У нас вы можете посмотреть бесплатно ปุ๋ยละลายช้า Slow Release Fertilizer คืออะไร ดีต่อพืชอย่างไร ใช้เมื่อไร มีวิธีการใช้อย่างไร или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
๐ ปุ๋ยละลายช้า คืออะไร ปุ๋ยละลายช้า (Slow Release Fertilizer) คือ ปุ๋ยถูกผลิตขึ้นโดยมีการให้การเคลือบป้องกันหรือห่อหุ้มปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ ด้วยสารจำพวกพลาสติกเรซิ่นหรือโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ (Water-insoluble) อนุญาตให้โมเลกุลหรือประจุบางชนิดผ่านไปได้ (Semi-permeable) หรือไม่สามารถซึมผ่านทางรูได้ (Impermeable with pores) โดยสารที่ทำหน้าที่เคลือบปุ๋ยเหล่านี้จะค่อยๆ สลายลงจากน้ำ ความร้อน แสงแดด และ/หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน รวมถึงการที่มีองค์ประกอบของกำมะถัน จึงทำให้เกิดการควบคุมการเข้าและอัตราการสลายตัวของปุ๋ย ดังนั้นจึงทำให้เกิดการการปลดปล่อยสารอาหารออกมาในปริมาณน้อย ๆ อย่างคงที่โดยสอดคล้องความพร้อมใช้งานของพืช ๐ ข้อได้เปรียบของการใช้ปุ๋ยละลายช้า 1. ใช้ได้อย่างเหมาะสมช่วงพัฒนาการของพืช (Optimal plant development) การเจริญเติบโตในช่วงต่างๆของพืชมีความต้องการใช้ธาตุอาหารที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละช่วงระยะเวลาซึ่งมีปริมาณที่ใช้แตกต่างกันไปด้วย ที่เติมปุ๋ยละลายช้าให้สอดคล้องตามช่วงระยะเวลาที่พืชต้องการจึงทำให้มีการปลดปล่อยธาตุอาหารตลอดช่วงระยะเวลาที่ต้องการนั้นอย่างสม่ำเสมอ 2. ใช้งานได้ง่าย (Ease of Use) การใช้งานของปุ๋ยละลายช้าไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพอากาศที่ต้องใช้ในขณะนั้นว่าจะมีฝนตกลงมา เพียงพอต่อการทำละลายปุ๋ยหรือไม่ ซึ่งการใส่ปุ๋ยละลายเร็วจะต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำเพื่อการทำละลายปุ๋ย มิเช่นนั้นจะเกิดความเสียหายจากการที่ปุ๋ยมีความเข้มข้นมากเกินไปจนทำอันตรายต่อพืชได้ 3. ลดต้นทุนการใช้งาน (Saves labor and time) ความสามารถที่จะค่อย ๆปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช จึงทำให้ไม่จำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยหรือเติมธาตุอาหารเหล่านี้ให้กับพืชอย่างบ่อยครั้งหรือมีความถี่มากนัก ในกรณีที่ปลูกพืชจำนวนมากทำให้ต้องใช้แรงงานหรือระยะเวลานานในการที่จะต้องตื่นปุ๋ยลงไปให้กับพืชการใช้ปุ๋ยละลายช้าจะทำให้ประหยัดแรงงานและประหยัดเวลามากขึ้น 4. ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมลดลง (Reduced environmental impact) ขอด้อยของการใช้ปุ๋ยเคมีในการสร้างการเจริญเติบโตให้กับพืชนั้น มักจะมีปัญหาจากการให้สารเคมีจำนวนมากลงในดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของดิน ตลอดจนการมีสารเคมีตกค้างในระบบนิเวศ การให้ปุ๋ยละลายช้าซึ่งมีการควบคุมการปลดปล่อยทาสอาหารออกมาทีละเล็กน้อย สอดคล้องกับความต้องการใช้ของพืช จึงทำให้โอกาสของสารเคมีที่มีเหลือเกินและตกค้างในระบบนิเวศลดน้อยลง ๐ ปุ๋ยละลายช้า ใช้อย่างไร มีวิธีการใช้ปุ๋ยละลายช้ากับไม้ดอกไม้ประดับหรือพืชพันธุ์ในการตกแต่งสวนอย่างหลากหลายวิธีด้วยกัน คือ 1. ผสมไปพร้อมกับดินปลูก วิธีการนี้ให้ทำการผสมปุ๋ยละลายช้าในขั้นตอนของการผสมดินปลูก ช่วยทำให้ธาตุอาหารของพืชกระจายอยู่ในส่วนผสมของดินแล้วค่อยๆ ละลายออกมาเป็นประโยชน์ในระยะแรกของการย้ายปลูกลงในกระถางที่มีการผสมดินปลูกนั้น 2. รองก้นกระถางหรือรองก้นหลุม วิธีการนี้เหมาะกับไม้ยืนต้น ไม้พุ่มขนาดใหญ่ ไม้พุ่มขนาดกลาง ใช้รองก้นหลุมเพื่อให้ร่าสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ดีขึ้น ทั้งเป็นการดีเพราะรากมีโอกาสสัมผัสกับเม็ดปุ๋ยโดยตรงทำให้อัตราการนำไปใช้งานทำได้ดีขึ้น 3. ขุดเป็นหลุมแล้วหยอดฝังกลบ ใช้ในกรณีสำหรับไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้นที่ปลูกลงในดินเป็นระยะเวลานานไม่สามารถจะพรวนดินโดยรอบได้ หรือเป็นต้นไม้ที่มีการปิดทับผิวหน้าพบบริเวณรากด้วยวัสดุแข็งอื่น ๆ เช่น คอนกรีตแผ่นพื้นทางเดิน เป็นต้น ขุดเป็นหลุมบางช่วงบริเวณผิวหน้าดิน ช่วยเพิ่มโอกาสให้สามารถใส่ปุ๋ยละลายช้าลงไปทำให้พืชสามารถสัมผัสกับธาตุอาหารที่เติมลงไปได้ง่ายขึ้น 4. โรยลงไปบนผิวดินหรือกระถาง วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในบรรดาวิธีการต่าง ๆ เนื่องจากสามารถใส่ลงไปโดยตรงบนผิวกระถาง ผิวดิน หว่านลงไปโดยตรงในสนามหญ้า จากนั้นทำการลดน้ำตาลจะทำให้ปุ๋ยละลายช้าค่อยค่อยปลดปล่อยทาสอาหารออกมาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ครั้งที่มีการสัมผัสน้ำ อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีข้อด้อยจากการรดน้ำที่อาจทำให้ปุ๋ยละลายช้ากระเด็นออกนอกพื้นที่ต้องการใส่ปุ๋ยได้ ๐ ควรเติมปุ๋ยละลายช้าลงไปใหม่เมื่อไหร่ การเติมปุ๋ยละลายช้าลงไปควรกระทำเมื่อปุ๋ยมีการละลายออกมาจากสารเคลือบหมดแล้ว สามารถดำเนินการได้สองรูปแบบ คือ 1. พิจารณาจากระยะเวลา โดยเติมปุ๋ยภายหลังจากการที่ใส่ปุ๋ยลงไปครั้งแรก ในระยะเวลาหกเดือน 2. พิจารณาจากจากกายภาพของปุ๋ยละลายช้าโดยผิวของสารเคลือบจะมีความใสมากขึ้น แสดงสัญญาณของปุ๋ยที่อยู่ภายในถูกละลายเกือบหมดแล้ว ๐ ควรคำนึงถึงในการใช้ปุ๋ยละลายช้า 1. ปุ๋ยละลายช้าไม่ได้เหมาะกับทุกสถานการณ์ในการใช้งาน หากเราทราบว่าต้องการ เติมธาตุอาหารให้กับพืชในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งและมีความพร้อมในการทำละลายปุ๋ยได้เป็นอย่างดีและสามารถควบคุมปริมาณของปุ๋ยที่จะเติมลงไปได้อย่างเหมาะสมจงเลือกใช้ปุ๋ยละลายเร็วมากกว่าปุ๋ยละลายช้า 2. ปุ๋ยละลายช้ามีการควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในรูปแบบที่ล่าช้า มีความพร้อมใช้งานสำหรับการดูดซึมของพืช หลังจากการเติมปุ๋ยลงไปในดินได้ยาวนานกว่าใช้งานของปุ๋ยละลายเร็ว 3. ปุ๋ยละลายช้า มีการควบคุมสามารถค่อยปลดปล่อยสารอาหารและตอบสนองความต้องการของสารอาหารที่เปลี่ยนแปลงของพืชผลตลอดวงจรการเติบโตเพิ่ม ทำให้การให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพก และลดความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมลง 4. แม้ปุ๋ยละลายช้า โดยทั่วไปมีอัตราการปลดปล่อยสารอาหารมากกว่าปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ทั่วไป ก็มิได้หมายคงามว่าอัตรารูปแบบและระยะเวลาของการละลายออกมาของธาตุอาหารจะถูกควบคุมอย่างดีหรือตายตัว เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้การปลดปลอยธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ขับเคลื่อนด้วยความชื้นและอุณหภูมิในดิน ปุ๋ยละลายช้าช้าสามารถปล่อยได้อย่างรวดเร็วเป็นครั้งคราว เมื่อดินมีความชื้นมากเกินไปและอุณหภูมิสูงเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน 5. การใช้ปุ๋ยละลายช้า สามารถลดการสูญเสียธาตุอาหาร ไปอย่างเปล่าประโยชน์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเป็นสารอาหารสำหรับพืช และปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น