У нас вы можете посмотреть бесплатно Forestbook EP99 : 10 เรื่องต้องรู้ สู้ไฟด้วยไฟ [จัดการเชื้อเพลิงด้วยการชิงเผาตามหลักวิชาการ] или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
#ใช้ไฟสู้ไฟ #จัดการเชื้อเพลิง #ก่อนสรุปว่าดีหรือไม่ดี #ลองดูคลิปก่อนนะครับ ปีนี้ 2020 ยังไม่ทันเข้าฤดูไฟป่าช่วงมีนา-เมษา แต่ฝุ่นควันมาไวจากแหล่งกำเนิดอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่ป่า ฝุ่นควันจากพื้นที่ป่า น่าจะตามมาในอีก 1-2 เดือนข้างหน้านี้ ความวิตกกังวล เป็นเรื่องที่เข้าใจได้นะครับ ยิ่งล่าสุด เกิดทะเลไฟป่าท่วมทวีปออสเตรเลีย ยิ่งชวนให้ตื่นตระหนก แต่หากเราไม่คุยกันภายใต้หลักธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ เราอาจต้องหาทางออกจากม่านฝุ่นควันไปอีกนาน เอาเข้าจริง ๆ "เรากลัวควัน หรือเรากลัวไฟ?" #ที่ผ่านมาเรากลัวไฟ มาตรการที่ใช้ คือ ห้ามมีไฟ ห้ามเผาเด็ดขาด ซึ่งพิสูจน์มาหลายปีแล้วว่า ยากที่จะเป็นจริง #แต่ถ้ากลัวควัน สิ่งที่ต้องทำ คือ จัดการ "เชื้อเพลิง" อย่างชาญฉลาด และนี่คือ "10 เรื่องต้องรู้ สู้ไฟด้วยไฟ" นักวนศาสตร์ ผสานทฤษฎีทางวิศวะฯ เพื่อยืนยัน "วิทยาศาสตร์การชิงเผา" 1. "ไฟ" อยู่คู่โลกและธรรมชาติ ชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก มีภูมิปัญญา รู้จักคุณและโทษของไฟเป็นอย่างดี มีข้อมูลยืนยันว่า เมื่อนำภูมิปัญญาดั้งเดิมในการ "ใช้ไฟสู้ไฟ" มาปรับใช้กับการจัดการไฟป่าในปัจจุบัน โดยจัดการเผาเชื้อเพลิงบางส่วน (่ประมาณ 10%) สามารถลดความสูญเสียและลดค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาได้มหาศาล 2. การป้องกันไม่ให้เกิดไฟโดยสิ้นเชิง นานปีเข้า เชื้อเพลิงจะสะสมตัว ทับถมหลายชั้น หากวันใด มีไฟเข้า จะเกิดกลุ่มควันจำนวนมาก แม้เปลวไฟลามผ่านไป แต่ความร้อนยังอยู่ และผลิต "ควัน" (ซึ่งเราไม่ต้องการ) ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ลองดูกันชัด ๆ ในคลิปนะครับ มีการทดลองและงานวิจัยยืนยัน 3. "อากาศที่ไหลผ่าน" ไม่ได้เป็นตัวโหมเร่งไฟ แต่อากาศทำหน้าที่ระบายความร้อนให้ไฟ ถ้าพื้นล่างของป่า "โล่ง" อากาศไหลเข้าหาไฟได้สะดวก ช่วยลดอุณภูมิให้ไฟ เปลวไฟจะไม่แรง แต่ถ้าพื้นล่างของป่า "ทึบ" อากาศแทรกตัวยาก ไฟจะลุกกระพือ เพราะไม่มีอากาศช่วยระบายความร้อน เชื้อเพลิงในป่าผลัดใบ ไม่ได้มีแค่เพียงใบไม้ ไม้พุ่ม หญ้าแห้ง เศษกิ่งไม้ที่กองทับ ล้วนทำให้พื้นป่ารกทึบ และนี่เป็นคำอธิบายว่า เหตุใดไฟจึงลุกโหม ในป่ารกที่ไม่มีไฟเข้าเป็นเวลานาน 4. "ไม่มีไฟ ดีที่สุด" หลายคนคงคิดแบบนี้ แต่การไม่มีไฟเลย กลับเป็นที่มาของภัยอีกด้านอย่างแมลง เห็ด รา โรคพืช ที่มีโอกาสรุกเข้าทำลายป่า ลองดูภาพตัวอย่างในคลิปนะครับ 5. "ไฟ ไม่ได้เหมาะกับป่าทุกชนิด" อันนี้ น่าจะเห็นตรงกันนะครับ ในป่าบางชนิดอย่างป่าดิบ #ต้องป้องกันไฟอย่างดีที่สุด เพราะไฟเป็นโทษและทำลายระบบนิเวศ แต่ป่าส่วนใหญ่ของประเทศและของโลก สามารถปรับตัวและต้องการไฟในการรักษาโครงสร้างและองค์ประกอบของป่า เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ฯลฯ (แต่ไฟต้องไม่ถี่เกินไป เพราะจะทำให้ป่าค่อย ๆ เสื่อมโทรมลง) 6. เรายังเข้าใจความหมายของคำว่า "ชิงเผา" ไม่ตรงกัน สำหรับชาวบ้านและสังคมส่วนใหญ่ อาจคิดว่าคือการ "รีบเผา" ก่อนที่ทางการจะออกคำสั่งกำหนดวันห้ามเผา แต่ในทางวิชาการแล้ว "ชิงเผา" คือ การจัดการเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพก่อนถึงฤดูไฟป่า โดยมีการวางแผนเป็นระบบว่าจะเผาบริเวณไหน โดยใคร อย่างไร วิธีไหน และเมื่อไร 7. ความต่างของ "ไฟป่า" กับ "การชิงเผา" กรณี "ไฟป่า" ไฟจะไหม้ลามโดยอิสระ สร้างความสูญเสียเป็นวงกว้าง เป็นอันตราย ยากต่อการควบคุม และสิ้นเปลืองงบประมาณ แต่การ "ชิงเผา" ก่อนฤดูไฟป่า 2-3 เดือน เพื่อตัดตอนเชื้อเพลิงเป็นหย่อม ๆ ผลลัพธ์ที่ได้ แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด การชิงใช้ไฟเพื่อสู้กับไฟแบบนี้ ไฟจะเป็นคุณมากกว่าโทษ 8. มีงานวิจัยที่ป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช ตัวเลขเปรียบเทียบชี้ชัดว่า การปล่อยให้เกิดไฟป่า กับการชิงเผาอย่างเป็นระบบ พฤติกรรมของไฟและความสูญเสีย ต่างกันขนาดไหน? ลองดูในคลิปนะครับ 9. ส่วนคำถามที่ว่า "แล้วผลกระทบต่อสุขภาพล่ะ?" "ถึงจะชิงเผาตามหลักวิชาการ แต่ที่ไหนมีไฟ ที่นั่นก็มีควันอยู่ดี!!" คำอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ 8 ข้อข้างต้น น่าจะช่วยตอบคำถามได้นะครับว่า การจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ช่วยลดความเสี่ยง ลดปริมาณควัน และฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร เมื่อเทียบกับการปล่อยให้เกิดไฟป่าอย่างรุนแรง 10. องค์ความรู้ในการจัดการไฟ เป็นที่ต้องการในระดับนานาชาติ Global Fire Monitoring Center (GFMC) เป็นองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ(UN) ซึ่งเชื่อมโยงและสร้างปฏิบัติการเรียนรู้ เพื่อร่วมกันดูแลป่าของโลก แต่ในส่วนของไทย การชิงเผา ยังเป็นองค์ความรู้ที่คล้ายแอบซ่อนอยู่ใต้โต๊ะ ถ้าใครพูดถึงเรื่องนี้ เหมือนเป็นแง่ร้าย ยอมรับไม่ได้ หากเราไม่เปิดใจยอมรับข้อเท็จจริงและข้อค้นพบทางวิชาการเหล่านี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะคลี่คลายปัญหารอบทิศที่รุมเร้าโลกและตัวเราอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้ในที่สุด ทุกฝ่ายจะเห็นด้วยกับการจัดการเชื้อเพลิงโดยการชิงเผา แต่การทำความเข้าใจ สร้างการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และหนุนให้เกิดปฏิบัติการจริงในพื้นที่ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ยังมีโจทย์ยาก ๆ รออยู่ ทั้งในเชิงองค์ความรู้ นโยบาย และงบประมาณ ใคร? จะเข้ามาช่วยตรงไหนได้บ้าง? ฝากช่วยกันคิดต่อนะครับ #ชิงเผา #PrescribedBurning #ฝุ่นควัน #ไฟป่า #forestbook ขอบคุณ ผศ.ดร. กอบศักดิ์ วันธงไชย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. วัชรพงษ์ ธัชยพงษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Sean Michaletz and Edward A Johnson, How forest fires kill trees: A review of the fundamental biophysical processes, 2007) https://apfmag.mdmpublishing.com/how-... Science Basis for Changing Forest Structure to Modify Wildfire Behavior and Severity, USDA, 2004 California Department of Forestry and Fire Protection The Weekly Times January 15, 2020