У нас вы можете посмотреть бесплатно วัดพระยืน WAT PRA YUEN อรัญวาสีริมน้ำกวงสู่พุทธลังกาวงศ์เชียงใหม่ ที่เที่ยวเชียงใหม่ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
วัดพระยืน แต่เดิมไม่ได้มีชื่อนี้ สันนิษฐานว่าพระนางจามเทวีทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1213 (หลังครองราชย์ได้ 7 ปี) ตามตำนานเรียกชื่อวัดนี้ว่า อรัญญิการาม ชื่อของวัดพระยืน มาจากองค์พระพุทธรูปยืน ที่ตามเอกสารของวัดระบุว่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1606 ในสมัยพระเจ้าธรรมมิกราช (กษัตริย์องค์ที่ 32 แห่งหริภุญชัย) พระยืนองค์นี้หล่อด้วยทองสำริด สูง 18 ศอก (9 เมตร) เดิมประดิษฐานอยู่ในปราสาทสถูป (หลังวิหาร) ในสมัยนี้เรียกชื่อวัดว่า วัดพุทธอาราม ต่อมาในปี พ.ศ. 1912 พระยากือนา ผู้ครองพิงนครเชียงใหม่และลำพูน ได้สร้างพระพุทธรูปยืนเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 องค์ ใน ตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวถึงตอนที่พระญากือนาได้อาราธนานิมนต์พระสุมนเถระจากเมืองสุโขทัย เพื่อมาเชียงใหม่ โดยได้พักที่วัดพระยืนในเมืองหริภุญชัย ซึ่งขณะนั้นได้มีพระยืน 1 องค์อยู่ก่อนแล้ว จนกระทั่ง พ.ศ. 2447 พระครูศีลวิลาศ (พระคันธวงศ์เถระหรือครูบาวงศ์) เจ้าคณะจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์สถูปเจดีย์ขึ้นมาใหม่ โดยสร้างก่อหุ้มคลุมองค์พระยืนทั้ง 4 ไว้ภายใน พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปยืนองค์เล็กกว่าขึ้นมาประดับเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน พ.ศ. 2471 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเจดีย์วัดพระยืนเป็นมรดกของชาติ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2548–2549 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์วัดพระยืน รวมทั้งการปรับภูมิทัศน์โดยรอบของวัด ได้พบสิ่งปลูกสร้าง ก่อด้วยฐานอิฐถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อาจสาวไปถึงการก่อสร้างวัด โดยมีการขุดพบฐานเจดีย์สมัยสุโขทัย ถนนที่ปูลาดด้วยอิฐโบราณ รวมถึงการขุดพบฐานเสนาสนะ จนเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้ขุดพบเศียรพระพุทธรูปสมัยหริภุญชัย สันนิษฐานว่ามีอายุในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17–18 และโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อยู่ในฐานพระเจดีย์ที่ฝังอยู่ใต้ดินบริเวณหลังวิหารพระเจ้าทันใจ Wat Phra Yuen originally did not have this name. It is assumed that Queen Chamadevi built it around 1213 BE (after reigning for 7 years). According to legend, the temple was called Aranyikaram. The name of Wat Phra Yuen comes from the standing Buddha image, which according to temple documents states was built in 1606 BE during the reign of King Thammarat (the 32nd king of Hariphunchai). This standing Buddha image was cast from bronze and is 18 sok (9 meters) high. It was originally enshrined in a castle stupa (behind the viharn). During this period, the temple was called Wat Phuttharam. Later, in 1912 BE, Phraya Kuena, ruler of Chiang Mai and Lamphun, built three more standing Buddha images. The Legend of the Foundation of Religion mentions the episode when Phraya Kuena invited Phra Sumana Thera from Sukhothai to Chiang Mai and stayed at Wat Phra Yuen in Hariphunchai. At that time, there was already a standing Buddha statue. Until 1904, Phra Khru Silavilas (Phra Khanthawong Thera or Khru Ba Wong), the provincial abbot of Lamphun, along with Chao Luang Inthayongyot, the ruler of Lamphun, jointly restored the stupa by building a covering to cover the four standing Buddha statues inside, along with building smaller standing Buddha statues to decorate the four sides of the stupa. In 1928, the Fine Arts Department registered the Wat Phra Yuen stupa as a national heritage. Until 2005-2006, the Fine Arts Department restored the Wat Phra Yuen stupa and adjusted the landscape around the temple. There were buildings built with brick bases, which are considered historical evidence that can be traced back to the construction of the temple. There was excavation of the base of the stupa from the Sukhothai period, a road paved with ancient bricks, and excavation of the base of the building. Until February 13, 2006, the head of a Buddha statue from the Hariphunchai period was excavated. It is assumed to be from the 17th-18th Buddhist century and many antiques are in the base of the pagoda buried underground behind the Phra Chao Tan Jai temple. #วัดพระยืน #WAT PRA YUEN #พระสุมนเถระ #พญากือนา #พระนางจามเทวี #ที่เที่ยวเชียงใหม่