У нас вы можете посмотреть бесплатно *นายกรัฐมนตรีไทยมอบพระไตรปิฏก ฉบับสัชฌายะ ให้นายกรัฐมนตรีอินเดีย # 2/4 или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
*นายกรัฐมนตรีไทยมอบพระไตรปิฏก ฉบับสัชฌายะ ให้นายกรัฐมนตรีอินเดีย # 2/4 สวัสดีครับ จะเล่าเรื่องพระไตรปิฎกฉบับ สัชฌายะ ให้ฟัง ต่อจากตอนที่แล้วครับ สั้นยาว สูงต่ำ กำกับด้วย ‘โน้ต’ อ่านโมโนโทน ‘สัชฌายะ’ ตรึงเสียงตามหลักบาลี การบรรยายในหัวข้อ ‘นวัตกรรมโน้ตเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก สากล ฉบับสัชฌายะ’ โดย รศ.ดร.ศศี พงศ์สรายุทธ ประธานสาขาดุริยางคศิลป์ ตะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบอกเล่าถึงการถ่ายถอดเสียงจากภาษาบาลีในพระไตรปิฎกตาม ‘สัทศาสตร์’ (Phonetics) “เราจะเห็นว่าพัฒนาการเสียงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาษาบาลี เป็นการท่องจำและถ่ายทอดด้วยมุขปาฐะ ต่อมา มีการบันทึกเป็นตัวอักษรไม่ว่าจะเป็นอักษรสิงหล อักษรขอม แล้วจึงมาเป็นอักษรไทย ดังนั้นจะเห็นว่าเสียงถูกถ่ายทอด ผ่านการบันทึกโดยตัวอักษรต่างๆ ของแต่ละชาติ ซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อน หรือแปลความหมายแตกต่างจากเดิมได้ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล จึงรวบรวมข้อมูลต่างๆ อ้างอิงจากไวยากรณ์บาลี โดยเน้นเรื่องหลักการอ่านออกเสียง ที่เราอาจจะไม่เคยรู้ว่าแปลว่าอะไร หรือที่ออกเสียงกันมามันถูกไหม จึงเป็นที่มาว่า เราจะทำอย่างไรให้ถอดเสียงที่มา จากตัวอักษรให้ตรงหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีมากที่สุด มูลนิธิฯ จึงได้รวบรวมหลักการออกเสียง และทางดุริยางคศาสตร์ก็ได้บันทึกโน้ตแบบสากล ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่า เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกคนเข้าใจได้ง่ายและเป็นระบบวิธีที่ชัดเจน ตลอดจนสามารถช่วยกำกับเสียงและตรึงเสียงตามหลักไวยากรณ์ การอ่านออกเสียงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ตัวโน้ตไม่มีตัวอักษรกำกับ แต่อย่างน้อยเราก็ใช้ตัวอักษรไทยเพื่อที่จะอ่านคำได้ แต่เวลาเราอ่านภาษาไทยมันจะมีเสียงสั้น เสียงยาว เสียงสูงต่ำ โน้ตที่สร้างสรรค์ขึ้นก็จะมาช่วยกำกับเสียงเหล่านี้ เพราะภาษาบาลี เป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยัน เป็นเสียงสามัญ (โมโนโทน) ไม่มีวรรณยุกต์ สังเกตง่ายๆ เวลาเราฟังพระสวด บางทีเราก็จะได้ยินเสียงสูงต่ำ ถ้าเราอ่านเป็นเสียงภาษาไทย ซึ่งมีวรรณยุกต์เสียงสูงต่ำ เราจะไม่ได้ยินเสียงโมโนโทน ที่เป็นแบบภาษาบาลีดั้งเดิมเลย อย่างไรก็ตาม แต่ละภาษามีวิธีการใช้ตัวอักษรกำกับเพื่อการออกเสียงที่แตกต่างกัน พอเรานำตัวโน้ตมายึดให้อยู่ในเส้นเดียว จะทำให้ทุกคนต้องอ่านเหมือนกัน” รศ.ดร.ศศี อธิบายอย่างละเอียด รศ.ดร.ศศี อธิบายต่อไปว่า ปกติที่เราเห็นโน้ตจะมีบรรทัด 5 เส้นกำกับ ซึ่งจะกำกับว่าเสียงสูงต่ำแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นต่ำ เสียงก็จะต่ำ ถ้าอยู่ในเส้นสูง เสียงก็จะออกมาสูง แต่คราวนี้เราต้องการกำกับว่าไม่มีระดับสูงต่ำ เพื่อให้ใกล้เคียงกับภาษาบาลีดั้งเดิม ก็จะใช้โน้ตบรรทัดเส้นเดียว เพื่อให้ทุกคนออกเสียงเป็นเสียงเดียวกัน “หากเราไม่มีโน้ตมากำกับ เราก็จะลืมการออกเสียง เพราะด้วยธรรมชาติของคนไทย ที่จะออกเสียงวรรณยุกต์ ทำให้แต่ละคำความหมายแตกต่างกัน หรือแม้แต่กระทั่งการออกเสียงสั้นยาว เพราะเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย แต่จริงๆ แล้วหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีไม่มี นอกจากนี้ ในภาษาบาลีจะมีสำเนียงที่แตกต่าง มีเสียงก้อง เสียงพ่นลม เสียงขึ้นจมูก ซึ่งไม่ใช่เสียงธรรมชาติของคนไทย เพราะฉะนั้น การใช้โน้ตจะกำกับได้เลยว่า คำนี้ พยางค์นี้ออกเสียงสั้นยาวได้อย่างไร ตัวโน้ตเข้ามาจึงต้องกำหนดสัญลักษณ์ เพื่อให้รู้ว่าคำคำนี้ ต้องออกเสียงอย่างไร” รศ.ดร.ศศีกล่าว ปิดท้ายด้วยมุมมองของ ชนัญญา เตชจักรเสมา หรือวิว คอนเทนท์ ครีเอเตอร์และยูทูบเบอร์จากช่อง Point of View ในหัวข้อ ‘มุมมอง Gen ใหม่ต่อพระไตรปิฎก’ วิวเผยว่า ถ้าพูดถึงคำว่าพระไตรปิฎก คนรุ่นใหม่คงนึกถึงตู้พระไตรปิฎกที่อยู่ตามวัดต่างๆ ที่ไม่เคยเปิดอ่าน หรือเป็นสิ่งที่เรากราบไหว้ แตะต้องไม่ได้ แต่จริงๆ แล้ว พระไตรปิฎกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อทำให้คนแต่ละรุ่นยังอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เช่น 1.การเปลี่ยนแปลงด้านภาษา มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมายทำให้คนที่ไม่เข้าใจภาษามคธหรือภาษาบาลี สามารถเข้าใจได้ 2.การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ การนำมาย่อยให้คนเข้าใจง่าย เป็นพระไตรปิฎกฉบับประชาชน หรือเปลี่ยนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งไปเลย เช่น การทำเป็นนิทาน สอดแทรกคำสอนของพระพุทธเจ้าในรูปแบบที่ให้เข้าถึงผู้คนมากขึ้น “พระไตรปิฎกเปลี่ยนแปลงมาตลอด เพื่อให้อยู่ใกล้คนปัจจุบันมากขึ้น เข้าหาคนเจนใหม่ ซึ่งบางคนอยากได้แค่แก่นวิธีคิด ก็จะไปดูเป็นหนังสือ ดูเป็นอะไรที่เขาสามารถดึงคำสอนออกมาได้ ว่าที่แท้จริงคืออะไร ไปจนกระทั่งคนที่ไม่อยากได้เรื่องของธรรมะ แต่อยากได้เรื่องการปฏิบัติอย่างเดียว ก็ไปเข้าคอร์สธรรมะ 5 วันบ้าง 7 วันบ้าง หรือบางคนที่อาจจะไม่ได้สนใจพระพุทธศาสนาเลยก็มี หรือมีความสนใจแต่ไม่รู้ตัว ทั้งที่จริงๆ แล้ว เขาเชื่อเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า ในฐานะคนหนึ่งที่นำเสนอเนื้อหาต่างๆ ในพาร์ตของตัวเอง จึงหยิบยกเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมาตอบคำถามง่ายๆ แม้หัวข้อจะดูกึ่งๆ แต่สุดท้ายแล้วมันก็จะนำไปสู่คำสอนของศาสนา ทำให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มองอะไรเป็นเหตุและผลมากขึ้น หรือมีข้อสงสัยเล็กน้อย สุดท้ายสิ่งที่สำคัญคือ หนังสืออ้างอิง เราต้องกลับมาดูได้ว่าในพระไตรปิฎกจริงๆ เขียนว่าอะไร และเราสามารถพูดได้ตรงกันทั้งหมด ในไทยและต่างประเทศได้ไหม” ถือเป็นกิจกรรมเบิกโรงที่สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้สนใจในพระไตรปิฎกทั้งเจนเก่า เจนใหม่ กับหลักธรรมะอันเป็นอมตะต่อทุกยุคสมัย นับแต่พุทธกาลจวบจนโลกอนาคต อัศวินี ตรีเนตร-เรื่อง , ภิญโญ ปานมีศรี-ภาพ ข่าวที่เกี่ยวข้อง อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ ลิงค์ในตอนท้ายนี้ครับ ยังไม่จบนะครับ รอฟังต่อในตอนต่อไป สวัสดีครับ https://www.matichon.co.th/prachachue... ........................... 1 • *นายกรัฐมนตรีไทยมอบพระไตรปิฏก ฉบับสัช... 2 • *นายกรัฐมนตรีไทยมอบพระไตรปิฏก ฉบับสัช... 3 • *นายกรัฐมนตรีไทยมอบพระไตรปิฏก ฉบับสัช... 4 • *นายกรัฐมนตรีไทยมอบพระไตรปิฏก ฉบับสัช...