У нас вы можете посмотреть бесплатно ชัวร์ก่อนแชร์ : การกินยาคุมกำเนิด ทำให้เสี่ยงเป็นเส้นเลือดอุดตัน จริงหรือ ? или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บนสังคมออนไลน์มีการแชร์กันว่าการกินยาคุมกำเนิด ทำให้เสี่ยงเป็นเส้นเลือดอุดตันเรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ภญ. จุราพร พงศ์เวชรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเภสัชศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศ.ดร.นพ.พลภัทร โรจน์นครินทร์ สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐี วัฒนกูล ----------------------------------------------------- 📌 สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ✅ ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนทั้งสองชนิด หรือยาคุมประเภทฮอร์โมนผสมที่ใช้กันทั่วไป สามารถจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ แต่อัตราการเกิดเส้นเลือดอุดตันจากการกินยาคุมนั้นต่ำมาก Q : การทานยาคุมทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดอุดตัน จริงไหม ? A : อันนี้เป็นความจริง ยาคุมกำเนิดมีองค์ประกอบของฮอร์โมนเพศหญิง โดยทั่วไปที่เราใช้กันบ่อยเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนผสม ก็จะมีฮอร์โมน estrogen ผสมกับ progestin ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนทั้งสองชนิด สามารถจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ ตัวที่เกี่ยวข้อง ก็จะเป็นฮอร์โมน estrogen Q : จากการสอบถามกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้คำตอบว่า ? A : ก็เป็นความจริง เพราะว่าฮอร์โมนเพศหญิงมันจะเตรียมตัวเพศหญิง ให้มีระบบการแข็งตัวของเลือดที่แข็งแรง เพราะผู้หญิงต้องมีประจำเดือน จะต้องคลอดบุตร ซึ่งมีโอกาสที่จะตกเลือด เพราะฉะนั้น ฮอร์โมนเพศหญิง ก็จะเพิ่มการแข็งตัวของเลือดให้มันมากขึ้น ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากขึ้น Q : แล้ว estrogen ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยังไง ? A : estrogen จะไปรบกวนที่ตับ การที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เพราะ estrogen ไปส่งเสริมการสร้างโปรตีน ที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือด ให้มีมากขึ้น คือมากเกินกว่าปกติ เลือดจะเกาะกลุ่ม เกิดเป็นก้อนเลือด หรือว่าที่เราเรียกว่าเป็นลิ่มได้มากขึ้น Q : ชนิดของยาคุมมีความเกี่ยวข้องไหม ? A : เกี่ยวแน่นอน ที่จะมีความเกี่ยวข้องที่สุด ก็จะเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม ที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ใช้กันโดยทั่วไป ที่จะต้องรับประทานวันละหนึ่งเม็ด ส่วนยาคุมฉุกเฉิน ก็จะมีฮอร์โมนชนิดเดียว คือเป็นกลุ่ม progestin ยังไม่พบหลักฐานว่า progestin ทำให้มีความเสี่ยงเช่นนั้น แต่ว่าอัตราการเกิดเส้นเลือดอุดตัน จากการกินยาคุมนั้นต่ำมาก เพศหญิงซึ่งทานยาคุม เรียกว่ายังอายุไม่เยอะ น้อยกว่าห้าสิบปี ก็มีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดหลอดเลือดดำอุดตัน ประมาณหนึ่งในหมื่น เพราะฉะนั้น การทานยาคุมมันก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น อาจจะเป็นเช่นเป็นสองหรือสามในหมื่น ซึ่งก็ยังถือว่าความเสี่ยงต่ำมาก คือในบ้านเรานี่โอกาสที่จะเกิดรถชนตาย ก็ยังมากกว่าสามถึงสี่ในหมื่น เรียกว่าเพิ่มขึ้น แต่ความเสี่ยงโดยรวมก็ยังเรียกว่าต่ำ ถ้าเทียบกับว่า คนตั้งท้อง ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ คือคนที่ท้องยังมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงที่ใช้ยาคุมอีก Q : แปลว่าเรายังสามารถกินยาคุมได้ตามปกติ ? A : การที่ทานยาคุมก็จะถือว่าค่อนข้างปลอดภัย ยิ่งถ้าเราไม่ทานยาคุมแล้วเกิดตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดหลอดเลือดดำอุดตัน มากกว่าทานยาคุมอีก อาจจะเป็นห้าหกเท่า ใช่ นี่เป็นจริง ยาคุมกำเนิดเป็นสิ่งซึ่งมีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ สามารถที่จะรับประทานต่อได้ โดยรับประทานอย่างถูกต้อง Q : คนกลุ่มไหนที่ต้องระมัดระวังเรื่องการกินยาคุมเป็นพิเศษบ้าง ? A : อายุที่มากขึ้น หรือว่าระหว่างนั้นเราอาจจะมีโรคเกิดขึ้นมา ทำให้ต้องรับประทานยาอื่นร่วมด้วย สิ่งเหล่านี้เราก็ต้องกลับมาทบทวนว่า ยาคุมกำเนิดที่รับประทานอยู่นั้น สูตรนั้น ยังมีความเหมาะสมรึเปล่า ถ้าเพศหญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็นหลอดเลือดอุดตันมาก่อน หรือว่าเป็นโรคมะเร็ง หรือว่าสูบบุหรี่ หรือว่าน้ำหนักเกิน ความเสี่ยงมันก็จะมากขึ้น แนะนำว่าผู้หญิงที่ทานยาคุมกำเนิด ก็ไม่ควรจะสูบบุหรี่ แล้วก็ ถ้าน้ำหนักเกินก็ต้องรักษาน้ำหนักไม่ให้เกิน จริง ๆ ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ก็จะมีปัจจัยนึงที่สำคัญ คือ การมีประวัติเป็นโรคปวดศรีษะไมเกรน งานวิจัยก็พบว่าจะมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับความเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ผู้หญิงที่เป็นโรคปวดศรีษะไมเกรน แล้วก็มีอาการร่วม อย่างเช่น ระหว่างปวดศรีษะ เห็นเส้นซิกแซ็ก หรือเห็นแสงวูบวาบ ตาจะเบลอ หรือว่าตาเนี่ยมืดไประหว่างที่ปวดศรีษะไมเกรน เป็นข้อห้ามใช้ของยารับประทานคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม ก็จะต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น Q : ดังนั้น สรุปแล้วเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? A : มันก็ต้องเสริมข้อความนิดนึง มันก็จริงเนื่องจากมันเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดดำอุดตัน แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงมันก็ยังต่ำอยู่ เพียงแต่ว่ามันก็ต้องดูด้วยว่าตัวเอง มีความเสี่ยงที่จะเกิดหลอดเลือดดำอุดตันมากน้อยแค่ไหน ยาคุมกำเนิดเป็นสิ่งที่ประโยชน์อย่างยิ่งเลย แต่ในขณะเดียวกัน คงไม่มียาตัวไหนที่ไม่มีผลข้างเคียง ผลข้างเคียงที่ค่อนข้างกังวลใจกันมากเกี่ยวกับหลอดเลือด ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้หญิงคนนั้นมีปัจจัยเสี่ยงด้วยหรือเปล่า อันนี้จริง ๆ คิดว่าไม่ต้องกังวลเลย โดยทั่วไป ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่ยี่สิบกว่า ๆ ถึงสี่สิบกว่า ๆ เราก็ไม่ค่อยจะมีโรคที่เป็นโรคเรื้อรังมากนัก แต่ว่าอย่างไรก็ตาม เราก็จะมีการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ก็อาจจะทำให้เราทราบว่าเรามีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นมารึเปล่า 👉 การกินยาทุกประเภทส่งผลกับแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน เพื่อความปลอดภัยแล้วควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้งนะครับ #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare ----------------------------------------------------- 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯 LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare