У нас вы можете посмотреть бесплатно เรียนรู้อิเลคโทรนิกส์ ...เบื้องต้น # 3.4 “ ตัวต้านทานปรับค่าได้ตามแรงดัน หรือวาริสเตอร์ [Varistor] " или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บทที่ 1.4 วาริสเตอร์ หรือ Varistor... อาจจะเรียกว่าเป็นตัวต้านทานอีกแบบหนึ่งก็ได้ ทำหน้าที่เป็นด่านป้องกันด่านแรกในวงจรภาคจ่ายไฟซึ่งคุณสมบัติของตัววาริสเตอร์นั้น เปรียบเสมือนตัวต้านทานที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ตามแรงดันหรือค่าโวลท์ [Volts] นั่นเอง กล่าวคือถ้าค่าโวลท์เป็นปกติ [220vac] ค่าความต้านทานที่ตัวมันจะมาก แต่ถ้าตัวมันได้รับค่าแรงดันมากขึ้น ..มากขึ้นค่าความต้านทานก็จะลดลงตามค่าแรงดันไฟที่เพิ่มขึ้น หน้าที่จริงๆที่เราคุ้นเคยก็คือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้วงจรบนบอร์ดของเรานั้นปลอดภัยจากฟ้าผ่า นั่นก็คือตัวมันจะช๊อตเพื่อให้ไฟค่าโวลท์สูงๆผ่านตัวมันแทน ก่อนที่จะเข้าไปในวงจร ทำให้บอร์ดได้รับการป้องกันในระดับหนึ่ง มีชื่อเรียกได้หลายอย่างอาทิเช่น MOV ย่อจาก Metal oxide varistors VDR ย่อจาก Voltage Dependent Resistor ZOV ย่อจาก Metal Zinc Oxide varistors TMOV ย่อจาก Thermally protected varistors เป็นต้น .... หมายเหตุ ลงท้ายด้วย V ย่อมาจาก Varistor ลงท้ายด้วย R มาจาก Resistor …. การอ่านและดูขนาด/ค่าทนแรงดันไฟของตัว วาริสเตอร์เบอร์ช่วงกลางของวาริสเตอร์จะมีอักษรบอกขนาดความโต [บางรุ่นไม่บอกก็มี] ใช้อักษร 05D 07D 10D 14D 20D 32D โดย [บางยี่ห้อใช้อักษร S แทน D เช่น S20 หรือจะไม่มีทั้งอักษร S และ D คือมีแค่ตัวเลขเช่น 20] 05D = วาริสเตอร์ ขนาด 5 มิลลิเมตร 07D = วาริสเตอร์ ขนาด 7 มิลลิเมตร 10D = วาริสเตอร์ ขนาด 10 มิลลิเมตร 14D = วาริสเตอร์ ขนาด 14 มิลลิเมตร 20D = วาริสเตอร์ ขนาด 20 มิลลิเมตร 32D = วาริสเตอร์ ขนาด 32 มิลลิเมตร ... ตัวอย่างเช่นเบอร์ MOV-10D471K บอกขนาดรอบวงของแผ่นกลมแบนของวาริสเตอร์ว่ามีขนาดเท่าไร 10D = วาริสเตอร์ ขนาด 10 มิลลิเมตร เบอร์ช่วงท้ายๆของวาริสเตอร์จะบอกแรงดันในการทำงานของวาริสเตอร์ เมื่อบอกแรงดันตรงรหัสนี้แล้วส่วนใหญ่บรรทัดล่างทัดไปจะไม่มีตัวเลขแรงดันไฟระบุซ้ำอีก [ยกเว้นบางยี่ห้อ] ... ยกตัวอย่าง MOV-10D471K ตัวเลขส่วนหลังคือ 471K = 47 เติม 0 หนึ่งตัว = 470V เนื่องจากตัววาริสเตอร์ และตัวเก็บประจุหรือ C แบบเซรามิกจะมีลักษณะที่คล้ายจนเกือบจะเหมือนกันมาก อาจจะทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้ จะสังเกตจากความแตกต่างได้ดังนี้ บนตัววาริสเตอร์จะนำด้วยตัวอักษรก่อนตัวเลข เช่นชึ้นต้นด้วย MOV VDR CNR ส่วนตัวเก็บประจุ หรือ C นั้น จะขึ้นต้นด้วยตัวเลขก่อนเช่น 103 473 แล้วตามด้วยค่าทนโวลท์ ถ้าตั้งมิเตอร์ย่านวัดความต้านทานด้วยย่านวัดของทุกย่านวัด ... เมื่อวัดวาริสเตอร์ และถ้าวาริสเตอร์ปกติจะไม่มีค่าความต้านทานขึ้น ... แต่ถ้าวัดตัวเก็บประจุ จะมีการขึ้นของเข็มมิเตอร์มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความจุ *** รายละเอียดต่างๆ ได้อธิบายไว้แล้วในคลิปวีดีโอ นำมาจากสื่อการเรียน-การสอนในหัวข้อของอิเลคโทรนิกส์เบื้องต้นสำหรับพื้นฐานการซ่อมบอร์ด ที่เป็นหนังสือประกอบกับคลิปวีดีโอ สำหรับวีดีโอชุดนี้จะลงเผยแพร่ในยูทูปจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ และจะนำเข้าสู่การเรียนการสอนในช่วงปลายๆปีในเดือนธันวาคม 2566 หรืออาจจะเป็นต้นปี 2567 และสามารถรับชมได้ในฐานะสมาชิกช่องเท่านั้น *** ... ก็หวังว่าการเรียน-การสอนในวันนี้ [23/9/2566] คงจะพอเข้าใจได้บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยในคำอธิบายสามารถโทรสอบถาม ได้ที่เบอร์ 084-6663328 ได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้รับสายก็พักซักครู่แล้วลองโทรใหม่ อาจจะขับรถ หรืออยู่หน้างาน อาจจะไม่สะดวกรับสายในขณะนั้น ไม่โทรกลับในกรณีโทรมาปรึกษา ... สำหรับท่านที่ปรึกษาบ่อยๆและนำไปทำงานได้รายได้ หรือช่วยท่านแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการซ่อมได้มากโข อยากให้ท่านโปรดช่วยสนับสนุนทางช่องบ้างแล้วแต่ศรัทรา จะได้นำมาเป็นต้นทุนในการทำคลิปที่มีประโยชน์และนำไปใช้ได้จริงต่อไปขอบพระคุณครับ ... “ ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน “ “ ขอให้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำ “ .... กราบขอบพระคุณสำหรับการรับชมและติดตาม สามารถสนับสนุนช่องยูทูปของเราได้ที่ ธ.กสิกรไทย สาขาบางพลัด เลขที่บ/ช 089-8-70371-1 นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์ ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ.2566 เวลา 23.30 น.