У нас вы можете посмотреть бесплатно เพลงชุดไตรภูมิ วงมหาดุริยางค์ไทย ครุศาสตร์คอนเสิร์ต ครั้งที่ 42 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
การแสดงครุศาสตร์คอนเสิร์ต ครั้งที่ 42 เพลงชุดไตรภูมิ บรรเลงโดยวงมหาดุริยางค์ไทย วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควบคุมการบรรเลง รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ ฝึกซ้อมและปรับการบรรเลง อาจารย์วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์ อาจารย์เฉลิมพันธุ์ ฤาวิชา เพลงชุดไตรภูมิ เป็นผลงานการออกแบบและวางกรอบแนวคิดการประพันธ์และเรียบเรียงร่วมกับดูริยมิตร ของ รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ ซึ่งได้รับรางวัลชะเลิศถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2551 ในรายการอัศจรรย์ คันธรรพ เป็นบทเพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดทางศาสนาพุทธ ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นสามภพภูมิหลัก ได้แก่ มนุษยภูมิ อบายภูมิ และเทวภูมิ ที่สะท้อนถึงการเวียนว่ายตายเกิดและผลกรรม ที่ส่งผลต่อชีวิตของเวไนยสัตว์ในแต่ละภพภูมิ โดย รศ.ดร.ยุทธนา กำหนดการใช้ระดับเสียงที่ต่างกันในลักษณะขึ้น 4 และ ลง 4 ผ่านการใช้ทำนองสรภัญญะ 3 ทางเสียง ที่แตกต่างกันเพื่อแทนแต่ละภพภูมิ ดังนี้ 1. มนุษยภูมิ (ทางเสียงชวา) เป็นทำนองที่แสดงถึงการเคลื่อนไหว และความสมดุลของชีวิตมนุษย์ในโลกที่มีทั้งความสุขและทุกข์ แบบโลกีย์วิสัย 2. อบายภูมิ (ทางเสียงเพียงออบน) เป็นทำนองที่สะท้อนถึงความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน และการลงโทษของผู้ที่ต้องรับผลกรรม 3.เทวภูมิ (ทางเสียงเพียงออล่าง) เป็นทำนองที่แสดงถึงความสุขสบาย ปรีดิ์เปรมในห้วงของเวลาสุขอันเนื่องจากผลแห่งการกระทำดี มนุษยภูมิ (ช่วงที่ 1) รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ ประพันธ์ทำนอง บทร้อง อัตลักษณ์เฉพาะช่วงนี้ และเป็นการเปลี่ยนลีลาอารมณ์ไปอีกลักษณะหนึ่ง และทำนองร้อง ขึ้นใหม่ทั้งหมดโดยใช้หลักการการประพันธ์ตามขนบโบราณร่วมกับการนำเสนอแนวคิดใหม่ในการสอดแทรกการประสานเสียงอย่างตะวันตกเข้าไปด้วย ซึ่งได้วางกรอบแนวคิดหลักในการแบ่งโลกออกเป็นสามภพภูมิ เพื่อให้เหมาะสมกับแนวคิดและหลักการทางศาสนา ประการสำคัญเพื่อให้เกิดรสชาติและรสนิยมอันแตกต่าง รศ.ดร.ยุทธนา จึงใช้แนวคิดแยกการประพันธ์ โดยให้อีก 3 ภพภูมิเกิดความหลากหลายคือ ทำนองในช่วง อบายภูมิ (ช่วงที่ 2) ประพันธ์และเรียบเรียงโดย ผศ.บุตรี สุขปาน และผศ.พรชัย ผลนิโครธ ที่จะสื่อถึงความทุกข์ทรมานในนรกภูมิโดย รศ.ดร.ยุทธนา ปรับการบรรเลงเพิ่มเติมในส่วนนี้โดยใช้เทคนิคการสอดทำนองคู่เสียงต่าง ๆ ทั้งคู่เสนาะและคู่ 2 เพื่อสอดแทรกการเลียนเสียงอันน่าสะพรึงกลัวลงไปด้วย ส่วนในช่วงเทวภมูิ (ช่วงที่ 3) ประพันธ์ทำนอง บทร้อง และทำนองร้อง โดย รศ.ดร.จตุพร สีม่วง และรศ.ดร.ยุทธนา ปรับการบรรเลงในส่วนนี้เพิ่มเติมคือ การใช้ระนาดเอกมโหรี และระนาดทุ้มมโหรี แทรกลงไปในวงมหาดุริยางค์แบบเต็มจำนวน เพื่อให้สะท้อนถึง ในตอนท้าย รศ.ดร.ยุทธนา ได้สรุปความที่ต้องการจะสื่อถึงวิถีทั้ง 3 ภพภูมิ อีกครั้งโดยการประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ และใช้การบรรเลงขับร้องแบบทำนองเนื้อเต็ม และใช้ทำนองแขกมอญบางขุนพรหม สองชั้น จนเสร็จสิ้นความ ส่วน Finale ได้นำทำนองสร้อย และ เต็มทำนองของอัตราชั้น บทเพลงประพันธ์ใหม่ตั้งแต่ปี 2539 ของตนมาใช้ และตัดลงจบด้วยทำนองสารัตถะสำคัญ เช่น ตอนขึ้นต้นอีกครั้งหนึ่ง ในการนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากสาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบ สร้างสรรค์ ต่อขยายจินตนาการของบทเพลงชุดนี้อย่างงดงามสมบูรณ์อีกด้วย เพลงชุดไตรภูมินี้ ในมิติของ “ดนตรีศึกษา” ไม่เพียงแต่การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ การสอน และการสะท้อนถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นการบอกเล่า ถึงการเชื่อมโยงวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด และการรับผลกรรมจากการกระทำของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแนวคิดที่อยู่ในรากฐาน ของการพัฒนายกระดับจิตและการหลุดพ้นจากทุกข์อย่างนิรันดร์ คือ พระนิพพาน