У нас вы можете посмотреть бесплатно แบบฝึกหัด ไล่มุล่ง สองชั้น 5 รอบ или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
"การไล่" คือการฝึกฝีมือของนักดนตรีไทย ที่มุ่งเน้นฝึกทั้งด้านพละกำลังความแข็งแรงของร่างกายและฝึกน้ำอดน้ำทนของจิตใจ นักดนตรีที่มีฝีมือต่างต้องผ่านการไล่แทบทั้งสิ้น วิธีการไล่นั้นมีรูปแบบมากมาย บางรูปแบบเป็นเคล็ดลับของแต่ละสำนัก แต่สิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือระยะเวลาของการไล่ จะต้องนานกว่าการบรรเลงปกติ ทั้งนี้เพื่อให้นักดนตรีมีความพร้อมสำหรับการบรรเลงในทุกรูปแบบ เพลงฉิ่งมุล่งเป็นแบบฝึกหัดยอดนิยมสำหรับไล่มือของเครื่องดนตรีต่าง ๆ อย่างแพร่หลายทั้งปี่พาทย์และเครื่องสาย ด้วยสังคีตลักษณ์ที่เอื้ออำนวยให้สามารถกลับต้นได้อย่างไร้ข้อจำกัด ทำให้เพลงมุล่งสามารถทำเวลาได้อย่างอิสระ ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ฝึกไล่มือเพิ่มพละกำลังได้เป็นอย่างดี เพลงฉิ่งมุล่ง สองชั้น เป็นด่านทดสอบที่ท้าทายอีกระดับของนักดนตรีไทย เนื่องจากความยาวของเพลงนั้นมากเป็นสองเท่าของฉิ่งมุล่งชั้นเดียว อีกทั้งสำนวนเพลงที่สลับซับซ้อน ยากต่อการแปรทำนอง เพลงฉิ่งมุล่ง สองชั้น จึงเป็นปราการด่านที่สองของนักดนตรีที่ผ่านการฝึกไล่มือเพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียวมาจนเชี่ยวชาญแล้ว มือฆ้องที่เป็นทำนองหลักเพลงมุล่ง สองชั้น ที่ปรากฎในวิดีโอนี้ เป็นสำนวนของครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ที่ประพันธ์ไว้ ราวพ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะพบว่าสำนวนที่ใช้ในการประพันธ์เพลงนี้มีความคมคาย และต้องใช้กำลังในการบรรเลงมาก ทำให้เหมาะแก่การฝึกไล่มือสำหรับฆ้องวงใหญ่เป็นอย่างยิ่ง เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการไล่คือ "จังหวะ" ผู้ที่ฝึกไล่มือจะต้องมีผู้ควบคุมจังหวะไม่ให้แนวในการไล่ช้าลงจากการเมื่อยล้า คลิปวิดีโอนี้จึงมีวัตถุประวงค์เพื่อควบคุมจังหวะของผู้ที่ต้องการฝึกไล่มือแต่ไม่มีผู้ควบคุมจังหวะให้ นอกจากนั้นการที่ได้ไล่มือกับทำนองหลักจะได้ประโยชน์ในด้านการได้ซึมซับทำนองหลักของเพลง ทำให้มีความเข้าใจในทำนองหลักว่ามีความสัมพันธ์กับสำนวนกลอนของเครื่องดนตรีที่กำลังไล่อยู่เช่นไรบ้าง ** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ ** ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ ฉิ่งและกรับ : เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20 Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S