У нас вы можете посмотреть бесплатно ดูเนื้อพระและมวลสารในพระผงสุพรรณ ๑ ในพระเครื่องเบญจภาคี | EP 73 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ #พระเครื่อง #พระผงสุพรรณ #สอนดูพระเครื่อง นักสะสมบางคนจะบอกว่าพระผงสุพรรณดูง่าย แต่บางคนจะบอกว่าดูยากที่สุดในพระเบญจภาคึ คลิปนี้ ๔ มีนาจะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมนะครับ พระผงสุพรรณเป็นหนึ่งในพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูง มีพบทั้งเนื้อดินและเนื้อชินหรือที่เรียกกันว่าพระผงสุพรรณยอดโถ ด้วยความที่เป็นพระเครื่องยอดนิยมและมีราคาเปลี่ยนมือค่อนข้างสูง การจะหาไว้ใช้พุทธคุณ ต้องดูรายละเอียและการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติให้ดี เราจะมาเช็คพระผงสุพรรณทีละจุดกันนะครับ สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ คลิปนี้ ๔มีนาขออาราธนาพระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อดินมาดูรายละเอียดกัน โดยเริ่มต้นดูกันที่พุทธศิลป์ พุทธศิลป์ของพระผงสุพรรณ เป็นศิลปะในยุคอู่ทอง เป็นพระเครื่องปางมารวิชัย ประทับอยู่บนฐาน บนใบหน้าจะเห็นตา จมูก ปาก ใบหูยาวใหญ่ สวมหมวกคล้ายฤาษี บางพิมพ์จะเห็นเส้นคอ รวมถึงเม็ดกลมและเส้นบริเวณร่องแขนด้านซ้าย หน้าอกนูนหนา มือทั้ง ๒ ข้างมีขนาดใหญ่คล้ายสวมถุงมือ ด้านหลังจะเรียบ ส่วนมากจะเห็นเป็นรอยนิ้วมือกดยุบลงไป การตัดขอบพระผงสุพรรณจะไม่ตายตัว มีทั้งตัดเป็น ๓ เหลี่ยม ๔ เหลี่ยม และ ๕ เหลี่ยม ทั้งนี้พุทธลักษณะต่างๆ และขนาดของพระผงสุพรรณอาจจะไม่ได้เหมือนกันในทุกองค์ อาจจะเป็นเพราะว่าคนละแม่พิมพ์ หรือการกดพิมพ์ติดชัดไม่เท่ากัน และเราไม่รู้แน่ชัดว่าในช่วงเวลานั้นมีวาระการสร้างพระพิมพ์ผงสุพรรณกี่ครั้ง ดังนั้นเราจะดูบนพื้นฐานของพุทธศิลป์และพุธลักษณะเท่านั้น และไม่ใช้ตำหนิพิมพ์เป็นเครื่องตัดสินพระกรุที่เราไม่รู้จักแม่พิมพ์พระทั้งหมด พระผงสุพรรณองค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ หน้าแก่ ตัด ๕ เหลี่ยม พระผงสุพรรณมีหลายพิมพ์นะครับ การสร้างต้นแบบพระและนำไปสร้างเป็นแม่พิมพ์เพื่อใช้กดพิมพ์พระ ไม่น่าจะมีแม่พิมพ์เดียว อันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก ทำให้พิมพ์และตำหนิพิมพ์ในพระเก่าจะใช้เป็นเครื่องตัดสินความแท้ไม่ได้เลย และพี่ๆ เพื่อนๆ บางคนที่เคยอ่านหนังสือพระเก่าๆ ที่เกิน ๒๐ หรือ ๓๐ ปีขึ้นไป หรือยุคหนังสือขาวดำก็น่าจะเคยได้เห็นพระผงสุพรรณพิมพ์แปลกตาที่นักสะสมนำมาให้ศึกษาอีกหลายพิมพ์ทรง พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องศิลปะอู่ทอง และจากจารึกแผ่นลานทองประเมินช่วงเวลาการสร้างครั้งแรกว่าอยู่ในช่วงปี พ.ศ.๑๘๐๐ ปลายๆ จนอาจจะถึงปี พ.ศ. ๒๐๐๐ ได้ดังนั้นเราจะเช็คพระผงสุพรรณองค์นี้ โดยจะต้องมีธรรมชาติที่ผ่านอายุเกิน ๕๕๐ ปีไปจนถึงเกือบ ๗๐๐ ปีได้ เนื้อพระ ธรรมชาติของเนื้อพระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินละเอียดมาก ซึ่งจะต่างกับพระซุ้มกอ และพระนางพญา ถ้า๔ มีนาจะเปรียบก็เหมือนดินพระผงสุพรรณมีการกรองละเอียดมากและเนียนมาก ตามบันทึกลานทองว่าไว้ว่าเนื้อพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินละเอียดผสมกับแร่ ผงเกษรและใช้น้ำว่านเป็นตัวประสาน จึงได้พระเนื้อดินละเอียดแล้วนำไปเผาด้วยความร้อนให้เนื้อพระเซ็ตตัวและมีความคงทน เรามาดูมิติขององค์พระกันก่อนนะครับ เนื้อพระในส่วนที่อยู่สูง อย่างเช่นใบหน้า หน้าอก และช่วงขา ในขณะที่กดพิมพ์จะอยู่ด้านล่าง เมื่อมีการกดดินลงในพิมพ์พระและประทับรอยนิ้วมือ เนื้อพระส่วนนี้จะดูฉ่ำเพราะว่าเนื้อพระจะอมน้ำว่านไว้มากกว่า เวลาที่เราดู เราจะเห็นเหมือนเป็นรอยช้ำๆ อยู่ในเนื้อพระ ไม่ใช่การแต่งสีเป็นแถบๆ ซึ่งลักษณะแบบนี้เป็นส่ิงที่ทำให้องค์พระดูมีมิติ มีความลึกตื้นให้เราเห็น เนื้อพระตามร่องต่างๆ มักจะมีราดำหรือราขาวขึ้นสะสมอยู่ ซึ่งจุดนี้เป็นธรรมชาติของพระเนื้อดิน คราบราจะมีลักษณะเป็นจุดๆ รวมตัวกัน แห้งๆ ฟูๆ ปนคราบกรุที่มักจะเป็นฝุ่นหรือดินที่จับตัวกันแห้งๆ มีสีเข้มอ่อน และต้องดูนวลตา จะไม่ใช่คราบดูแข็งๆ ดูกระด้างหรือหยาบๆ และไม่ใช่รอยแบนๆ ในเนื้อเหมือนการทาสีลงไป เพราะธรรมชาติเหล่านี้ค่อยๆ เกิดขึ้นและสะสมตัวกัน ผ่านความร้อน ความชื้นมาหลายร้อยปี การดูพระผงสุพรรณที่ผ่านอายุและเกิดการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติมาประมาณ ๖๐๐ ปีขึ้นไป สิ่งที่เราต้องเห็นคือ ความแห้ง เนื้อพระผ่านอายุจะต้องเหี่ยวและกร่อน ถึงแม้ว่าเนื้อพระองค์นี้จะเป็นโซนเนื้อละเอียดมาก แต่เมื่อส่องดูจริงๆ เราจะไม่เห็นจุดไหนเลยที่เป็นเนื้อเรียบๆ ตึงๆ พระเนื้อดินเก่าที่ผ่านอายุจะต้องดูแห้ง กรอบและดูฟูๆ ไม่เรียบตึง เนื้อพระจะต้องมีความกร่อนตามอายุไปทั่วทั้งองค์ ยิ่งเก่าก็จะยิ่งแห้ง ยิ่งเหี่ยวย่นเป็นลอนคลื่นทั้งตามขอบและสันต่างๆ แม้แต่ในจุดเล็กๆ สำหรับการดูรอยนิ้วมือกดที่ด้านหลังไม่ว่าจะเป็นองค์ที่กดลึกหรือกดตื้น เมื่อเราส่องเข้าไปใกล้ๆ รอยนิ้วมือก็ต้องเหี่ยวกร่อนไปตามเนื้อพระ ชัดแต่ไม่คมเป็นสัน อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานของ ๔ มีนานะครับรอยนิ้วมือที่พบจะดูมีขนาดใหญ่กว่านิ่วมือคนยุคปัจจุบันเหมือนขนาดมือในพุทธลักษณะของพระผงสุพรรณ ดังนั้นร่องลายนิ่วมือจะดูหนาใหญ่ตามไปด้วย ไม่ใช่รอยกดจากนิ้วมือขนาดปกติของคนในโรงงานทำพระ พี่ๆ เพื่อนๆ ลองดูในจุดนี้กันนะครับ มวลสารที่เห็นได้ในพระผงสุพรรณจะเป็นแร่ดอกมะขามทั้งจุดใหญ่และจุดเล็กทั่วไปทั้งองค์ ดูภายนอกเหมือนพระผงสุพรรณจะมีมวลสารไม่มาก แต่จริงๆ ต้องเรียกว่ามีมวลสารมาก แต่ไม่หลากหลาย เพราะแทบจะไม่มีก้อนแร่ในกลุ่มเม็ดทรายหรือแร่กลุ่มเหล็กไหลให้เห็นเลย เพราะฉะนั้นเราจะดูแร่ดอกมะขามเป็นจุดสำคัญในการดูมวลสารในพระผงสุพรรณ ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างที่ ๔มีนาตั้งข้อสังเกตุไว่าพระกรุต่างๆ อาจจะไม่ได้มีวาระการสร้างเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาหลายร้อยปี ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ เจอพระผงสุพรรณที่ถึงอายุ มีเนื้อและมวลสารหยาบกว่า อาจจะเป็นพระที่สร้างขึ้นในวาระต้นๆ ได้ แต่พุทธศิลป์และธรรมชาติต้องได้นะครับ แร่ดอกมะขามจะมีลักษณะเป็นก้อนสีแดงอมส้มและอมน้ำตาลดูช้ำๆ มีสีเข้มอ่อนปนกันในก้อนมวลสารเดียวกัน ผิวของก้อนแร่จะดูเหี่ยวและกร่อน มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กอยู่ในเนื้อพระระยิบไปทั่วองค์ แร่ดอกมะขามที่อยู่ด้านในผิวเมื่อผ่านอายุมานาน เราจะเห็นการกระจายตัวของก้อนแร่ออกรอบๆ ตัว เป็นสีชมพูอมส้มจางๆ และในจุดที่เนื้อพระกระเทาะ ยังมีแร่ดอกมะขามให้เห็นปนกับเนื้อพระกร่อนๆ ฟูๆ