У нас вы можете посмотреть бесплатно รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคราสนิม | สวก. или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
โรคราสนิมจากระบาดและเจริญเติบโตได้ดีอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว สภาพแวดล้อมเช่นนี้มีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อ ถ้าเป็นข้าวโพดพันธุ์ที่อ่อนแอ จะเกิดโรคอย่างรุนแรง โรคราสนิมเกิดจากเชื้อราพัคซีเนีย โพลีโซรา อันเดอร์ สามารถเกิดได้ทุกส่วนของข้าวโพด อาการจะเป็นจุดนูนเล็กๆ แผลจะเกิดบริเวณด้านบน มากกว่าด้านล่างของใบ เมื่อเป็นโรคนี้นานๆ จากจุดนูนเล็กๆ จะแตกออกเป็นผงสีสนิมเหล็ก ในกรณีที่เป็นโรคขั้นรุนแรง จะทำให้ใบแห้งตายได้ วิธีการป้องกันและกำจัด โรคราสนิม 1. ใช้ข้าวโพดพันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 3851 สุวรรณ 5 2. หมั่นกำจัดวัชพืชในไร่และทำลายต้นพืชที่เป็นโรค โดยการเผาต้นที่เกิดโรค 3. มันตรวจไร่อยู่เสมอ ถ้าพบว่าเกิดจุดสนิมให้พ่นด้วยสารเคมี สารที่ใช้ได้ผลดี เช่น ไดฟีโนโคนาโซล สารเคมีชนิดน้ำมันใช้ในอัตรา 20 มิลลิลิตร หรือประมาณ 4 ช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแมนโคเซบ 80 เปอร์เซ็นต์ สารเคมีชนิดผงใช้อัตรา 40 กรัมหรือประมาณ 8 ซ้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน 2-4 ครั้งจะสามารถป้องกันโรคนี้ได้ "เวลาที่โรคมันระบาด เราจะเห็นสีสนิมเต็มไปหมดเลยทั้งใบทั้งต้น และก็ถ้าเป็นช่วงที่มันหนักๆ ใบจะแห้งต้นก็จะตาย ถ้าเป็นช่วงหน้าฝนมันจะระบาดไปทั่ว จนถึงกับต้องตัดต้นทำลายทิ้งเลย ก็เพราะตอนนี้รู้ว่ามีสารที่ช่วยป้องกันโรคก็เลยลองใช้ดู วิธีนี้โรคก็ลดลง แต่ยิ่งตอนนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ต้านทานโรคส่วนใหญ่ วิธีนี้ยิ่งได้ผลดีและข้าวโพดก็ไม่มีโรคเลย" สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวเรื่องงานวิจัยด้านการเกษตร เว็บไซต์: http://www.arda.or.th/ บล็อกองค์ความรู้เกษตร: http://blog.arda.or.th/ แฟนเพจ สวก.: / ardathai แฟนเพจเกษตรก้าวไกล กับ สวก.: / kasetkaoklaiarda2017 ยูทูป สวก.: / @ardathailand TikTok สวก.: www.tiktok.com/@arda_thailand #ข้าวโพด #โรคราสนิม #โรคพืช #วิจัย #รู้ทันศัตรูพืช #สวก.