У нас вы можете посмотреть бесплатно 21-030 ปริพาชก или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
พระไตรปิฎก http://pratripitaka.com ๑๐. ปริพพาชกสูตร ว่าด้วยปริพาชก {๓๐}[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี- ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า “ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนภิชฌาเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ๒. อพยาบาทเป็นธรรมบท ฯลฯ ๓. สัมมาสติเป็นธรรมบท ฯลฯ ๔. สัมมาสมาธิเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืน๑อนภิชฌาที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ บุคคลนั้นจักบอกคืนอนภิชฌาที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะ แรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์ บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ บุคคลนั้นจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์ บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว บัญญัติบุคคลผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์นั้น จงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นจัก บอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ ว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์ บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสมาธิที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง ............... Read More http://pratripitaka.com/21-030/