У нас вы можете посмотреть бесплатно พิธีปลุกเสก อิ่นชมชื่น สุดยอดเครื่องรางของขลังสุดยอดมหาเวทย์สายเสน่ห์เมตตามหานิยม แห่งล้านนา или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
#พิธีตัดไม้พลีกรรมสร้างอิ่น • "อิ่น" พิธีพลีกรรมตัดไม้มงคลเพื่อใช้ใ... #พิธีปลุกเสกอิ่นวาระแรก • พิธีปลุกเสก " อิ่น"ชมชื่นมหามงคล หอคร... เพื่อบูรณะศาลาวัดนาเหลืองใน.. พูดถึงสุดยอด “เครื่องรางของขลังทางด้านความรักและมหาเสน่ห์” แห่ง ‘แผ่นดินล้านนา’ เมืองเหนือของไทยเราที่สืบทอดกันมาช้านานนั้น ทุกคนต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “อิ่น” ชาวล้านนาเชื่อว่า การที่ได้มี “อิ่น” ไว้บูชา จะทำให้มีคนเมตตารักใคร่ ถ้าบูชาไว้ในเคหสถานก็จะทำให้ผู้คนในบ้านนั้นรักใคร่ปรองดองกัน ถ้าบูชาไว้กับตัวก็จะทำให้มีเสน่ห์เมตตามหานิยม อุดมด้วยโชคลาภ ข้าวของเงินทองไหลมาเทมา ค้าขายรุ่งเรือง มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข “อิ่น” จึงเป็นหนึ่งในเครื่องรางยอดนิยมตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย ประวัติความเป็นมาของ “อิ่น” นั้น ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าชนชาติใดคิดสร้างเป็นชาติแรก มีเพียงตำนานซึ่งมากมายหลายหลากต่างกันไปตามภูมิภาค บางท่านว่า ‘อิ่น’ มาจากทิเบตซึ่งมีความเชื่อเรื่องศักติว่า หญิงชายเสพสมกันจะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิต การมีชายหญิงร่วมกัน เป็นตัวแทนของการเกิด การงอกงาม และความสมดุล (หยิน หยาง) และสืบทอดกันเข้ามาทางพม่า บางท่านก็ว่าเป็นการสร้างเพื่อระลึกถึงหญิงชายคู่แรกของโลก เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ความเชื่อเรื่อง “อิ่น” เริ่มเข้ามาทางล้านนา ซึ่งอาจสืบทอดเข้ามาทางพม่า ต่อมาขยายไปยังภาคอีสาน ภาคกลาง จน ณ ปัจจุบัน “อิ่น” กลายเป็นเครื่องรางของขลังที่เป็นที่นิยมกันทั่วประเทศ มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักนิยมจัดสร้างกัน และแต่ละท่านจะมีวิธีปลุกเสกเฉพาะตัว โดยคำนึงถึงพุทธคุณว่าด้วยเมตตามหานิยมและโภคทรัพย์เป็นหลัก เป็นความเชื่อในลักษณะเดียวกับการเอาส่วนต่างๆ ของสัตว์มาพกติดตัวเป็นเครื่องรางของขลัง เช่น เขี้ยวหมูป่า งาช้าง เขี้ยวเสือ เขาควาย ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาแกะเป็นรูปต่างๆ “วิชาพญาอิ่นแก้ว” ของล้านนา ก็เป็นหนึ่งในวิทยาอาคมการผูกจิตผูกใจให้คนรักใคร่กัน โดยการสร้างเป็นหุ่นรูปผู้หญิงผู้ชายกอดกัน ซึ่งเป็นตำราเฉพาะของล้านนาเท่านั้น มีการลงคาถาที่เป็น ‘หัวใจของพญาอิ่นแก้ว’ โดยตรง ปลุกเสกแล้วจะมีพลังอำนาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้ “อิ่น” ของล้านนา ไม่ได้มีแต่พุทธาคมที่เป็นไปทางด้านกามารมย์หรือเกี่ยวกับทางเพศเพียงอย่างเดียว ‘วิชาพญาอิ่นแก้ว’ ของล้านนานั้น มีทั้งด้าน เมตตา มหาเสน่ห์ มหานิยมผูกจิตมัดใจ คิดถึง นะจังงัง โกรธไม่ลง และรักใคร่เอ็นดู อยู่ครบถ้วน มีการขุดค้นทางโบราณคดี พบเป็นตุ๊กตาดินเผาโบราณ ทำเป็นรูปชาย-หญิงเปลือย นั่ง หรือยืนกอดกัน เข้าลักษณะที่เรียกว่า "อิ่น" ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าผู้สร้างตั้งใจสร้างเพื่อเอาไปใช้ในด้านนี้โดยเฉพาะ น่าจะเป็นเครื่องรางรุ่นแรกๆ ที่นอกจากแสดงถึงความรักระหว่างชายหญิงที่ชัดเจนแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้สอนให้สังคมรู้จักแสดงความรักที่มีขอบเขตตามมาตรฐานของสังคมนั้นๆ รวมทั้งเป็นเครื่องมือสอนเพศศึกษาในยุคโบราณอีกด้วย