У нас вы можете посмотреть бесплатно เก๊หรือแท้ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน ต้องดูธรรมชาติเท่านั้น или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัฒนธรรมการเป็นนักล่าอยู่คู่กับการใช้ชีวิตของมนุษย์มาช้านาน และการพกสัญลักษณ์ของสัตว์แต่ละชนิดก็แสดงได้ถึงอำนาจบารมีที่ต่างกัน การใช้เครื่องรางจากสัตว์เองก็มีความหมายและการใช้เพื่อประโยชน์อีกด้วย นอกเหนือจากการแสดงถึงความมีชัยเหนือสัตว์ต่างๆ รวมถึงมนุษย์ด้วยกัน ก็ยังมีอีกหลายมิติ ทั้งในการเป็นเครื่องรางทนสิทธิ์ มีฤทธิ์ในตัวเอง หรือจะใช้ฝนทำยาในกลุ่มสัตว์รักษาในยุคที่โรงพยาบาลยังไม่มีทุกพื้นที่ การแพทย์ยังไม่พัฒนาเหมือนทุกวันนี้หรือจะอื่นใดก็ตาม ซึ่งในทุกวันนี้เรามีสิ่งทดแทนเขี้ยว งาและกระดูกสัตว์ได้ทั้งหมดแล้ว เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน เก๊หรือแท้ ต้องดูธรรมชาติเท่านั้น #วัตถุมงคล #เครื่องรางของขลัง ๔ มีนาจะทำคลิปเช็คเขี้ยวเสือทั้งที ก็เลือกเขี้ยวที่ไม่ปกติธรรมดาสากลนิยมอีกแล้ว ดูไปถ้าใครที่ท่องจำมาอาจจะมีคำถามในใจทันที ดูจนจบคลิปแล้วจะร้องอ๋อ ๔ มีนาพูดเหมือนทุกทีครับ ตกผลึกความคิด เลิกท่องจำที่เค้าก๊อปแปะกันมา เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติกันดีกว่า ครูที่ดีที่สุดและเชื่อถือได้มากที่สุดคือธรรมชาติที่อยู่บนวัตถุมงคลเท่านั้น เมื่อพูดถึงเขี้ยวเสือ เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานน่าจะเป็นอันดับแรกๆ ที่เรานึกถึงด้วยประสบการณ์ เรื่องเล่าขานที่ส่งต่อกันมา หลักๆ เขี้ยวที่นำมาแกะจะแบ่งได้เป็นเขี้ยวเสือตัน และเขี้ยวเสือโปร่ง จนถึงเขี้ยวเสือโปร่งฟ้าที่อาจจะมีแค่การจารอักขระไว้แต่ไม่แกะ และการใช้จะมีแบบเต็มเขี้ยว ครึ่งเขี้ยว และแบบแกะเป็นซีก การดูเขี้ยวเก่า มีสิ่งที่ทำปลอมได้และทำปลอมไม่ได้ การดูต้องดูธรรมชาติท้ังหมดควบคู่กัน เก๊หรือแท้ ต้องดูธรรมชาติเท่านั้น เดี๋ยวเรามาเช็คกันครับ การแยกเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อนก และหลวงพ่อสาย ที่มีการสร้างคาบเกี่ยวยุคกันได้ คนส่วนมากมักจะแยกกันด้วยอักขระรอยจารก่อนที่จะดูธรรมชาติในรอยจาร และวิเคราะห์ธรรมชาติตามอายุของเขี้ยว ซึ่งเขี้ยวเสือแกะมีธรรมชาติที่เราใช้ประเมินอายุและความเก่าได้ และถ้าเราได้พบเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานที่มีธรรมชาติปีลึกๆ ดูอายุ ดูธรรมชาติเขี้ยวสิครับ ไม่ใช่ไปใช้รอยจารเป็นตัวกำหนด มีหลายคนนะครับที่เสียเขี้ยวยุคแรกๆ ของหลวงพ่อปานไป ก็ไม่รู้ว่าถูกหลอกหรือคนซื้อดูเขี้ยวเก่าไม่เป็น บางคนก็ออกของผิดยุคโดยนึกว่าเป็นของหลวงพ่อนกหรือหลวงพ่อสาย เพราะสิ่งที่เค้าให้ท่องจำมา ไม่ได้ดูธรรมชาติกันเลย ดูเขี้ยวเก่าต้องดูธรรมชาติเนื้อเขี้ยว รอยปริแยก รอยเครื่องมือเก่า เยอะแยะที่เราดูได้ ไม่ใช่ดูแค่รอยจารสิครับ หลวงพ่อหลวงปู่แต่ละท่านอาจมีรอยจารประจำที่ใช้บ่อย แต่เป็นไปได้จริงเหรอครับที่ท่านจะจารยันต์เดียวตลอดเวลาและตลอดชีวิตของท่าน ส่วนลายมือกับรอยจารมันก็คนละเรื่องกัน ที่ชอบบอกว่าให้จำลายมือ ถ้าจำได้จริงก็อาจจะพอแยกหลวงพ่อได้บ้าง แต่ใช้แยกเก๊แท้ไม่ได้แน่ๆ แล้วเอาจริงๆ ลักษณะอักขระแบบยันต์กอหญ้า จำลายมือกันยังไงครับ และถึงจะจำได้จริงๆ ไม่ได้เอาของปลอมมาจำ แต่สุดท้ายการจำจะเป็นวิธีที่มาตรฐานที่ให้คนอื่นเรียนรู้ได้จริงเหรอครับ ยึดพิมพ์ก็แย่แล้ว ยึดรอยจารอย่างเดียวดูแย่กว่าอีก นี่คือเหตุที่ ๔ มีนานำเขี้ยวหลวงพ่อปานชิ้นนี้มาเช็คกัน เรื่องนี้เดี๋ยวจะยาว เพราะก่อนอื่นต้องดูให้เป็นเขี้ยวเก่าก่อน แล้วเราจะไปแรงกันต่อที่รอยจารจ้า การดูเขี้ยว เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน พื้นฐานแรกสุดเราจะดูลักษณะภายนอก เราต้องพอจะแยกระหว่างเขี้ยวสัตว์ประเภทต่างๆ ให้ออก เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี หรือเขี้ยวหมู จะมีลักษณะต่างกัน เขี้ยวเสือจะเป็นทรงยาวเรียว โค้งพอประมาณ และเราจะแยกตำแหน่งบนล่างและซ้ายขวาของเขี้ยว เพราะมีลักษณะต่างกัน ส่วนของเก๊ส่วนมากจะทำจากเรซิ่นแต่งสีแต่งผิว เขี้ยวเสือชิ้นนี้เป็นการแกะแบบเต็มเขี้ยว พุทธศิลป์เป็นเสืออ้าปาก ตากลม หูกลม รูจมูกกลม มีรูแกนระหว่างตาทั้ง ๒ ข้าง เลี่ยมเงินเก่าไว้ เคยผ่านการใช้งานติดตัวไม่หนักและเก็บรักษาไว้อย่างดี เมื่อพูดถึงเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน ในตลาดทั่วไปจะพบอยู่ ๔ กลุ่ม ๑ เขี้ยวแท้ ทันหลวงพ่อปาน ๒ เขี้ยวแท้ ต่างเกจิ ต่างยุค ๓ เขี้ยวแท้ ใหม่แต่แต่งให้เก่า จารให้เป็นของหลวงพ่อปาน ๔ ของเก๊เลย อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดและไม่ตายตัว ในยุคหลวงพ่อปาน วัตถุมงคลของท่านมีแต่คนที่อยากได้ไว้บูชาใช้พุทธคุณติดตัว ด้วยชื่อเสียงที่เล่าต่อๆ กันปากต่อปาก ไม่ค่อยเจอสภาพเก็บเท่าไหร่ เนื้อ สี ความฉ่ำ สิ่งที่เราจะเห็นอย่างแรกเลย คือสี เขี้ยวเก่าจะมีสีเหลืองฉ่ำ ดูใสๆในเนื้อกว่าเขี้ยวใหม่ ซึ่งเขี้ยวปีลึกของหลวงพ่อปานจะเป็นลักษณะนี้ คือเหลืองฉ่ำ ไม่ใช่ขาวครีมนวล และธรรมชาติของเขี้ยวเก่า เนื้อต้องเหี่ยว ถ้าเรียบลื่น ตึงเป๊ะไปหมด ต้องตีเก๊ไว้ก่อนปลอดภัยกว่า ตีให้เป็นเขี้ยวใหม่ยังยาก ธรรมชาติของเขี้ยวมักจะมีรอยแคร๊ก หรือรอยแยกให้เห็น แต่รอยแบบนี้ทำได้ ผ่าได้ แต่งได้หมด สิ่งที่พอใช้ดูได้คือ รอยตามธรรมชาติจะไม่เป็นเส้นตรงจนเกินไป และอย่าดูแค่มีรอยแยก แต่ต้องดูธรรมชาติความเก่าที่อยู่ในรอยแยกนั้นๆ รอยกระเบื้อง คราบอีกประเภทที่เราต้องดูในเขี้ยว คล้ายๆ กับเนื้อเยื่อเก่า บางคนจะเรียกว่าคราบกระเบื้อง มักจะอยู่ในร่องเขี้ยวด้านใน การดูคราบกระเบื้องในเขี้ยว ต้องเห็นความแห้ง เหี่ยว และช้ำ ของเก๊ก็มีนะครับแต่มักจะหล่อรอยกระเบื้องมาในพิมพ์ จะไม่มีปากรอยเหมือนเขี้ยวแท้ แต่ถ้าไม่ใช่แบบเขี้ยวเต็ม อาจจะไม่มีได้ ลองดูธรรมชาติ เข้าใจไม่ใช่ท่องจำ เพราะรอยกระเบื้องทำปลอมไม่เหมือน ส่วนนึงก็ไม่ต้องเหมือนมากก็ได้ เพราะในเขี้ยวนิยมเค้าไม่ค่อยพูดถึงกัน คนเลยไม่ค่อยดู แต่ในเขี้ยวแท้ถ้ามี ต้องดู รอยจาร ใช่ครับ รอยจารในเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานส่วนมาก เรามักจะพบยันต์กอหญ้า ที่เป็นการจาร วนเป็นวงรีๆ จากนอกเข้าใน บางครั้งจะมีการย้ำวงในที่เหมือนหลวงพ่อท่านยังวนต่อเพราะยังลงอาคมกำกับไม่จบ อักขระหยักๆ คล้ายฟันปลา ยันต์ฤ ฤา และยันต์อุ ส่วนมากเราจะพบชุดยันต์ลักษณะนี้ในเขี้ยวสายหลวงพ่อปาน แต่การดูธรรมชาติคือการไม่ดูแค่ว่ามีหรือไม่มีอะไร แต่ต้องดูว่าสิ่งที่มีอยู่ มีธรรมชาติเป็นอย่างไร เก๊หรือแท้ ต้องดูธรรมชาติเท่านั้น