У нас вы можете посмотреть бесплатно สมเด็จวัดปากน้ำ รุ่น6 / กอล์ฟ มันตระสยาม или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
หลวงพ่อสดท่านสร้างพระของขวัญ ตั้งแต่รุ่น 1 เรื่อยไปซึ่งมีอยู่หลายรุ่น สมัยที่ท่านอาจารย์แขกเป็นเด็ก ก็ได้ฟังเรื่องราวกิตติศัพท์ของพระวัดปากน้ำ รุ่น 1 ซึ่งเขาบอกกันว่าดีนักดีหนาใครไปหาหลวงพ่อสดไม่มีจน ท่านอาจารย์ฟังแต่ก็รู้สึกเฉยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2530 รุ่นพี่ชื่อ “คุณป่า” เป็นคนมีเงิน สมัยยังเป็นเด็กตัวท่านอาจารย์ยังเที่ยวเล่นกับแก ทางบ้านพี่ป่านับถือหลวงพ่อสดมาก และปู่คุณป่าก็เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อสดอีกด้วย ต่อมา คุณป่าบวชที่วัดปากน้ำ และชวนท่านอาจารย์แขกไปเที่ยวเล่นที่วัดปากน้ำ ท่านอาจารย์แขกได้เห็นพระหลายๆ รูปปฏิบัติและฝึกวิชา ที่เขาเรียกวิชาธรรมกายเป็นการนั่งสมาธิ เป็นวิชาที่กำหนดและเข้าสู่จักกะในร่างกาย แบบของพวกอินเดีย พวกโยคีโบราณ ที่เรียกว่าเปิดจักกะหรือ 7 ทวารในร่างกาย ในสมัยอดีต เขาจะได้ยินได้ฟังเคล็ดอันนี้มาจากพวกโยคีโบราณ ของพวกอินเดีย แต่หลวงพ่อสดท่านได้เรียนมาและสำเร็จวิชานี้ และตั้งชื่อใหม่ว่าธรรมกาย กายแห่งสังขารที่มองเห็นธรรม ในขณะที่คุณป่าบวชอยู่นั้น บังเอิญเป็นช่วงที่ทางวัดปากน้ำ กำลังจะสร้างหอพระไตรปิฎก หินอ่อน ซึ่งต้องการปัจจัยเป็นจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ. 2530 ลูกศิษย์หลวงพ่อสด ที่เรียนวิชาธรรมกายทั้งหมด ทั้งพระชีและฆราวาส ได้รวบรวมชนวนมวลสารทั้งหมด ที่มีความสำคัญทั่วประเทศ พวกดินสังเวชนียสถาน ใบโพธิ์ ต้นประสูติ ต้นตรัสรู้ ผงธูป ผงทองที่ปิดตามพระต่างๆ และยังรวมพระผงกรุแตกหัก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขนมาเป็นรถสิบล้อ จากนั้นนำมาบดด้วยรางบดยาจีน ช่วยกันบดทั้งวัดรวมทั้งตัวท่านอาจารย์แขกก็มีส่วนร่วมด้วย นำมาสร้างเป็นพระของขวัญ ตั้งชื่อรุ่นพระไตรปิฎก พระสร้างมาจำนวนเยอะมาก และตัวท่านอาจารย์แขกยังช่วยกดพิมพ์พระด้วยเลย ท่านบอกว่าจริงๆ แล้วไม่ได้ชอบ แต่เพราะไปกินข้าววัดจึงต้องช่วยกดพิมพ์พระ สิ่งที่ท่านอาจารย์แขกมีความภาคภูมิใจ คือ การที่มีส่วนร่วมยกพระเข้าไปไว้ในวิหาร ส่วนขณะที่เสกพระท่านก็อยู่ในพิธีด้วย ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งลูกศิษย์ของหลวงพ่อสด ที่สำเร็จในวิชาธรรมกาย ก็มีส่วนร่วมปลุกเสกด้วยเช่นกัน ตอนแรกลังมีการขยับนิดหน่อย พอ 4 วันผ่านไปแล้ว ปรากฏว่าลังขยับแรงมาก เหมือนมีคนเขย่า และมีเสียงดังกรุ๊งกริ๊งตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ในเวลานั้นวงการพระยังไม่เฟื่องเหมือนสมัยนี้ ซึ่งพระวัดปากน้ำรุ่นดังกล่าว มีการลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วัดปากน้ำมีการสร้างพระ รุ่นหอพระไตรปิฎกหินอ่อน รุ่น 6 ชื่อรุ่นพระไตรปิฎก มีการรวบรวมชนวนมวลสาร ในยุคนั้นไม่มีพระวัดไหนดังเท่าพระวัดปากนำอีกแล้ว ในยุคนั้นมี หลวงพ่อยิด หลวงพ่อคูณ หลวงพ่อเปิ่น และวัดปากน้ำรุ่น 6 ที่ลงหนังสือพิมพ์ ที่จำได้เพราะท่านอาจารย์ได้ไปมาทุกวัด ในเวลานั้นเป็นช่วงปิดเทอม ท่านอาจารย์แขกทำงานที่แพปลาชัยยงค์ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อหาเงินไปเช่าพระ จึงไปบอกพวกเพื่อนๆ ที่แพปลา ใครอยากได้พระวัดปากน้ำบ้าง สมัยนั้นทำบุญองค์ละ 100 บาท ปรากฏว่าได้จำนวนพระถึง 5,000 องค์ คิดเป็นจำนวนเงินถึง 500,000 บาท ซึ่งเป็นเงินไม่ใช่น้อยๆ เลยทีเดียว ท่านอาจารย์ให้คุณป่าเป็นคนไปเช่า พระวัดปากน้ำรุ่นนั้นดังมาก ดังจนถึงขนาดมีคนตั้งชื่อรุ่นว่า “เหยียบกันตาย” ภาพที่ท่านอาจารย์แขกยังจำติดตา คือ คนที่มาเช่าพระแถวยาวไปจนข้ามสะพาน ส่วนคนที่จะเช่าพระต้อง กำเงิน และมีกระดาษเขียนว่าเช่าพระกี่องค์ ต้องส่งเงินให้เขาก่อน แล้วเขาจะเอาพระใส่ถุงแล้วยื่นกลับมา แต่พระของท่านอาจารย์แขกยกเป็นลัง การที่พระวัดปากน้ำได้รับความนิยมอย่างมากมาย เนื่องจากมีความเชื่อว่า วิชาธรรมกายของพระวัดปากน้ำ ถ้าใครสำเร็จจะไม่มีวันจน และสมัยก่อนใครเป็นลูกศิษย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญจะไม่จน ระดับเถ้าแก่ คนรวยทั้งนั้น ตอนที่เข้าไปในวัดเขายังไม่มีอะไรเลย เพิ่งจะเริ่มต้นตั้งตัว ใครที่ไปทำบุญกับหลวงพ่อสด ท่านก็จะบอกว่าต้องไปทำบุญอะไร ปฏิบัติตัวอย่างไร จากนั้นก็มอบพระของขวัญให้ไป 1 องค์ จากนั้นก็ให้คาถาไปด้วย (พระวัดปากน้ำ ในยุคของหลวงพ่อสดมีคาถา) พระวัดปากน้ำ รุ่น 6 เป็นพระรุ่นแรกที่ท่านอาจารย์แขวนคอ ส่วนพระรุ่นอื่นๆ ท่านไม่เคยแขวนคอเลย และปัจจุบันท่านก็ยังแขวนรุ่น 6 อยู่ ซึ่งตัวท่านก็ไม่รู้ว่าวิชาธรรมกายเป็นยังไง จนกระทั่งได้มาเห็นเขาเสกพระวัดปากน้ำ รุ่น 6 และได้สังเกตความเป็นมาช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา คนแขวนพระวัดปากน้ำรุ่น 6 ไม่มีใครจนเลยสักคนเดียว นี่คือเหตุผลที่วัดธรรมกาย จึงตั้งชื่อว่า วัดธรรมกาย เพราะช่วงนั้นวัดปากน้ำยังไม่ออก รุ่น 6 พอสิ้นสุดพระวัดปากน้ำรุ่น 6 ไปได้ไม่นาน คนที่นำพระรุ่น 6 ไปแขวน ปรากฏว่ามีเงินมากมาย คนติดหูว่าธรรมกาย จึงไปแยกสาขาเป็นวัดธรรมกาย เพื่อหวังกระแสของคำว่าธรรมกาย มีความเชื่อว่าคนที่บูชาพระวัดปากน้ำรุ่น 6 รวยทุกคน