У нас вы можете посмотреть бесплатно เร็วนี้ ถนนตัดใหม่เชื่อม สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 6 ( อุบลราชธานี - สาละวัน ) или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ดูคลิปวีดิทัศน์ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 • สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่6 (ดูประกอบโครงการถนนเชื่อมสะพาน) โครงการสำรวจออกแบบ และ ศึกษาความเหมาะสม ทางหลวง 4 ช่องจราจรแนวใหม่ จากทางหลวงหมายเลข 202 บรรจบ สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่6 ( อุบลราชธานี ) . กรมทางหลวงได้จัดทำแผนพัฒนา ทางหลวงโดยกำหนดตามทิศของการพัฒนาระบบคมนาคม และขนส่ง ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ซึ่งโครงข่ายสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 ( อุบลราชธานี - สาละวัน ) ถือเป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่ง ในการเชื่อมโยงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC ) ที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ และการค้าบริการชายแดน กับ สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันได้มีการ ศึกษา สำรวจ และออกแบบ เป็นที่เรียบร้อย . จากผลการศึกษา ด้านจราจร และขนส่ง ได้มีข้ เสนอแนะให้มีการต่อขายแนวถนนโครงการ เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 2050 และทางหลวหมายเลข 202 เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้สามารถเปิดใช้บริการได้ ไปพร้อมกับ สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 6 . ดั่งนั้น สำนักสำรวจ และออกแบบ กรมทางหลวง จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ให้ดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และศึกษาความเหมาะสม ทางหลวง 4 ช่องจราจรแนวใหม่ จากทางหลวงหมายเลข 202 บรรจบ สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 6 ( อุบลราชธานี ) โดยพิจารณาเสนอแนวทางเลือก และรูปแบบทางเลือกของโครงการ เพื่อออกแบบรายละเอียดให้มีความเหมาะสมมากที่สุด . ในการกำหนดแนวเส้นทางเลือกของโครงการ ของแนวเส้นทาง ในการเป็นประตูเชื่อมโยง กับ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( GMS ) โดยมุ่งหวังให้จังหวัดอุบลราชธานี คือศูนย์กลางของเส้นทางเศรษฐกิจใหม่ แบบคู่ขนาน ตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงการค้าระหว่าง ทะเลจีนใต้ ท่าเรือดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กับทะเลอันดามัน เมืองทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย . ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อมีโครงการ 1.ด้านนโยบาย พลัดดันให้เกิดนโยบายและความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างไทยกับลาว 2.ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุน การค้าชายแดน และการจ้างงาน 3.ด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4.ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินสองฝั่งถนน ขยายตัวอย่างรวดเร็ว 5.ด้านโครงข่ายการคมนาคม ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการพัฒนาในด้านต่างๆ . รูปแบบถนนขอโครงการ เป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร มีเกาะกลางแบบร่อง เพื่อแบ่งทิศทางการจราจร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ บริเวณเกาะกลางถนน และมีเขตทางช่วงปกติ กว้าง 60 เมตร โดยแนวเส้นทางโครงการ มีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 202 บริเวณ บ.ภูพนมดี ต.หนองผือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี แนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2232 ตัดกับทางหลวงชนบทหมายเลข อบ.3005 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านทางหลวงชนบทหมายเลข อบ.4076 จากนั้นเส้นทางจะเบี่ยงขึ้นไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อไปบรรจบ สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 6 ( อุบลราชธานี ) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ บ.นาตาล ต.นาตาล อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี เป็นจุดสิ้นสุดโครงการ . โดยแนวเส้นทางโครงการตัดผ่านทางหลวงสายหลักทั้งหมด 3 เส้นทาง ประกอบด้วย จุดตัดทางหลวงหมายเลข 202 ทางแยกนี้บริเวณจุดเริ่มต้นโครงการ โดยตัดการทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ กม.366+000 ที่เป็นเส้นทางหลักในการ จากอำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอเขมราฐ โดยจากการวิเคราะห์ปริมาณจราจรพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมคือ " รูปแบบวงเวียน " เนืองจากทางแยกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ รถจะใช้ความเร็วไม่สูงมาก ซึ่งสามารถรองรับปริมาณการจราจรได้ จนถึงปี 2590 โดยจะมีการเวนคืนพื้นที่ เพื่อให้สามารถสร้างสะพานเลี้ยวขวา ทิศทางจากอำเภอเมืองอำนาจเจริญ เลี้ยงขวายกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข 202 เข้าสู่ถนนโครงการได้ในอนาคต จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2232 ทางแยกนี้อยู่บริเวณ กม.2+312 ของถนนโครงการ(ทล.202) โดยตัดกับทางหลวงหมายเลข 2232 ซึ่งเป็นเส้นทางหลัก การขนส่งจากอำเภอกุดข้าวปุ้น - อำเภอชานุมาน และอำเภอเขมราฐ โดยจาการวิเคราะห์ปริมาณการจราจรพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมคือ ก่อสร้างสะพานขนาด 4 ช่องจราจร บนถนนของโครงการ ยกระดับข่ามทางหลวงหมายเลข 2232 พร้อมทั้งออกแบบวงเวียนใต้สะพาน เพื่อรองรับการจราจร ในทิศทางเลี้ยวขวา ส่วนทิศทางเลี้ยวซ้ายสามารถเชื่อมเลี้ยวซ้ายได้ปกติ ที่ถนนระดับพื้น จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2050 ทางแยกนี้อยู่บริเวณ กม.19+815 ของถนนโครงการ(ทล.202) โดยตัดกับทางหลวงหมายเลข 2050 ประมาณ กม.86+000 ที่เป็นเส้นทางหลักการขนส่งจาก อำเภอเมืองอุบลราชธานี - เขมราฐ โดยจากการวิเคราะห์ปริมาณการจราจรพบว่า คือ ก่อสร้างสะพานขนาด 4 ช่องจราจร บนถนนของโครงการ ยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข 2050 พร้อมทั้งก่อสร้างสะพานเลี้ยวขวา จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ไป สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่6 โดยการเลี้ยงเขาในทิศทางอื่น ให้ใช้จุดกลับรถ ของถนนโครงการ ส่วยทิศทางเลี้ยวซ้าย สามารถเชื่อมเลี้ยวซ้ายได้ปกติที่ถนนระดับพื้น . โดยมีระยะทางประมาณ 33.8 กิโลเมตร . ที่มา : กรมทางหลวง #อุบลราชธานี #อุบล #ทาวหลวงแนวใหม่ #เดชอุดม #พิบูลมังสาหาร #เขมราฐ #สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่6 #สะพานข้ามโขง #อีสาน #ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ #กรมทางหลวง #ถนน #แม่น้ำโขง #ทล24 #ทล202