Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб การวิจัยการรักษามะเร็งหลอดอาหารด้วยอนุภาคโปรตอน в хорошем качестве

การวิจัยการรักษามะเร็งหลอดอาหารด้วยอนุภาคโปรตอน 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



การวิจัยการรักษามะเร็งหลอดอาหารด้วยอนุภาคโปรตอน

ผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารที่ยังไม่เคยได้รับการรักษาฟังทางนี้ครับ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ระหว่างการฉายรังสีเอกซ์แบบปรับความเข้ม เปรียบเทียบกับการฉายอนุภาคโปรตอนแบบปรับความเข้มในโรคมะเร็งหลอดอาหาร ในสหสถาบัน ได้แก่ รพ.จุฬาลงกรณ์ (เจ้าภาพ โดยหมอชวลิตเป็นหัวหน้าโครงการ) ศิริราช รามาธิบดี รพ.มะเร็งลพบุรี รพ.มะเร็งชลบุรี รพ.จุฬาภรณ์ วชิรพยาบาล รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติครับ โรคมะเร็งหลอดอาหารเป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในประชาชนชาวไทย และมีความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตสูง ผู้ป่วยชาวไทยส่วนใหญ่จะมีก้อนมะเร็งใหญ่โตเกินกว่าจะผ่าตัดได้ ทำให้การรักษาหลักคือการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดนำไปก่อน แล้วตามด้วยการผ่าตัด หรือการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาหลักในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษาด้วยรังสีเทคนิคการฉายรังสีเอกซ์แบบปรับความเข้ม (intensity modulated radiation therapy หรือ IMRT) เป็นวิธีมาตรฐานเนื่องจากสามารถเพิ่มปริมาณรังสีไปยังก้อนมะเร็งได้อย่างปลอดภัย แต่ยังคงมีอัตราการกำเริบของโรคสูงอยู่ และเกิดผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น ภาวะปอดอักเสบจากการฉายรังสี ภาวะเม็ดเลือดต่ำ และภาวะอื่นๆซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เป็นต้น ในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางรังสีรักษาได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับการฉายรังสีด้วยอนุภาคโปรตอน (proton beam therapy) ในโรคมะเร็งหลอดอาหารพบว่าสามารถลดปริมาณรังสีไปยังอวัยวะสำคัญรอบๆได้ เช่น ปอด หัวใจ ไขสันหลัง และได้ผลการรักษาเทียบเท่าหรือดีกว่าเมื่อเทียบกับการฉายด้วยรังสีเอกซ์ แต่มีราคาแพงกว่าหลายเท่าและต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน ร่วมกับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ทำให้การรักษายังไม่แพร่หลาย อย่างไรก็ดี ยังไม่เคยมีการรักษาชนิดนี้ในประเทศไทย และโรคมะเร็งหลอดอาหารของชาวไทยมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากต่างประเทศ ประกอบกับศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เริ่มดำเนินการรักษาด้วยเครื่องฉายอนุภาคโปรตอนเป็นแห่งแรกในประเทศไทยตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 สามารถให้บริการผู้ป่วยได้จำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการฉายรังสีเอกซ์แบบปรับความเข้ม (IMRT) กับการฉายด้วยอนุภาคโปรตอนแบบปรับความเข้ม (intensity modulated proton therapy หรือ IMPT) ในประเทศไทย เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์และประสิทธิผลสูงสุดแก่ประชาชนชาวไทยโดยรวม เกณฑ์คัดเข้าได้แก่ 1. เป็นมะเร็งหลอดอาหารระยะ 2-4A ที่ยังไม่เคยได้รับการรักษาที่ใดมาก่อน 2. อายุ 20-70 ปี 3. สามาถเดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ 4. น้ำหนักมากกว่า 45 กก. 5. เจาะเลือดการทำงานของตับและไตปกติ ต้องการเข้าร่วมงานวิจัย มาที่รพ.จุฬาลงกรณ์ ศิริราช รามาธิบดี รพ.มะเร็งลพบุรี รพ.มะเร็งชลบุรี รพ.จุฬาภรณ์ วชิรพยาบาล รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติครับ ถ้าอยากมารักษากับหมอที่รพ.จุฬาลงกรณ์คลิกที่นี่   / 1139601179800773  

Comments