У нас вы можете посмотреть бесплатно Ep.108 ทุเรียนพันธุ์ชะนี หรือ ชะนีไข่ เป็นคนละพันธุ์กับชะนีเกาะช้าง ซึ่งต่างอยู่ในกลุ่มลวง или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
ทุเรียนพันธุ์ชะนี หรือ ชะนีไข่ เป็นพันธุ์หลักในกลุ่มลวง ที่มีการส่งเสริมใช้เป็นต้นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ที่ทำให้เกิดพันธุ์ลูกผสมอื่นๆ ออกมาอีกมากมาย เช่น จันทบุรี 1 (แม่ชะนี-พ่อหมอนทอง), จันทบุรี 2 (แม่ชะนี-พ่อพวงมณี), จันทบุรี 3 (แม่ก้านยาว-พ่อชะนี) เป็นต้น อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง 110-120 วันหลังดอกบาน ทุเรียนชะนีที่ขึ้นทะเบียนแล้ว เช่นชะนีก้านยาว ชะนีกิ่งม้วน ชะนีน้ำตาลทราย ชะนีชาญชัยจันทบุรี ชะนีใหญ่ และ (ชะนี) พื้นเมืองเกาะช้าง เป็นต้น #ทุเรียนพันธุ์ใหม่ของจังหวัดตราด ชื่อพันธุ์ พื้นเมืองเกาะช้าง (Phuenmueang Kochang) ทะเบียนพันธุ์ 00121 (ตาม พรบ.พันธุ์พืช 2542 กรมวิชาการเกษตร) ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus Murray สถานภาพพันธุ์ พันธุ์พื้นเมือง ลักษณะประจำพันธุ์ (characteristics) ผล (fruit) ทรงผล (fruit shape) กลมรี (oval) ปลายผล (fruit apex) แหลม (pointed) ลักษณะฐานผล (fruit base) บุ๋ม (depressed) ความยาวก้านผล (fruit peduncle length) ปานกลาง (medium) 5-11 เซนติเมตร รูปร่างก้านผล (fruit peduncle shape) ขอบนูน (lip) หนามผล (fruit spine) รูปร่างหนามผล (fruit spine shape) นูน (convex) หนามผลรอบจุดศูนย์กลางปลายผล (fruit spine at the center point of distal) มีหนาม (present) หนามปลายผล (fruit spine apex) หนามตรง (vertical spine) หนามรอบขั้วผล (proximal spine) หนามงุ้มเข้า (hooked) ทุเรียนพื้นเมืองเกาะช้าง (ชะนีเกาะช้าง) เป็นทุเรียนพันธุ์ใหม่พันธุ์หนึ่งของไทย หรือของโลก อยู่ในกลุ่มลวง กลุ่มเดียวกันกับพันธุ์ชะนี พันธุ์ดั้งเดืม ยืนยันอีกครั้งจากตัวอย่างทุเรียนชะนีเกาะช้าง 1 กล่อง 4 ลูกที่ซื้อมาสองพันกว่าบาท และได้ตรวจดูลักษณะภายนอกอย่างละเอียดแล้ว เป็นทุเรียนพันธุ์ใหม่ ในกลุ่มลวง ให้ดูที่หนามรอบขั้วผลโค้งนูนปลายมีหนามสั้นๆ แตกต่างจากพันธุ์ชะนี และก้นผลในชะนีไม่มีหนามแหลมตรงกลาง ทุเรียนชะนีเกาะช้าง (Cha Nee Koh Chang Durian) จังหวัดตราด จะมีใครทราบไหมว่า ทุเรียนเกาะช้างได้จดทะเบียนพันธุ์ทุเรียนกับกรมวิชาการเกษตรมาตั้งแต่ พรบ. พันธุ์พืช พ.ศ. 2542 กระทรวงเกษตรฯ เป็นทุเรียนพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจากพันธุ์ชะนีดั้งเดิม ชื่อพันธุ์ พื้นเมืองเกาะช้าง (Phuenmueang Kochang) ทะเบียนพันธุ์ 00121 เป็นชื่อในประกาศของทางราชการ แต่ทางจังหวัดมีการยื่นจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เพิ่มเติมซึ่งเป็นการค้ามากกว่าวิชาการ ที่ยังตีประเด็นไม่แตก เพราะมีชื่อหลักที่เป็นเอกลักษณ์ก็ยังเรียกกลับไปกลับมา (ทุเรียนชะนีพื้นเมืองเกาะช้าง ทุเรียนชะนีเกาะช้าง ทุเรียนชะนี GI เกาะช้าง) ทุเรียนพันธุ์ใหม่มีค่าและมีความหมายลึกซึ้งมากมายกว่า ทุเรียน GI ที่อาศัยภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างช่วยในการแยกแยะและบ่งบอก หากสวนอื่นๆ บนเกาะช้างมีการปลูกทุเรียนชะนีเพิ่มเติมโดยการนำต้นกล้าชะนีจากแหล่งอื่นเข้าไปปลูกในเกาะช้างโดยไม่รู้ถึงความแตกต่างที่แท้จริงของทุเรียนชะนีเกาะช้าง (พันธุ์ใหม่) ต่อไปทุเรียนที่นำไปปลูกนี้ก็จะเป็นได้แค่ทุเรียนชะนี GI เท่านั้น ใครเห็นความสำคัญตรงนี้บ้างที่จะรักษาเอกลักษณ์ที่สำคัญนี้ไว้ อีกกรณีหนึ่งทุเรียนชะนีห้วงน้ำขาว-อ่าวใหญ่ ที่คนตราดทราบกันดีว่าอร่อยกว่าทุเรียนชะนีทั่วไป มีการจองและซื้อซึ่งอาจจะต้องจ่ายในราคาที่สูงกว่าปกติ เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย หากจะโปรโมทให้เป็นทุเรียน GI อีกแหล่งหนึ่งก็ไม่น่าผิด แต่ต้องตรวจสอบว่าไม่ใช่ทุเรียนพันธุ์ใหม่อีกพันธุ์ซึ่งใครจะให้คำตอบได้ถ้าไม่มีนักวิชาการด้านอนุกรมวิธานพันธุ์ทุเรียนลงไปทำ ...สำหรับบริเวณตำบลอ่าวใหญ่ และตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียนและไม้ผลจำนวนมาก แต่พื้นที่บริเวณนี้มีความพิเศษกว่าบริเวณอื่นๆในภาคตะวันออก เนื่องจากเป็นทุเรียนที่ออกก่อนพื้นที่อื่นๆ โดยลักษณะภูมิประเทศ : เป็น แหลมยื่นออกไปในทะเลอ่าวไทย ดิน : เป็นดินร่วนปนทราย ประกอบกับมีลมทะเลตะวันออกเฉียงเหนือ และ ลมทะเลตะวันตกเฉียงใต้ พัดตลอดเวลา ทำให้ดินบริเวณนี้ แห้งเร็วกว่าพื้นที่อื่น ส่งผลให้ทุเรียนในพื้นที่ตำบลเอาใหญ่แก่เร็วกว่าพื้นที่อื่น 10 ถึง 20 วัน กระดุม 80-85 วัน ชะนี 90 วัน หมอนทอง 100 – 110 วัน และการดูแลของเกษตรกรที่ใช้ภูมิปัญญาและดูแลผลผลิตตลอดฤดูกาล จึงทำให้การเกษตรกรที่นี่สามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนได้ก่อนที่อื่นซึ่งทำให้ได้รับราคาของผลผลิตที่ดีกว่าทุเรียนที่เก็บเกี่ยวในภายหลัง... ทุเรียนชะนีเกาะช้าง คุณภาพเยี่ยม มีแร่ธาตุจากดินภูเขาไฟและไอทะเล “ทุเรียนชะนีเกาะช้าง” เป็นทุเรียนประจำจังหวัดตราด เป็นของดีอีกอย่าง ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งที่มีมานานกว่า 40-50 ปีแล้ว และวันนี้องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ได้นำขึ้นมาแต่งตัวใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างน่าสนใจ ด้วยคุณสมบัติพิเศษผลการทดสอบทางวิชาการจาก บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่ามีวิตามินอี 9.45 mg/100 g (มิลลิกรัม/100 กรัม) และธาตุไอโอดีน 54.27 ug/100g (ไมโครกรัม/100 กรัม) ซึ่งวิตามินอี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ส่วนสารไอโอดีนเป็นสารที่มีประโยชน์กับร่างกาย หากอยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่น่าเสียดายที่ทุเรียนพันธุ์ชะนีเกาะช้างที่ผ่านมา ขายได้ราคาต่ำ เพราะต้องขายแบบเหมาสวน เช่นเดียวกับทุเรียนทั่วไป และวันนี้ได้ลดปริมาณลง เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองหรือพืชผลชนิดอื่นที่ราคาดีกว่า... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/technologyc...