У нас вы можете посмотреть бесплатно บทสวด สุริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร,บทสวดบูชาราหู, พลิกดวงชะตาจากร้ายกลายเป็นดีด้วยพุทธานุภาพ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ความรู้เกี่ยวกับบทสวด สุริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร 🙏สุริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร มีเนื้อหามาจากสุริยสูตร อยู่ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เนื้อหามิได้ระบุว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้ ณ ที่แห่งใด แต่ในบทสวดมนต์หลวงได้มีการระบุว่า พระสูตรนี้ทรงแสดงที่วัดเชตวันมหาวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ขณะที่พระไตรปิฎกบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ระบุว่า ทรงแสดงที่เมืองสาวัตถีเท่านั้น ส่วนในพระพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ระบุเพียงว่า "ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค" ซึ่งสุริยเทวบุตรนี้ อรรถกถาสารัตถปกาสินี อธิบายเนื้อความในสังยุตตนิกาย ได้อธิบายว่า "สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน" ครั้นพระโคตมพุทธเจ้าทรงทราบ จึงตรัสให้อสุรินทราหูปล่อยตัวสุริยเทวบุตร เพราะเทพบุตรนี้ได้ประกาศให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง อสุรินทราหูได้สดับดังนั้นจึงปล่อยตัวเทพบุตร "แล้วมีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาท้าวเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ" ท้าวเวปจิตติจอมอสูรจึงไถ่ถามว่า เหตุใดอีกฝ่ายจึงแสดงท่าทีหวาดกลัวเช่นนั้น อสุรินทราหู จึงตอบว่า ได้สดับพระคาถาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงหนีมา และว่า "หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้ความสุข" ดังนี้ ทั้งนี้ สุริยสูตรมีเนื้อหาเกือบจะคล้ายคลึงกับจันทิมสูตร อันเป็นที่มาของจันทปริตตปาฐะ หรือจันทปริตรในภารณวาร ผิดแต่เปลี่ยนพระจันทร์ถูกราหูทำร้าย เป็นพระสุริยะหรือพระอาทิตย์ถูกปองร้ายจากราหู อนึ่ง สุริยสูตรปรากฏในพระไตรปิฎก 2 พระสูตร คือ อยู่ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคบทหนึ่ง อันเป็นที่มาของสุริยปริตตปาฐะ และสุริยสูตรที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต บทหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาแตกต่างกัน และมิได้มีความเกี่ยวข้องกัน ขอบคุณข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี; https://bit.ly/3vSaYN5