У нас вы можете посмотреть бесплатно พิธีบวงสรวง องค์ท้าวนาคพันธ์ปริวัตรนาคราช(พญานาคอสูร) วัดถ้ำบาดาล มวกเหล็ก สระบุรี 17มิถุนายน2566 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
แนะนำกำเนิดแบบโอปปาติกะ โดยเกิดจากฤทธิ์บันดาลขององค์พระหริหระ(ภาครวมของพระศิวะและพระนารายณ์) โดยมีเสี้ยวจิตแบ่งเป็นพลังตั้งต้น ดังนั้นองค์นาคพันธ์จึงเป็นพญานาคที่สืบสายมาจากพระศิวะและพระนารายณ์โดยตรง เป็นดั่งจิตตเทวะของพระหริหระในภพภูมิพญานาค ที่ถูกแบ่งจิตมาเพื่อทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา และสั่งสมบารมีให้แก่จิตกำเนิดขององค์นาคพันธ์ที่จะต้องไปทำหน้าที่สำคัญในยุคของพระศรีอาริยเมตไตรย เหตุเพราะด้วยองค์นาคพันธ์เกิดจากฤทธิ์แห่งพระหริหระ ด้วยพลังแห่งพระศิวะนาฏราช ซึ่งเป็นพลังแห่งการหมุนวนของกระแสสองกระแสที่ตรงกันข้าม แต่สมดุลย์ซึ่งกันและกัน พลังแห่งการสรรสร้างและทำลายล้าง ดั่งเช่นการเกิด และการดับ ที่ตรงกันข้ามแต่ก็สมดุลย์ซึ่งกันและกัน มีเกิดแล้วมีดับ มีดับแล้วมีเกิด หมุนวนเป็นพลังแห่งวัฏฏสงสารที่ตรงกันข้ามแต่สมดุลย์ ผลแห่งการสรรสร้างด้วยวงแหวนแห่งศิวะนาฏราชจึงแสดงออกมาเป็น เทพาสุระนาคราช คือเป็นพญานาคที่เป็นเทพอสูร คือครึ่งเทพครึ่งอสูร แต่ครึ่งที่เป็นอสูรนั้นเป็นอสูรฝั่งธรรมะที่ดูแลพลังขั้วลบ ด้วยเหตุที่องค์นาคพันธ์กำเนิดจากฤทธิ์แห่งพระศิวะและพระนารายณ์ องค์นาคพันธ์จึงมีตรีศูลที่แบ่งเสี้ยวมาจากตรีศูลแห่งพระศิวะ และจักรที่แบ่งเสี้ยวมาจากจักรแห่งพระนารายณ์เป็นเทพาวุธที่คอยคุ้มครององค์นาคพันธ์ ส่วนเทพาวุธประจำตัวองค์นาคพันธ์ เป็นเทพานาคาวุธ คืออาวุธแห่งเทพสายพญานาค คือ พระแสงศร (ยังไม่ปรากฏชื่อของพระแสงศร) โดยพระแสงศรนี้มีลักษณะหัวคันศรเป็นรูปพญานาค ๗ เศียร และหางคันศรเป็นรูปหางพญานาค โดยมีเกล็ดเป็นเพชร ดวงตาพญานาคเป็นเพชรเพทายสีแดงก่ำ ส่วนลูกศรนั้นเป็นวัชระที่ปลายหัวลูกศร องค์นาคพันธ์ กำเนิดมาเพราะหน้าที่ในพระพุทธศาสนาที่จักต้องพิทักษ์ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งทุ่งกุลา และรักษาผลบุญของผู้แสวงธรรมในทุ่งกุลา ด้วยภาระหน้าที่นี้องค์นาคพันธ์จึงเป็นเทวนาคราช แห่งหอเทพกษัตริย์นาคา องค์เดียวที่มิได้พำนักอยู่ภายในหอเทพกษัตริย์นาคา (สถานที่ประดิษฐานรักษาสังขารของพระโพธิสัตว์ภูริทัตตนาคราช) ชาติภพแห่งองค์นาคพันธ์นั้นเคยกำเนิดเป็นภิกษุในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้บำเพ็ญบารมีมาเพื่อจักไปจุติเป็นหนึ่งในพระอสีติมหาสาวกแห่งพระศรีอริยเมตไตรย ท้าวนาคพันธ์ปริวัตร เป็นพญานาคในวรรณะนาคราช ผู้ครองนครหริหราลัย ในภูมิทิพย์ ซึ่งเป็นภพภูมิที่ซ้อนอยู่ทีเมืองหริหราลัยซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรเจนละที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ เป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าองค์นาคพันธ์มีอายุมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ จนถึงปัจจุบันท้าวนาคพันธ์ปริวัตรนาคราช ปราสาทนาคพันธ์ พญานาคพันธ์มีโอรส ๒ พระองค์ องค์หนึ่งมีฤทธิ์อย่างมากเป็นอาวุธ ส่วนอีกองค์หนึ่งมีปัญญาอย่างมากเป็นศาสตรา ซึ่งในจารึกประวัติของปราสาทนาคพันบางฉบับ ก็ปรากฏชื่อของพญานาคสององค์ที่พันอยู่รอบปรางค์ปราสาทประธานของปราสาทนาคพันว่าองค์หนึ่งชื่อ ท้าวนันทะนาคราช และอีกองค์หนึ่งชื่อ ท้าวอุปานันทะนาคราช หากแต่ยังไม่ทราบว่าองค์นันทะ หรือองค์อุปาปะ องค์ไหนที่ใช้ฤทธิ์ องค์ไหนที่ใช้ปัญญา พิษของนาคกับปราสาทนาคพันธ์ ในพระไตรปิฏกได้กล่าวถึงพิษของพญานาคไว้ ๔ ประเภทด้วยกัน กฏฐ์มุข พิษซึ่งทำให้แข็งไปหมดทั้วตัว ยุติการทำงานทั้งปวง ปูติมุข พิษซึ่งทำให้ธาตุน้ำกำเริบ เน่าบวมเสื่อมสลาย อัคคิมุข พิษซึ่งทำให้ธาตุไฟกำเริบ เกิดอาการเร่าร้อน แผลเป็นริ้วดั่งไฟ สัตถมุข พิษรวดเร็วรุนแดงดั่งต้องอสนีบาต อธิบายได้ว่าเหมือนโดนฟ้าผ่า ลักษณะของพิษนาคทั้ง ๔ ประการนี้มีปรากฏในพระอภิธรรมมัตถสังคหฏีกา ปริเฉทที่ ๕ ซึ่งจัดหมวดหมู่พญานาคตามลักษณะพิษที่แสดงผล ซึ่งตามความเชื่อบางตำนาน องค์นาคพันธ์ นั้นสามารถพ่นพิษได้ทั้ง ๔ ชนิด และใช้พิษนั้นในการรักษาขอบเขต และควบคุมธาตุทั้ง ๔ ในอาณาเขตด้วยฤทธิ์แห่งพิษนั้น อาจเป็นด้วยเหตุแห่งองค์นาคพันธ์เป็นผู้คุมพิษนาคแห่งธาตุทั้ง ๔ ที่มีอำนาจในการรักษาและถอนอาถรรพ์ ปราสาทนาคพันธ์แห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงมีทางน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ล้นจากปราสาทปรางค์ประธานออกมาในทิศทั้ง ๔ โดยน้ำที่ไหลออกมาในแต่ละทิศนั้นใช้สำหรับรักษาโรคตามธาตุของผู้ป่วย โดยน้ำที่ไหลออกทางช่องน้ำรูปหัวช้างทางทิศเหนือใช้รักษาผู้ป่วยธาตุน้ำ น้ำที่ไหลออกทางช่องน้ำรูปหัวสิงห์ทางทิศใต้ใช้รักษาผู้ป่วยธาตุไฟ น้ำที่ไหลออกทางช่องน้ำรูปหัวม้าทางทิศตะวันออกใช้รักษาผู้ป่วยธาตุลม และน้ำที่ไหลออกทางช่องน้ำรูปหัวมนุษย์ทางทิศตะวันตกใช้รักษาผู้ป่วยธาตุดิน พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ นรคหริหราลัย เทือกเขาพนมกุเลน นครหริหราลัยแห่งภพภูมิมนุษย์เป็นเมืองหลวง ๑ใน ๓ เมืองหลวงแห่งอาณาจักรเจนละที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ สร้างขึ้น โดยเป็นนครที่บูชาองค์พระหริหระซึ่งเป็นเทพองค์เดียวกับที่สร้างองค์นาคพันธ์ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ทรงโปรดให้สร้าง “นครหริหราลัย” ขึ้นด้วยต้องการย้ายราชธานีจาก “อมเรนทรปุระ” มาที่ นครหริหราลัย หากหลังจากสร้างนครหริหราลัยได้ไม่นาน พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ก็ทรงสร้างราชธานีแห่งใหม่ขึ้นอีก ด้วยที่พระองค์ทรงเป็นวงศ์แห่งพระอาทิตย์ที่สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากอาณาจักรฟูนัน พระองค์จึงทรงโปรดให้สร้างราชธานีใหม่ขึ้นมาบนเทือกเขาพนมกุเลนที่เปรียบเสมือนเขาไกรลาศแห่งพระอิศวรเพื่อสถาปนาพระองค์เองเป็นเทวราชาตามลัทธิไศวนิกาย โดยทรงโปรดให้สร้างเทวะสถาน และราชธานีแห่งใหม่ตามอย่างบรรพกษัตริย์ แล้วพระราชทานนามเขากุเลนว่า “มเหนทรบรรพต” และขนานนามราชธานีใหม่ว่า “มเหนทราปารวัตตา” หรือ “มเหนทรปุระ” หากแต่หลังจากสร้างราชธานีทั้ง ๓ แล้วพระองค์กลับเลือกที่จะกลับมาประทับอยู่ที่ราชธานีแรกคือ “นครหริหราลัย” จนสิ้นพระองค์ หากเปรียบเทียบพื้นที่ของอาณาจักรเจนละในอดีตที่มี “นครหริหราลัย” เป็นราชธานีกับพื้นที่ในปัจจุบัน อาณาจักรเจนละที่บูชาองค์พระหริหระนั้นกินอาณาเขตมาถึงภาคอีสานของประเทศไทยในปัจจุบัน หรือผืนดินศักดิ์สิทธิ์จะกินอาณาเขตเช่นเดียวกับพื้นที่ของอาณาจักรเจนละในอดีต