У нас вы можете посмотреть бесплатно อมตะนิทาน เรื่อง ทำไมนั่งสมาธิ ถึงได้บุญมาก แท้ที่จริงแล้ว นั่งสมาธิแล้วได้บุญเพราะอย่างนี้นี่เอง или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
#vihantaweesak#อมตะนิทาน#สมาธิ#บุญ# อมตะนิทาน เรื่อง ทำไมนั่งสมาธิ ถึงได้บุญมาก แท้ที่จริงแล้ว นั่งสมาธิแล้วได้บุญเพราะอย่างนี้นี่เอง กรรมฐาน เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่างๆ ส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐาน จึงหมายถึง การใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศล และรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป หากกล่าวถึง คำว่า กรรมฐาน เราจะเข้าใจกันว่า กรรมฐาน คือ สมาธิหรือการนั่งหลับตาท่องคำซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการกระทำบางอย่างที่ต่างไปจากพฤติกรรม การให้ทาน การรักษาศีล แต่สำหรับความหมาย ที่มีมาในพระบาลี ตามนัยแห่งมูลฎีกา แสดงวินิจฉัยคำ “กรรมฐาน” ไว้ว่า กัมฺมะเมวะ วิเสสาธิคะมะนัสฺสะ ฐานันฺติ กัมฺมะฐานะ แปลว่า.... การงาน ที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษชื่อว่า“กรรมฐาน” เหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะนั่งหลับตาภาวนาเท่านั้น แต่ มีองค์ประกอบและรายละเอียด อีกมากมาย ดังนั้น ความหมายของกรรมฐาน เท่าที่เราเข้าใจ จึงยังคลุมเครือและยังต่างจากความหมายที่แท้จริงอยู่มาก การสร้างความบริสุทธิ์แห่งจิตนี้ จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ได้ สิ่งอิงที่ว่านี้มี ๒ ลักษณะ คือ อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบร่างกายและจิตใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจก็ได้ สิ่งที่อยู่นอกระบบร่างกายและจิต อาจเป็นส่วนที่สร้างขึ้นหรือมาจากภาวะแวดล้อม เช่น ดวงกสิณ ซากศพ หรืออาหารที่รับประทานอยู่ทุกวัน ส่วนสิ่งที่มาจากภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจ ก็คือ อิริยาบถต่าง ๆ และความคิด เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการฝึกอบรมจิตที่เรียกว่า กรรมฐานได้