У нас вы можете посмотреть бесплатно พระอาจารย์คึกฤทธิ์ตอบคำถามสื่อมวลชนเรื่องศีล227ข้อ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ศีลภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีทั้งหมด ๓๓๒๘ ข้อ ส่วนที่ว่า ศีลภิกษุถือศีล ๒๒๗ ข้อนั้น เป็นความเข้าใจผิด เป็นความเห็นผิดกันมาโดยตลอด พระศาสดาให้ ภิกษุ ลงอุโบสถ ทุกๆกึ่งเดือน(๑๕วัน) แต่ก็ยังจำผิด เป็น๒๒๗ข้อ แท้ที่จริงแล้วนั้น การลงอุโบสถ สวดเพียง๑๕๐ ข้อ เป็นการสวดทบทวนศีลสิกขาบทในปาติโมกข์ เพราะอริยสาวกจะหมั่นคงในศีลปาติโมกข์๑๕๐ข้อนี้ ไม่ขาดไม่ด่างไม่พล้อยไม่ทะลุ ส่วน การรักษานั้น พระศาสดาให้รักษาทั้ง๓ระบบ ๑. ศีลก่อนปาติโมกข์ สมฺปนฺนสีลา หรือ สีลสมฺปนฺโน หมายถึง หลักการศึกษาอบรมเกี่ยวกับ ลักษณะของความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์เป็นอย่างไรโดยทุกข้อจะทรงระบุว่า “แม้นี้ก็เป็น ศีลของเธอประการหนึ่ง” โดยมีข้อบัญญัติห้ามภิกษุทำมิจฉาอาชีวะ ซึ่งมีเดรัจฉาน วิชา และอื่นๆ ก็จัดอยู่ในศีลกลุ่มนี้เช่นกัน ถึงแม้พระองค์ ไม่ได้มีการปรับ อาบัติเอาไว้ แต่ได้มีการชี้โทษในส่วนของธรรมะว่า ขวางกั้นความเป็นอริยบุคคล มี ๓๖๓ ข้อ มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม -บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๖ และมหา จัตตารีสกสูตร -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๐/๒๕๒ ๒. ศีลในปาติโมกข์ สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ปาติโมกฺขสํวรสํวุตา หรือ อาทิพรหมจริยกา สิกขา หมายถึง หลักการ ศึกษาอบรม ในฝ่ายบทบัญญัติ หรือข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่พระพุทธเจ้าทรง บัญญัติไว้ เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด โดยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้างสงฆ์ยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน เรียกว่า ปาติโมกข์ มี ๑๕๐ ข้อ อาทิพรหมจริยกา สิกขา -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๐/๒๔๕ ๓. ศีลหลังปาติโมกข์ อาจารโคจรสมฺปนฺนา หรือ อภิสมาจาริกาสิกขา หมายถึง หลักการศึกษาอบรม ในฝ่ายขนบ ธรรมเนียม, มรรยาท เพื่อความอยู่ร่วมกัน อย่างผาสุกในหมู่สงฆ์ และเป็นไป เพื่อความ น่าเลื่อมใส แก่ผู้พบเห็น มีมากว่า ๑๙๔๐ ข้อ อภิสมาจาริกาสิกฺขา -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๙/๒๔๕ ศีลที่พระศาสดาทรงบัญญัติทั้งหมดมี๓ระบบ ๑.อธิศีลสิกขา ๒.อธิจิตสิกขา ๓.อธิปัญญาสิกขา เนื้อหาว่าด้วยศีล ในกลุ่ม ของสัมปันนสีลา อันเป็นศีลในส่วนของความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ แบ่งเป็น๓ส่วน คือ ๑. จุลศีล ว่าด้วยผู้มีศีลไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักทรัพย์ ไม่พูดคำหยาบ. ๒. มัชฌิมศีล ว่าด้วยผู้มีศีลไม่สะสมของบริโภคไม่ดูการละเล่น ไม่เล่นการพนัน ไม่ตกแต่งร่างกาย ไม่คุยเดรัจฉานกถา. ๓. มหาศีล ผู้มีศีลไม่เป็นหมอดู ไม่ทำนายเรื่องต่างๆ ไม่ปลุกเสกทำน้ำมนต์ และกล่าวถึงอานิสงส์ของความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์. คัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (สุตตันตปิฎก เล่มที่๑) ภิกษุอยู่๑-๓รูปไม่ต้องสวดปาติโมกข์ แต่ให้เตรียมกวาดลาน เตรียมน้ำฉันประทีปโครมไฟ เพื่อภิกษุที่จะมาทั้ง๔ทิศ เมื้อเห็นว่ามืดแล้วค่ำแล้ว ได้เวลาเเล้ว ไม่มีใครมา ก็เพียงกล่าว บริสุทธิ์ คนเดียวหรือกับอีก๒รูปที่จำวัดอยู่ด้วยกัน แต่ถ้าอยู่จำวัดตั้งแต่๔รูปขึ้นไป ต้องลงอุโบสถ สวดปาติโมกข์ ทบทวนสิกขาบท.