะคุ้นเคยกับการใช้รัก ชาด ชันโรงหรือครั่ง ใช้ติด อุด หรือยาสิ่งของโดยเฉพาะคนในพื้นที่ที่มีคูคลอง แม่น้ำหรือทะเล ที่มักเดินทางสัญจรทางน้ำเป็นหลัก เรียกได้ว่าเป็นของที่ต้องมีในแทบทุกบ้าน เมื่อนำมาผสมกับเนื้อพระและมวลสาร จึงช่วยให้เนื้อและมวลสารยึดเกาะ รวมตัวกันเป็นองค์พระได้ ด้วยธรรมชาติการผ่านอายุ เนื้อพระต้องแห้งเพราะเกิดการออกซิไดซ์กับอากาศตามการผ่านเวลา ผิวพระต้องเหี่ยวเป็นลอนคลื่นไม่ใช่การเอามวลสารใส่เครื่องแล้วกดพิมพ์ออกมา รักต้องมีความเป็นยางไม้ที่ใช้ตอนร้อน ยึดเกาะ หดรัดตัวเมื่อเย็นตัวลงตามธรรมชาติของยางรัก และส่องแล้วจะพบเห็นรอยปริแยก เหี่ยวกร่อนตามอายุได้ตามเนื้อพระ นี่คือสิ่งที่คนรุ่นใหม่เค้าใช้ศึกษาพระเครื่องกัน พื้นฐานมีแค่นี้เองครับ พระแต่ละองค์มีส่วนผสมของอะไรบ้าง อะไรมาก อะไรน้อยไม่เหมือนกันหรอกครับ ที่อ่านมาส่วนมากก็เขียนตามหน้าพระตัวเอง อย่ายึดว่าต้องเนื้อนั้นเนื้อนี้ ไม่มีใครรู้ทั้งหมด ส่วนผสมก็ผสมลงไป องค์ไหนมีอะไรผสมมาบ้างกำหนดไม่ได้ ดังนั้นพระแท้ทุกองค์ไม่จำเป็นต้องเห็นเหมือนกัน หรือการเช็คพระ เช็คด้วยการมีหรือไม่มี นับสีนับเม็ด หรือเจอเศษชิ้นไม้ไก่กุก ต้องเป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้วแท้แน่ๆ จะมีหรือเห็นได้ทุกองค์เหรอครับ หรือการเช็คพระสมเด็จ มีเม็ดสีนั้นสีนี้ ถ้าครบแล้วแท้ โดยไม่ได้ใช้ความรู้ดูว่ามีธรรมชาติถึงอายุมั๊ย ก็เป็นแค่การเปลี่ยนจากการจำตำหนิพิมพ์ มาเป็นการจำตำหนิมวลสารในพระสร้างโรงงานอยู่ดี แค่นี้ฟังดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ทำปลอมยากนะครับ มองแล้วแห้งนวลตา ส่องแล้วเห็นความฉ่ำ เพราะฉ่ำไปหมดก็พระใหม่ เก๊ทั่วไปมักเจอแบบนี้ หรือถ้าแห้งกรอบไปหมดก็อบมาแล้วแต่งเลอะๆ เก่าๆ ทับ แนวนี้เก๊มีใบ แต่พอส่องเนื้อลึกๆ แล้วจะเห็นผิวเรียบๆ รักตึงๆ ไม่หดรัดตัวแบบผิดธรรมชาติ อาจด้วยภาพจำที่เรามีหรือที่เราชอบสอนให้เราดูพระเก่าให้เนื้อตึงๆ พิมพ์คมๆ เป็นมาตรฐาน แต่ผิดธรรมชาติ อย่างที่บอกครับ คนรุ่นต่อไปที่เค้าจะเป็นคนรับซื้อ รับเช่าพระที่เก็บเป็นไว้มรดก เค้าดูธรรมชาติของเก่าเป็นนะครับ พระแท้ต้องอธิบายธรรมชาติได้ แท้ที่ธรรมชาติ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ