У нас вы можете посмотреть бесплатно ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณของหญ้าหวาน จริงหรือ ? или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บนสังคมออนไลน์ มีการแชร์ สรรพคุณของหญ้าหวาน แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น ----------------------------------------------------- 📌 สรุป : ยังไม่ควรจะแชร์ต่อ มีทั้งข้อที่จริง และข้อที่ยังเป็นที่สงสัยอยู่ Q : ข้อแรกเขาบอกว่า หญ้าหวานเพิ่มกำลังวังชา ? A : ข้อนี้ยังเป็นที่สงสัยว่า ไม่น่าจะเป็นการเพิ่มกำลังวังชา แต่อาจจะให้ความรู้สึกสดชื่น ตัวสาร stevioside เนี่ย เป็นสารที่ไม่ใช่น้ำตาล ที่ร่างกายมนุษย์สามารถที่จะย่อยได้ ให้เป็นกลูโคส ในปกติ ดังนั้น stevioside หรือสารสกัดในหญ้าหวาน หรือสารเคมีในหญ้าหวาน ไม่ได้ให้พลังงาน ดังนั้นข้อนี้ที่ว่าเพิ่มกำลังวังชาเนี่ย คงไม่ได้นึกถึงของการให้พลังงานกับร่างกาย แต่ถ้าเกิดเป็นความรู้สึกว่ารู้สึกสดชื่นเป็นไปได้ Q : ข้อ 2 ช่วยเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ? A : ในข้อนี้เท่าที่ศึกษามา ยังไม่มีงานวิจัยที่บ่งชี้ชัดเจนว่า หญ้าหวานหรือสารสกัดหญ้าหวาน ทำให้เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นข้อนี้ก็ยังตกไป Q : ข้อ 3 ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด ? A : จริง ✅ จริงในแง่ที่ว่าหญ้าหวาน ไม่ใช่น้ำตาล ดังนั้นถ้าเราใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาล ร่างกายเราจะสามารถที่จะควบคุม ไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาได้นะคะ ในลักษณะของการทดแทนน้ำตาล Q : ข้อ 4 ช่วยลดไขมันในเลือด ? A : ✅ หญ้าหวานจะช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ในทางอ้อม ที่สืบเนื่องมาจากการลดน้ำตาลในเลือด ถ้าน้ำตาลในเลือดไม่ได้สูงมาก น้ำตาลก็จะไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นไขมัน เพราะว่าในกระบวนการทางเคมีในร่างกายของเรา ถ้าเราได้น้ำตาลมากเกินไป น้ำตาลก็สามารถแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้ ดังนั้น ถ้าเราสามารถที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก็จะลดปริมาณไขมันในเลือดให้ลดลงได้ เช่นเดียวกัน ไขมันที่ว่านี่คือพวกไตรกลีเซอไรด์ ไม่ใช่พวกคอเลสเตอรอล แต่ไม่ใช่หมายความว่า ก็ทานหญ้าหวานไปเลย เป็นลักษณะเป็นยาอะไรอย่างนี้ อันนี้ยังไม่มีการรองรับว่า ให้ใช้หญ้าหวานเป็นยาในปัจจุบัน Q : ข้อ 5 ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ ? A : ✅ หญ้าหวานอาจจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ ในกรณีที่ใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาล แล้วก็น้ำตาลก็จะไม่แปรเปลี่ยนเป็นไขมันในเลือด ดังนั้นการที่จะลดระดับน้ำตาลและลดไขมันในเลือดได้ ก็จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทานด้วย คงไม่ได้หวังผลจากการรับประทานหญ้าหวาน ในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจโดยตรง ถ้าเรายังทานอาหารที่ไม่ถูกโภชนาการอยู่ Q : ข้อ 6 ช่วยบำรุงตับอ่อน ? A : ✅ จริงในแง่ที่ว่า ถ้าบอกว่าบำรุงตับอ่อนหมายถึง การทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินได้ดีขึ้น และทำให้อินซูลินในนั้นมีความไวมากขึ้น ✅ อันนี้ถูกต้อง มีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากหญ้าหวาน ช่วยให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินได้ดีขึ้น ทำให้อินซูลินเนี่ยทำงานได้ดี มีความไวเพิ่มขึ้น แต่ถ้าพูดถึงกรณีที่ว่าบำรุงตับอ่อน แล้วกลายเป็นว่าจำนวนเซลล์ของตับอ่อนเพิ่มขึ้น อันนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่รองรับ ว่าสารสกัดจากหญ้าหวานสามารถทำได้ขนาดนั้น Q : ข้อ 7 ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ? A : ไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนที่บอกว่า ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก มีแต่ว่าสารสกัดจากหญ้าหวานเนี่ย สามารถที่จะเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันได้ ก็คือมีบางงานวิจัยที่พบว่า สารสกัดจากหญ้าหวาน ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันให้เพิ่มขึ้นได้ Q : และข้อ 8 ให้ความหวานที่ไม่เกิดฟันผุ ? A : ✅ ถูกต้อง เพราะว่าสารสกัดจากหญ้าหวาน หรือตัวหญ้าหวานเอง ไม่ให้น้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลซูโครส ที่จะถูกย่อยออกมาแล้วกลายเป็นน้ำตาล ที่เป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์บนฟัน เพราะฉะนั้นตัวสารสกัดจากหญ้าหวานเนี่ย ก็คือให้ความหวานโดยที่ไม่ทำให้เกิดฟันผุ เพราะไม่ได้เกิดกรดในช่องปากของเรา ก็จะไม่เกิดฟันผุ Q : เราใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลได้ยังไงบ้าง ? A : สามารถเติมในเครื่องดื่ม หรือในอาหารที่เราต้องการให้ความหวานได้เลย หญ้าหวานจะไม่ได้เสียสภาพตอนที่โดนความร้อน แต่ยังไงก็ตามถ้าเรากลัวรสชาติที่ขมเฝื่อน ให้ใส่ตอนเครื่องดื่มหรืออาหารอุ่น ๆ จะดีที่สุด Q : แล้ววันหนึ่งเรากินหญ้าหวานได้มากแค่ไหน ? A : มีคำแนะนำขององค์การอาหารและยา ระดับที่ปลอดภัยก็คือไม่เกิน 5 กรัม ของสารสกัดจากหญ้าหวาน ก็คือตัว steviol ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน อย่าลืมว่าสารสกัดจากหญ้าหวาน หวานกว่าน้ำตาลธรรมชาติและน้ำตาลทราย ประมาณ 200-300 เท่า ดังนั้น ปกติคนทั่ว ๆ ไป ก็จะไม่ได้รับประทานสารสกัดจากหญ้าหวาน มากถึงขนาดนั้นอยู่แล้ว ถ้าเป็นใบของหญ้าหวาน ก็ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 แก้ว ก็หวานเพียงพอแล้ว Q : สรุปแล้วสรรพคุณของหญ้าหวานที่เขาแชร์นี่เป็นอย่างไร ? A : คิดว่ายังไม่ควรจะแชร์ต่อ เพราะว่าก็มีบางส่วนมากกว่าครึ่งที่ยังต้องการ การรองรับด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่ชัดเจนมากกว่านี้ สำหรับข้อที่ถูกต้อง ก็ยังต้องการคำอธิบายที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น เพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพราะว่าการที่เขียนเป็นลักษณะสั้น ๆ อย่างนี้ อาจทำให้เข้าใจผิดได้ #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare ----------------------------------------------------- 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯 LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare FB :: / sureandshare Twitter :: / sureandshare IG :: / sureandshare Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com TikTok :: / sureandshare ข่าวค่ำ :: สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | http://www.tnamcot.com