У нас вы можете посмотреть бесплатно Ep39 อักษรขอม และ อักษรเขมร (Khom script , Khmer script) или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
Ep39 อักษรขอม และ อักษรเขมร (Khom script , Khmer script) มีหลายท่านเขียนคอมเมนต์ อยากจะให้ผมเปรียบเทียบอักษรขอมและอักษรเขมรว่าต่างกันอย่างไร อักษรหรือพยัญชนะก็แบ่งเป็นวรรค เหมือนไทย เหมือนมอญ แต่มอญจะมีมากกว่านี้ 2 ตัว ภาพนี้คือ พยัญชนะ วรรค กะ ไทยอ่าน ก ข ค ฆ ง แต่เขมรจะอ่าน กอ ขอ โก โฆ โง กอ ขอ ถือเป็นอักษรชุดที่ 1 ส่วน โก โฆ โง ถือเป็นอักษรชุดที่ 2 บรรทัดที่ 2 เป็นอักษรขอมโบราณ เป็นอักษรที่พบเห็นในจารึกทั่วไป ทั้งในไทย และเขมร เป็นอักษรของชาวขอม ชาวเสียม แต่เขมรเอาไปเรียกว่า อักษรเขมรโบราณ ผู้อ่านหลายคนก็เรียกตามฝรั่งว่า อักษรเขมรโบราณ บรรทัดที่ 3 เป็นอักษรขอม ที่พบเห็นเขียนในเอกสารของสยามในสมัยก่อน ๆ จารึกพระธาตุศรีสองรักก็ใช้อักษรแบบนี้แต่เขียนเป็นภาษาไทย เป็นอักษรที่เห็นในยันต์ ทั้งในไทย และเขมร ล้วนเป็นอักษรขอมทั้งสิ้น บรรทัดที่ 4 เป็นอักษรเขมรที่ใช้พิมพ์เอกสาร พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน เรียกว่าอักษรตัวตรง หรือ ตัวยืน บรรทัดที่ 5 เป็นอักษรเขมรแบบตัวมูล หรือ ตัวกลม ใช้ทำป้ายร้านค้า และหัวเรื่องต่าง ๆ อักษรวรรค จะ จ ฉ ช ฌ ญ อักษรวรรค ฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ตัว ณ เณร เขมรถือว่าเป็นเสียงอโฆษะ คือเสียงไม่ก้อง อักษรวรรค ตะ ต ถ ท ธ น อักษรวรรค ปะ ป ผ พ ภ ม เศษวรรค ย ร ล ว ส ศ ษ ห ฬ อ ประวัติของการสร้างอักษรเชรียง พระสงฆ์ผู้สร้างตัวอักษรเขมร สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปัญญาสีโล) วัดปทุมวดี พนมเปญ สมเด็จพระสังฆราชแห่งเขมร มีพระนามเดิมว่า ปาน ประสูติที่เมืองพระตะบอง บวชเณรเมื่ออายุ12 ปี เข้ามาศึกษาที่วัดสระเกศกรุงเทพฯ เมื่อบวชเป็นพระได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงผนวชได้เล่าเรียนอักษรขอมไทย อักษรขอมบรรจงและบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม พ.ศ. 2398 นักองค์ด้วง กษัตริย์กรรมพูชากราบทูลขอพระราชทานธรรมยุตินิกายไปยังเขมร ร.4 จึงโปรดให้มหาปานและคณะเดินทางไปเขมรเพื่อตั้งคณะธรรมยุติ และเจริญสมณะศักดิ์เรื่อยมาจนถึงชั้นสมเด็จสังฆราช สมเด็จปานทรงเป็นกวีและนักปราชญ์ ทรงวางรากฐานการศึกษาเขมรโดยการประยุคอักษรขอมไทย อักษรขอมบรรจง มาผสมแก้ไขเพิ่มเติม จนกลายเป็นอักษรเขมรปัจจุบัน เรียกว่า "อักษรเชรียง" อ่านว่า เจฺรียง) อักษรเขมรมีลักษณะที่แตกต่างกันหลายชนิด ซึ่งใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน อักษรเชฺรียง (อ่านว่า เจฺรียง) (เขมร: អក្សរជ្រៀង) หรือ อักษรเฉียง เป็นอักษรในลักษณะตัวเอน ไม่ได้ใช้เพื่อการเน้นคำในภาษา แต่จะนำไปใช้เขียนเนื้อหาทั้งหมด เช่นนิยายและการตีพิมพ์อื่น ๆ ที่สามารถใช้อักษรเชฺรียงได้ อักษรฌร (อ่านว่า โช) (เขมร: អក្សរឈរ) หรือ อักษรตรง (เขมร: អក្សរត្រង់) เป็นอักษรในลักษณะตัวตรง การใช้อักษรตัวตรงไม่เป็นที่นิยมเท่าอักษรเชฺรียง แต่ปัจจุบัน แบบอักษรในคอมพิวเตอร์ได้เลือกใช้อักษรตัวตรงเพื่อให้อ่านข้อความได้ง่าย ซึ่งสามารถปรับให้เป็นตัวเอนได้ อักษรมูล (อ่านว่า โมล) (เขมร: អក្សរមូល) เป็นอักษรในลักษณะตัวโค้งมน ใช้สำหรับขึ้นต้นหัวเรื่องในเอกสาร หนังสือ ป้ายประกาศ ป้ายร้านค้า โทรทัศน์ และการเขียนบทสวดมนต์ทางศาสนา บางครั้งใช้เขียนพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ในขณะที่ข้อความรอบข้างใช้ตัวหนังสือธรรมดา (อักษรเชฺรียง-ฌร) พยัญชนะโดดและพยัญชนะซ้อนหลายตัวของอักษรแบบนี้ จะมีรูปแบบที่ต่างออกไปจากอักขรวิธีมาตรฐาน ข่าวการค้นพบที่บ้านโนนวัด วิวัฒนาการของบ้านโนนวัด เชื่อมโยงกับพิมาย ต่อเนื่องตั้งแต่ประมาณ 4,000 - 6,000 ปี จนปัจจุบัน มนุษย์โบราณที่นี่เป็นบรรพบุรุษของคนในปัจจุบัน พื้นที่พิมาย โนนสูง แอ่งโคราช ที่นี่เป็นถิ่นกำเนิดบรรพบุรุษของกษัตริย์ราชวงศ์มหิธรปุระ (ผู้สร้างพิมาย พนมรุ้ง พระบรมวิษณุโลกหรือนครวัด) ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ ไฮแอม (Charles Higham) ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดี สรุปว่า ที่นี่คือ The origins of Angkor เราก็อยู่ตรงนี้ ไม่ได้มาจากไหน บ้านโนนวัดเป็นบรรพบุรุษของคนในแถบนี้ น่าจะเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมในแถบนี้ด้วยซ้ำไป อารยธรรมนครวัดก็น่าจะได้มาจากคนกลุ่มนี้ (แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด คือ แหล่งโบราณคดีที่มีหลุมขุดค้นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่นี่กว่า 200 ชั่วอายุคนไม่เคยขาดตอนด้วย ที่น่าทึ่งคือ พบหลักฐานว่า มนุษย์ยุคหินเก่าและหินใหม่อยู่ร่วมกันด้วยครับ) ชมสารคดีนี้ได้นะครับ จาก รากสุวรรณภูมิ วิวัฒนาการมนุษย์แห่งลุ่มน้ำมูล The Human Evolution of Mun River Basin ................