У нас вы можете посмотреть бесплатно เลือก E-Reader อย่างไร ให้เหมาะกับเรา (อย่าเพิ่งซื้อ!ถ้ายังไม่ได้ดูคลิปนี้) или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
*คลิปมีปัญหาเรื่องเสียง แก้ปัญหาเบื้องต้น ด้วยการใส่หูฟัง* + เปิดคำบรรยายค่ะ ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ เลือก E-Reader อย่างไร ให้เหมาะกับเรา (อย่าเพิ่งซื้อ!ถ้ายังไม่ได้ดูคลิปนี้) --------------------------- สวัสดีค่ะทุกคน ช่วงนี้ ereader หรือเครื่องอ่าน ebook กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจาก eReader เป็นเทคโนโลยีจอ e-ink ช่วยถนอมสายตา สะท้อนแสงน้อย อ่านกลางแดดก็ยังได้ ทำให้อ่านหนังสือได้นานขึ้น ใส่หนังสือได้จำนวนมาก พกพาสะดวก 00:00 เกริ่นนำ 09:36 สรุป แต่ก่อนที่จะไปเลือก ereader กัน ต้องบอกก่อนเลยนะคะว่า ใครที่คิดว่าจะซื้อไว้อ่านด้วย ดูยูทูปด้วย วาดรูปด้วย จดโน๊ดตอนเรียนด้วย ใครที่คิดจะเอาไปแทนไอแพด ต้องหยุดเลยนะคะ มันแทนกันไม่ได้ อย่าไปเทียบกับ iPad หรือ Tablet ที่เป็นจอสี LCD เพราะ eReader มีดีอย่างเดียวคือถนอมสายตา แต่ refresh rate ต่ำจึงเหมาะกับการอ่านที่นานๆ จะเปลี่ยนหน้าครั้งหนึ่ง ไม่เหมาะกับการดูวิดีโอ แม้ Android eReader ส่วนใหญ่จะมีโหมด A2 ที่รีเฟรชหน้าจอได้เร็วพอดูวิดีโอได้ก็ตาม, บางรุ่นมีปากกาเขียนได้ แต่ก็จะหน่วงๆ เล็กน้อย ไม่เร็วปรู๊ดปร๊าดแบบการเขียนบน iPad ถ้าคุณเป็นคนอ่านหนังสือเยอะอยู่แล้ว eReader จะช่วยให้คุณอ่านหนังสือได้สะดวกรวดเร็วขึ้นและอ่านได้นานขึ้นเพราะจอที่ถนอมสายตา แต่หากปกติคุณอ่านหนังสือน้อย eReader อาจไม่ช่วยให้อ่านมากขึ้น ขั้นตอนในการเลือก ให้พิจารณา 1. ถามตัวเองก่อนว่า อ่านหนังสือภาษาอะไรเป็นหยัก ภาษาไทย หรือ อังกฤษ ถ้าอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเป็นหลัก แนะนำเครื่อง Kindle ลงแอพไม่ได้ ลง English-Thai Dictionary ได้ สามารถซื้อหนังสือจาก Kindle Store อ่านได้ทั้งบนเครื่อง Kindle, แอพ Kindle บน PC/Mac/Android/iOS และ Kindle Cloud Reader บนเว็บ, หรือนำไฟล์หนังสือลงเครื่องได้โดยต่อสาย USB กับคอมพิวเตอร์ หรือ send to kindle email ดูตารางเปรียบเทียบ Kindle ทุกรุ่นได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Amazon_... ถ้าอ่านภาษาไทยด้วย เนื่องจากหนังสือภาษาไทยส่วนใหญ่อยู่บนแอพ เช่น MEB, Hytexts, Naiin, ARN, ReadAwrite,จอยลดา หรือ TKread เป็นต้น แนะนำเครื่อง eReader ที่เป็น Android ลง Google Play Services (Google Play Store) แล้วลงแอพได้ ยี่ห้อที่เป็นที่นิยม คือ Boox และ Meebook 2. ต้องการหน้าจอขนาดเท่าไหร่ ขนาดหน้าจอและความละเอียดจอ ขนาดหลักๆ มี 6, 6.8 หรือ 7, 7.8, 10.3, และ 13.3 นิ้ว น้ำหนักก็ต่างกันไปตามขนาดจอ เนื่องจากหนังสือภาษาไทยส่วนใหญ่ยังเป็นไฟล์ pdf จึงควร ใช้จอ 7.8 นิ้ว หรือ 10.3 นิ้วขึ้นไปได้ยิ่งดี หากอ่านหนังสือที่เป็นไฟล์ epub ที่ปรับขนาดตัวอักษรได้ จะอ่านบนจอ 6 นิ้วก็ไม่มีปัญหา ความละเอียดจอมีตั้งแต่ 167, 212, 300 ppi หากไฟล์ที่ปรับขนาดฟอนต์ได้ใช้จอละเอียดเท่าใดก็ได้ แต่หากอ่านมังงะ หรือไฟล์สแกนจอละเอียดกว่าจะคมชัดกว่า ทั้งนี้จอ 7.8 นิ้วแนวนอน จะเท่ากับด้านกว้างของกระดาษ A4 พอดี 3. นิสัย/พฤติกรรมของเรา เช่น อ่านในที่มืดหรือที่สว่าง eReader รุ่นใหม่ๆ มี front light สำหรับอ่านในที่มืดได้ แต่รุ่นเก่าๆ บางรุ่นไม่มี จะไม่สามารถอ่านในที่มืดได้ ต้องเปิดโคมไฟส่องหน้าจออ่าน, front light บางรุ่นมีแต่แสงสีขาว บางรุ่นมีสีนวล (warm light) ด้วย, บางรุ่นยังมี dark mode สำหรับอ่านกลางคืนด้วย อ่านหนังสือแบบสีหรือขาวดำ คือบางคนอ่านหนังสือ/นิยาย ไม่มีภาพ สีอาจไม่จำเป็นเท่าไหร่ แต่บางคนอ่านการ์ตูนสี เช่นเว็บตูน การอ่านแบบมีสีก็จะช่วยเพิ่มอรรถรสได้มากกว่า หรือบางคน ชอบนั่งดูสีปกหนังสืองี้ ก็อาจจะยอมจ่ายกับจอสี เริ่มมีจอ e-ink สีขาย ความละเอียด 300 ppi ในโหมดขาวดำ และ 100 ppi ในโหมดสี เนื่องจากต้องรวมเม็ดสี 3 เม็ดเพื่อแสดง 1 สี แต่สีค่อนข้างซีด สีจะไม่สดเหมือนจอ LCD ต้องการจด note ไปด้วยหรือเปล่า ถ้าอยากจดด้วย ก็ต้องหารุ่นที่รองรับการเขียนจอด้วยปากกา แบบถ้าอ่าน บางรุ่นมีปากกามาให้เลย บางรุ่นต้องซื้อปากกาเพิ่ม แต่การเขียนบน eReader จะไม่ลื่นไม่เร็วเหมือนบน iPad