У нас вы можете посмотреть бесплатно กำเนิด ฮานตาวดี (หงสาวดี) จากราชธานีมอญ สู่ศูนย์กลางอำนาจราชวงศ์ตองอู I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.258 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
“ฮานตะวดี” ชื่อเรียกเดิมในภาษามอญ ไทยออกเสียงเป็น “หงสาวดี” ส่วนพม่าเรียก “พะโค” เมืองแห่งนี้เคยเป็นราชธานีของอาณาจักรมอญมาก่อนในยุคที่ยังรุ่งเรือง ย้อนกลับไปในอดีต ดินแดนพม่าประกอบไปด้วย 2 กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมหลัก นั่นคือ มอญที่ตั้งรกรากอยู่บริเวณตอนใต้ ขณะที่เหนือขึ้นไปตอนบนเป็นพื้นที่ของพวกพยู ก่อนที่ชนชาติพม่าจะเคลื่อนตัวลงมาจากภาคตะวันตกของจีนและธิเบต เข้ายึดพื้นที่ของชาวพยูในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 14 เมื่อพม่าโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อทรงสถาปนาอาณาจักรพุกามอันยิ่งใหญ่แห่งลุ่มน้ำอิระวดีขึ้น หลังครองราชย์ในปี พ.ศ.1587 พระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าโจมตีพระเจ้ามนูหะกษัตริย์แห่งแคว้นมอญ ซึ่งขณะนั้นมีศูนย์กลางยุคแรกเริ่มอยู่ที่เมืองสุธรรมวดี หรือสะเทิม จนได้รับชัยชนะ ทำให้มอญต้องสูญสิ้นอำนาจลง พุกามดำรงความยิ่งใหญ่กระทั่งถูกมองโกลรุกรานจนอ่อนแอและล่มสลายลง ทำให้เมืองที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจต่างพากันแยกตัวกระจัดกระจายออกเป็นนครรัฐต่าง ๆ มากมาย พระเจ้าฟ้ารั่ว หรือ มะกะโท ทรงประกาศความเป็นอิสระจากพม่า และสถาปนาแคว้นมอญขึ้นอีกครั้ง โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมาะตะมะ ต่อมาในรัชสมัยพญาอู่ พระองค์ได้ทรงสร้างศูนย์กลางมอญแห่งใหม่ขึ้นที่เมืองหงสาวดี จวบจนถึงรัชสมัยพระเจ้าราชาธิราช (พ.ศ. 1927–1964) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงรวบรวมแว่นแคว้นมอญให้เป็นปึกแผ่น และสถาปนาหงสาวดีให้เป็นราชธานีของแคว้นมอญที่เรียกว่า “รามัญเทศะ” หลังรัชสมัยพระเจ้าราชาธิราชลงมา ถือว่าเป็นยุคทองของรามัญเทศะ คือยุคของพระนางเชงสอบู และพระเจ้าธรรมเจดีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ขณะที่มอญสามารถสร้างอาณาจักรอันเข้มแข็งขึ้นใหม่ที่หงสาวดี พม่าเองก็สามารถรวบรวมผู้คนที่อยู่กระจัดกระจาย สร้างตองอูที่อยู่เหนือหงสาวดีขึ้นไปเป็นศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2053 ภายใต้การนำของ “พระเจ้าเมงจีโย” พระราชบิดาของ “พระเจ้าตะเบงชะเวตี้” เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ขึ้นเป็นกษัตริย์ตองอู ในปี พ.ศ. 2082 พระองค์ทรงกรีฑาทัพ พร้อมด้วยขุนศึกคู่พระทัยอย่าง 'บุเรงนอง' เข้าตีหงสาวดี ในที่สุดอาณาจักรมอญในยุคหงสาวดีอันรุ่งเรืองก็ต้องสิ้นสุดลงในรัชสมัยของ 'พระเจ้าสการะวุตพี' หลังยึดหงสาวดีเป็นศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ได้สำเร็จ จากนั้นพระเจ้าตะเบงชเวตี้ทรงเริ่มขยายอำนาจไปยังหัวเมืองต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ กรุงศรีอยุธยา ปลายปี พ.ศ. 2091 กองทัพขอพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ยกพลผ่านด่านเจดีย์สามองค์ มุ่งหน้าสู่กรุงศรีอยุธยา ก่อนจะตั้งค่ายอยู่โดยรอบพระนคร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเข้าประจัญกับพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ การศึกคราวนั้นเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียสมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ตามที่ระบุไว้พงศาวดารของไทย กองทัพพระเจ้าตะเบงชเวตี้ยังคงล้อมอยุธยาต่อไป ผ่านไปราวหนึ่งเดือนยังคงไม่สามารถพิชิตอยุธยาได้ จนในที่สุดก็ต้องเลิกทัพกลับคืนสู่หงสาวดี พงศาวดารเล่าว่า จากความล้มเหลวในการโจมตีอยุธยา ทำให้พระเจ้าตะเบงชเวตี้ทรงเปลี่ยนไป พระองค์เสวยแต่น้ำจัณฑ์อย่างหนัก กระทั่งถูก “สมิงสอตุต” ทหารคนสนิทชาวมอญร่วมมือกับน้องชาย ทำการลอบปลงพระชนม์ในขณะเสด็จออกไปคล้องช้างเผือกนอกพระนคร ระหว่างที่บุเรงนองยังคงติดพันศึกอยู่ทางด้านตะวันออก เมื่อสมิงสอตุดขึ้นครองหงสาวดี นั่นเท่ากับว่ามอญได้กลับมาทวงคืนราชธานีเดิมได้อีกครั้ง แต่เพียงไม่นานนัก สมิงสอตุตก็ต้องสูญเสียอำนาจจากการแย่งชิงบัลลังก์กษัตริย์ระหว่างมอญด้วยกันเอง ในที่สุดพระเจ้าบุเรงนองก็ทรงสามารถยึดหงสาวดีกลับคืนมาได้สำเร็จ และนั่นคือจุดเริ่มต้นรัชสมัยของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่จะทำให้ราชวงศ์ตองอูแผ่ขยายแสนยานุภาพออกไปอย่างกว้างไกลบนดินแดนลุ่มน้ำต่าง ๆ จนเป็นที่มาของสมัญญา “พระเจ้าชนะสิบทิศ” อันหมายถึงความเป็น "ราชาที่อยู่เหนือราชาทั้งปวง"